Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ตัวอักษรสีน้ำเงิน
•
ติดตาม
9 มี.ค. 2022 เวลา 14:48 • หนังสือ
#ห้องเรียนนักเขียน
(จังหวะในการเล่าเรื่องสัมพันธ์กับการเว้นวรรคและใช้บรรทัดให้เป็นประโยชน์)
จังหวะในการเล่าสัมพันธ์กับอารมณ์นักอ่าน ในที่นี้เราขอใช้คำว่าจังหวะในการเขียน
ไม่ว่าจะเขียนนิยายประเภทใดก็ตาม เราสามารถเพิ่มจังหวะในการเล่าเรื่องได้ เพื่อให้เรื่องไม่ดูเรื่อยเปื่อยและน่าเบื่อเกินไป
จังหวะในการเล่าเรื่องประกอบด้วย...
น้ำเสียงเรื่อง คือ เสียงของบทนั้น ๆ เพื่อเพิ่มจินตนาการและความตื่นเต้น เช่น การใส่การบรรยายเนื้อเรื่องตามปกติ แต่ก่อนจะเข้าสู่บทสนทนา เราสามารถเพิ่มน้ำเสียงของเรื่องเข้าไปเพื่อปลุกคนดู
ตัวอย่าง (ไม่มีน้ำเสียงเรื่อง)
ความมืดรอบด้านเริ่มเข้าคลอบงำ แม้แต่ข้างกายก็ไม่สามารถเห็นสิ่งใด
“ใครอยู่ตรงนั้นนะ...” เกศเอ่ยถามเมื่อได้ยินเสียงบางอย่างหล่นลงบนพื้นอย่างแรง ขนกายทุกเส้นเริ่มลุกชัน
ตัวอย่าง (มีน้ำเสียงเรื่อง)
ความมืดรอบด้านเริ่มเข้าคลอบงำ แม้แต่ข้างกายก็ไม่สามารถเห็นสิ่งใด
ตุ๊บ...
เสียงบางอย่างหล่นลงบนพื้นอย่างแรง
ขนกายทุกเส้นเริ่มลุกชัน
“ใครอยู่ตรงนั้นนะ...” เกศเอ่ยถามเมื่อได้ยินเสียงบางอย่าง
จากตัวอย่างข้างต้นค่อนข้างจะเห็นได้ชัดเจน...
ว่ากันต่อด้วยเรื่องของน้ำเสียง...
น้ำเสียงของตัวละคร คือ เสียงของตัวละครที่เอ่ยขึ้นมา โดยไม่มีบทพูดอื่นเพิ่มในประโยคเดียวกัน
ตัวอย่าง (ไม่มีน้ำเสียงเรื่อง)
ชินกรตะโกนเสียงดังลั่น เมื่อเห็นบางอย่างเคลื่อนไหวตรงหน้า
“อะไรวะไอชิน”
ชินกรไม่ตอบได้แต่ชี้นิ้วไปข้างหน้า ศิวะจำต้องหันหน้าไปตามนิ้วของเพื่อน
“แมวเฉย ๆ เว้ย วันหลังมึงอย่าทำกูตกใจอีกนะเว้ย”
“กูจะรู้เหรอ”
ตัวอย่าง (มีน้ำเสียงเรื่อง)
“เฮ้ย...”
“เฮ้ย! อะไรวะไอชิน ตกใจหมดเลย”
ชินกรไม่ตอบได้แต่ชี้นิ้วไปข้างหน้า ศิวะจำต้องหันหน้าไปตามนิ้วของเพื่อน
“แมวเฉย ๆ เว้ย วันหลังมึงอย่าทำกูตกใจอีกนะเว้ย”
“กูจะรู้เหรอ”
จากสองตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าสะท้อนอารมณ์ให้คนอ่านได้ต่างกัน มันจะมีจุดตัดอารมณ์อยู่ที่น้ำเสียง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้เยอะ บ่อยและถี่เกินไปในแต่ละบท เพราะจะทำให้เรื่องราวน่าเบื่อ
หวังว่าเรื่องจังหวะในการเล่าจะมีประโยชน์ และลองนำไปปรับใช้กันนะคะ
#ตัวอักษรสีน้ำเงิน
เพื่อนๆ สามารถเข้ามาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
.
Blogger :
https://blueletterstudio.blogspot.com/
Facebook :
https://www.facebook.com/blueletterstudio/
StoryLog :
https://storylog.co/BlueLetterStudio
TrueID :
https://cities.trueid.net/@14995
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย