Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
10 มี.ค. 2022 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
สู้เพื่อแซลมอน ชนพื้นเมืองร้องศาลให้ปลาแซลมอนมีสิทธิเท่าเทียมมนุษย์
ชนพื้นเมืองอเมริกันในเขตปกครองสคาติก รัฐวอชิงตัน กำลังเรียกร้องให้ปลาแซลมอนมีสิทธิทางกฎหมายที่เท่าเทียมกับมนุษย์
ซึ่งหมายความว่า ประชาชนสามารถร้องเรียนการกระทำที่ส่งผลร้ายต่อปลาแซลมอนภายใต้ชื่อของสัตว์น้ำเองได้
การเรียกร้องนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตจำนวนแซลมอนที่ลดลง
อันเนื่องมาจากผลกระทบของการสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำสคากิตในรัฐวอชิงตัน
ซึ่งกระทบต่อการดำรงชีวิตของชนพื้นเมืองที่ดำรงชีวิตด้วยการจับปลาในธรรมชาติ
ขณะเดียว ชนพื้นเมืองก็เชื่อว่า ปลาควรมีสิทธิแวกว่ายอยู่ในแม่น้ำได้อย่างอิสระ
แม่น้ำสคากิต เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของแซลมอนในธรรมชาติ 5 สายพันธุ์ และสิ่งมีชนิดอื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์
แม่น้ำสายนี้ไหลจากรัฐบริติชโคลัมเบียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของวอชิงตัน
จากเทือกเขาแคสเคดไปจนถึงพูเจ็ตซาวด์
กระทั่ง 1924-1952 ก็ได้เกิดเขื่อนขึ้นสามแห่ง เพื่อผันแม่น้ำไปยังอุโมงค์ไฟฟ้าพลังงานน้ำ กำกับดูแลโดยหน่วยงานรัฐของซีแอตเทิล
เขื่อนรอสส์ เขื่อนเดียโบล และเขื่อนจอร์จ สามารถสร้างพลังงานให้กับเมืองซีแอตเทิลได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์
แต่ดูเหมือนจะแลกมาด้วยผลกระทบทางนิเวศอย่างใหญ่หลวง
ชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียน ที่หน้าเขื่อนจอร์จ l Lester Black (The Guardian)
แม่น้ำทั้งสายถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังอุโมงค์ไฟฟ้าพลังน้ำ ทำให้ก้นแม่น้ำกลายเป็นเพียงแอ่งน้ำที่หลับใหล
เขื่อนกักขังตะกอนทำให้พืชพรรณริมแม่น้ำล้มตายเพราะขาดสารอาหาร
นอกจากแซลมอนแล้ว ปลาเทราต์สีรุ้งก็เป็นอีกสายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบ
ประมาณการว่าในศตวรรษที่ 19 มีปลาเทราต์สีรุ้งเกือบหนึ่งล้านตัวว่ายไปว่างไข่ที่ปลายแม่น้ำสคากิต
แต่ตอนนี้เหลือน้อยกว่า 4,000 ตัว
ผลกระทบยังสะเทือนไปถึงวาฬเพชรฆาตที่รอหากินอยู่ที่ปากแม่น้ำ
เมื่อแซลมอนซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารหลักของวาฬลดลง พวกมันก็ลดจำนวนลงตาม
ในปีที่ผ่านมา (2021) มีรายงานว่า วาฬเพชรฆาตเหลืออยู่เพียง 74 ตัว
ก่อนหน้านี้เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ชนเผ่าพื้นเมืองพยายามต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้มีการรื้อเขื่อนออกอย่างน้อยหนึ่งแห่ง
เพื่อให้ปลาได้มีโอกาสหายใจ ให้แม่น้ำได้ไหลอย่างอิสระเพิ่มมากอีกสักหน่อย
แต่ความพยายามนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่นัก
โดยเฉพาะในอดีตที่สิทธิของชนพื้นเมืองยังเป็นสิ่งที่ถูกด้อยค่าดูแคลน
หน่วยงานของซีแอตเทิลยังคงต่ออายุสัญญาใช้งานเขื่อนออกไปเรื่อยๆ
ในสัญญาล่าสุดระบุว่า การใช้งานจะสิ้นสุดลงในปี 2025 แต่ก็มีแนวโน้มว่าสัญญาฉบับใหม่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง
ภายใต้เงื่อนไขที่อ้างเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพลังงานจากน้ำเป็นพลังงานที่สะอาด ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
แม่น้ำสคากิตในวันที่มีเขื่อนกั้นขวาง l David Moskowitz (High Country News)
นอกจากนี้ ข้อมูลเรื่องจำนวนปลาที่ลดลงนั้นค่อนข้างจะโดนเมินมาตลอด
เนื่องจากขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดว่าแม่น้ำสคากิตเคยมีปลาอยู่มากมายจริงๆ
ในช่วงก่อนสร้างเขื่อน (1924-1952) แม่น้ำสคากิตไม่เคยถูกสำรวจว่าเคยมีปลาอยู่มากเท่าไหร่
มีเพียงแต่คำบอกเล่าของชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่กับลำน้ำสายนี้มาอย่างน้อยๆ 8,400 ปี เท่านั้น
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับสัตว์หรือสายน้ำ
ก่อนหน้านี้ ในนิวซีแลนด์ ชาติพันธุ์เมารีมีความเชื่อถึงสายสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณของพวกเขากับแม่น้ำฟางกานุย และได้เรียกร้องสิทธิจนแม่น้ำสายดังกล่าวมีสถานะทางกฎหมาย
ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้คนอินเดียลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ จนแม่น้ำคงคาและยมุนาที่สกปรกอย่างรุนแรงได้รับสิทธิคุ้มครองทางกฎหมายเทียบเท่ากับมนุษย์
สำหรับการต่อสู้เพื่อสิทธิของแซลมอนในเวลานี้ยังไม่มีคำตอบว่าอนาคตจะจบลงที่ตรงไหน
ภายใต้ความพยายามต่อสัญญาอายุของเขื่อน นั่นหมายความว่าแท่งคอนกรีตจะตั้งตระหง่านปิดกั้นแม่น้ำต่อไปอีก 50 ปี
และยังหมายความได้อีกอย่างว่า
แซลมอนในแม่น้ำสคากิตจะพบจุดจบอย่างแน่นอน
#IsLIFE #Salmon #Nodam #Skagit #Extinction
อ้างอิง
The Guardian :
https://bit.ly/3vTIaFr
High Country News :
https://bit.ly/3hTL0SL
The Guardian :
https://bit.ly/3J25xjO
The Washington Post :
https://wapo.st/35YXUMx
Photo : Jessica Newley l Smithsonian Mag
1 บันทึก
4
2
1
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย