10 มี.ค. 2022 เวลา 05:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
อยากอยู่รอดในโลกคริปโตฯต้องอ่าน
วิธีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงการลงทุนในโปรเจคคริปโตฯขั้นพื้นฐาน
ในปัจจุบัน การเข้าไปเล่นบนเชนคริปโตฯ แทบจะเหมือนกับการแลกชิปเข้าไปเล่นในบ่อนรูปแบบใหม่ ที่ยังไม่มีกฏหมายของประเทศไหนระบุชัดเจนว่าถูกหรือผิดกฏหมาย โดย Application ต่างๆบนเชนก็เหมือนกับเกมพนันภายในบ่อน ที่เราไม่มีทางรู้ได้ว่าเขากำลังโกงเราหรือไม่ หรือในบางครั้ง อาจจะไม่ได้โกงโดยบ่อน แต่โกงโดยคนที่เข้ามาเล่นในบ่อนด้วยกันเอง ผู้ซึ่งเล็งเห็นจุดอ่อนของระบบเกมพนันนั้นๆ
2
การจะรู้ให้เท่าทันเกมในโลกคริปโตฯ หากไม่อาศัยประสบการณ์และการศึกษาหาความรู้ที่สม่ำเสมอ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่เกินจริงเกินไป แต่เราทุกคนสามารถตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นได้ ก่อนจะเดินเข้าไปร่วมวงเล่นกับคนอื่นในโลกคริปโตฯ
1
บทความนี้แอดจะมาเผยเคล็ดลับ วิธีการตรวจสอบขั้นพื้นฐานในแบบฉบับของนักลงทุนคริปโตฯ ว่าในการประเมินความเสี่ยงและการตรวจสอบแต่ละโปรเจคที่เรากำลังจะลงทุนนั้น เราจะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง มาดูกัน
1
1. Code Auditing Certification
เราต้องตรวจสอบว่า Project ที่เรากำลังจะเข้าไปลงทุนนั้น ผ่านการตรวจสอบโค้ดหรือไม่ โดยการตรวจสอบโค้ดที่ว่า หมายถึงการตรวจสอบว่าโค้ดต่างๆ สามารถรันได้ตามการออกแบบหรือไม่ มีบัคที่อาจเป็นช่องทางทำให้ Cracker เข้ามาโจมตีหรือไม่
1
สิ่งที่เราจะต้องตรวจสอบคือ
1.1. Project ที่เราจะเข้าไปลงทุน ผ่านการ Auditing หรือไม่
โดย Project ที่ไม่แสดงประวัติการ Audit เกิดจากหลายสาเหตุ
a. ไม่ประสงค์แสดงประวัติการ Auditing อาจด้วยเหตุผลว่า ทางทีมงานไม่ให้ความสำคัญกับการ Auditing มากนัก เรามักเห็นประกาศจาก Project ว่า Audit แล้วโดยใคร แต่ไม่เห็นเอกสารอะไรชัดเจนมากนัก โดยทาง Project อาจเน้นไปที่การตรวจสอบจากการใช้งานจริงโดย User มากกว่า
b. ไม่เคยผ่านการ Auditing อาจจะด้วยเหตุผลทางการเงิน เนื่องจากการส่งโค้ดไป Audit จะใช้งบประมาณค่อนข้างสูง โปรเจคเหล่านี้จึงใช้วิธีการตรวจสอบจากการใช้งานโดย User แบบ 100% ซึ่งเป็นการผลักภาระส่วนนี้ให้กับ User โดยตรง เราควรระวังอย่างยิ่ง
1
1.2. การ Auditing นั้น ใครเป็นคน Audit
นักลงทุนคริปโตฯมือใหม่ มักต้องการเห็นแค่ Auditing Certification โดยไม่สนว่า Audit โดยใคร ซึ่งหลายๆ Project ที่เป็น Scam หรือตั้งใจมาหลอกเอาเงินจากเรา มักใช้ช่องโหว่ตรงนี้ในการใช้ชื่อ Audit มั่วๆ และทำเอกสารการ Audit ขึ้นมาเอง มาติดประกาศ เพราะรู้ว่านักลงทุนมือใหม่มักไม่สนเนื้อหาการ Audit หรือประวัติการ Audit ใดๆ
1
1.3. กลุ่มคนหรือบริษัทที่มา Audit มีประวัติการ Audit เป็นอย่างไร
โดยเราจะตรวจสอบว่า เอกสารการ Audit มีเนื้อหามากน้อยแค่ไหน และ Audit อะไรไปบ้าง เพราะนอกจากเคสที่ยกตัวอย่างในหัวข้อ 1.2. แล้ว ยังมีกลุ่ม Auditor มิจฉาชีพที่ทำการตรวจสอบ Code แบบส่งๆ โดยคิดค่า Audit ราคาถูกอยู่ ซึ่ง Auditor เหล่านี้จะมีประวัติการ Audit อยู่หลาย Project แต่เอกสารการ Audit มักไม่ปรากฏสิ่งใดที่มีเนื้อหาสาระ หรือสิ่งที่สามารถยืนยันตัวตนของกลุ่ม Auditor เหล่านี้ได้ และเรามักจะเห็น Project เหล่านี้ Rug Pull อยู่บ่อยๆ (ชักดาบเงินลงทุนของเรานั่นเอง)
1
1.4. Version ของ Code ที่ผ่านการ Audit ตรงกับ Version ปัจจุบันหรือไม่ (Expert)
เนื่องจาก Coding ที่ผ่านการ Audit อาจเป็น Version เก่า ทำให้ในส่วนที่มีการ Update เพิ่มขึ้นมาจะยังไม่มีการตรวจสอบ แต่อาจเกิดข้อผิดพลาดที่สามารถทำให้เราสูญเสียเงินจาก Code ในส่วนนี้ได้
1
Frequently Seen Auditing Firms
2. Whitepaper
เราควรจะเห็น Project ที่เราลงทุน มีการออก Whitepaper ให้เราสามารถเข้ามาอ่านเพื่อศึกษาได้เสมอ เอกสาร Whitepaper จะแสดงถึงเจตนารมณ์ของทีมงานว่า Project เหล่านั้น;
1
2.1. ถูกออกแบบมาเพื่ออะไรหรือแก้ปัญหาจุดไหน
2.2. ได้รับแรงบันดาลใจจากอะไร
เมื่อเราอ่าน Whitepaper อย่างแรก เราต้องรู้ได้ว่า เรากำลังจะลงทุนใน Project ที่เกี่ยวข้องกับอะไร ตรงกับที่เราสนใจหรือไม่ ดังนั้น Project ที่เขียน Whitepaper แล้วแสดง ข้อ 2.1. และ 2.2. ได้อย่างน่าสนใจมักจะมีแต้มต่อเมื่อเทียบกับ Project ที่ไม่ให้ความสำคัญกับการแนะนำตัวเองให้แก่นักลงทุน ถือเป็นการทำ Marketing ที่ดีอย่างหนึ่ง และการทำ Marketing ที่ดีมักจะสร้าง Demand ให้กับ Project อย่างมหาศาล
1
2.3. มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
2.4. ตัว Code หรือ Smart Contract มี Concept หรือกระบวนการทำงานอย่างไร
อย่างที่สองที่เราควรจะได้จากการอ่าน Whitepaper คือ เมื่อเปรียบเทียบกับ Project อื่นๆที่ใกล้เคียงกันหรือออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาจุดเดียวกัน Project ที่เราสนใจนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และสามารถทำได้จริงหรือไม่ เราจะต้องจับตา Project ที่เขียนข้อ 2.3. และ 2.4. ไว้อย่างโด่นเด่นและชัดเจน เพราะมีแนวโน้มว่าจะสามารถดึงดูดเงินลงทุนใหม่ๆ และเงินลงทุนจาก User ที่กำลังลงทุนใน Project อื่นซึ่งอยู่ใน Field เดียวกันแต่มีความด้อยกว่า
1
2.5. Token Utility เป็นอย่างไร
2.6. รายละเอียดของ Tokenomics และ Token Allocation อย่างชัดเจน
อย่างสุดท้ายที่เราควรจะรู้ และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จากการอ่าน Whitepaper คือ เราต้องรู้ว่า เมื่อเราลงทุนใน Project เหล่านี้ไปแล้ว เราจะได้อะไรเป็นผลตอบแทนบ้าง และคู่แข่งของเราได้รับการจัดสรรเหรียญไปเท่าไหร่ และมีเงื่อนไขการปลดเหรียญอย่างไร
1
Project ที่ดีจะต้องคำนึงถึง Token Utility ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป เพราะผลตอบแทนในระยะสั้นหรือผลตอบแทนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปมีแนวโน้มจะทำให้เกิดการเทขายในช่วงตลาดเปิด เนื่องจากนักลงทุนจะไม่มีแรงจูงใจและไม่ได้ประโยชน์อะไรในการถือเหรียญต่อไป หรือเหรียญที่นักลงทุนได้รับมีมากจนสามารถเทขายได้ในปริมาณมากแล้วไม่กระทบกับสิทธิประโยชน์ในการถือเหรียญ
1
Tokenomics และ Token Allocation ที่ดี
a. เหรียญของ Project เหล่านี้จะต้องไม่สามารถผลิตเพิ่มได้อีก โดยในกรณีที่ Project นั้นๆมีระบบการ Burn เหรียญทิ้ง ระบบแบบนี้จะมีข้อดีและข้อเสียอยู่ ข้อดีคือ หากปริมาณเหรียญมีมากเกินความต้องการใช้ที่เหมาะสม ราคามักมีความย่ำแย่ ระบบการ Burn เหรียญจะช่วยปรับสมดุลของ Demand – Supply ได้ แต่มีข้อเสียคือ ในระยะยาว จำนวนเหรียญจะน้อยลงจนดันให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง และอาจทำให้ราคาของเหรียญแพงเกินกว่าที่นักลงทุนใหม่จะรับไหว และจบลงด้วยการดิ่งลงของราคาในที่สุด เป็นการรบกวนกระบวนการทางราคาของเหรียญอย่างรุนแรง และเป็นสิ่งที่แอดไม่ค่อยชอบใจนักในมุมมองความเห็นส่วนตัว
1
b. เหรียญ Token ควรมีการกระจายตัวให้แก่นักลงทุนให้ได้กว้างที่สุด (โดยเฉพาะเหรียญที่เป็นระบบ Proof of Stake) โดยมีสัดส่วนที่จะมอบให้แก่นักลงทุนทั่วไปมากกว่ากลุ่มนักลงทุนรายใหญ่รวมกับทีม Developer ต่างๆ อย่างน้อย 60 : 40 จากจำนวนเหรียญทั้งหมด หรือมากกว่านั้น และในการกระจายเหรียญจากแต่ละกิจกรรม ไม่ควรมีกิจกรรมไหนที่มีการกระจายเหรียญแบบกระจุกตัวมากเกินไปจนมีบัญชีที่เกิดเป็น Whale ได้ Project น้ำดีมักจะคิดถึงการกระจายเหรียญในแต่ละกิจกรรมที่มีความเหมาะสมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายในรูปแบบ Free Reward หรือ Pre-Sale ก็ตาม
1
ปล. ข้อดีของการกระจายเหรียญแบบ Free Reward คือ เหรียญจะสามารถกระจายตัวไปได้ถึงนักลงทุนทุกกลุ่ม ไม่ถูกจำกัดด้วยเม็ดเงินลงทุน เมื่อเทียบกับแบบ Pre-Sale แต่มีข้อเสียคือ เหรียญที่แจกอาจดูไม่มีมูลค่าในสายตาของนักลงทุนที่ได้รับมาก็ได้ หากแจกในปริมาณที่มากเกินไป การกระจายเหรียญที่ดีควรมีการกระจายแบบผสมที่สลับซับซ้อนจนยากต่อการประเมินมูลค่า
1
c. การกระจายเหรียญควรมีระบบ Vesting ให้แก่นักลงทุนรายใหญ่หรือผู้ที่ในรับการจัดสรรเหรียญในปริมาณมาก โดยระบบ Vesting ที่ดีควรการทยอยปลดเหรียญออกมาอย่างช้าๆ และปริมาณที่ปลดออกมาจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบทางราคาให้แก่เหรียญ เราควรจับตาดูระบบ Vesting ให้ดี เพราะบาง Project อาจมีการระบุลายละเอียดการ Vesting ชัดเจนแต่เหรียญที่กลับไม่ถูกล็อคเอาไว้ เช่น อาจจะยังสามารถนำมา Stake ใน Platform เพื่อกินส่วนแบ่งจาก Staking Pool ได้ หรือ เหรียญเหล่านั้น ทาง Developer ได้ส่งเหรียญไปให้นักลงทุนรายใหญ่แล้ว และบอกให้ Vesting แบบปากเปล่าเพียงเท่านั้น
1
Watch out for the FUD surrounding LooksRare! – Coincu News
3. Project Team, Partner and Backer
เราต้องตรวจสอบว่า Project Team และ Venture Capital ที่มาเป็น Partner หรือ Backer ให้กับ Project เป็นใคร มาจากไหน เราจะต้องเข้าไปตรวจสอบถึงผลงานเก่าๆของแต่ละคนว่า แต่ละคนเคยทำอะไรมาบ้าง เคยมีประวัติผลงานดีแค่ไหน ประวัติผลงานที่ดีจะเป็นแต้มต่อ เมื่อเราไม่สามารถหาข้อแตกต่างระหว่างโปรเจคได้ ทีมงานบางคนอาจเคยทำ Coding, Marketing, หรือแม้แต่ Designing ให้กับโปรเจคชื่อดัง หรือ Venture Capital ชื่อดังบางบริษัทจะลงทุนเฉพาะ Project น้ำดีที่เป็นเกรด AAA เท่านั้น และมีประวัติผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมากและไม่เคยด่างพล้อย แอดขอยกตัวอย่าง Project ที่มี Backer เป็น Binance Labs มักจะถูก List เหรียญเข้า Binance Exchange อยู่เสมอ การ List เหรียญเข้า Exchange ใหญ่ๆมีแนวโน้มจะช่วยขยายฐานของผู้ที่ต้องการครอบครองเหรียญ ส่งผลทางบวกต่อราคาของเหรียญนั้นๆ เป็นต้น
2
Best VC 2022 by Cryptonaut TH
นอกจากนี้ Project Team เช่น CEO หรือ Co-Founder ของโปรเจคนั้นๆ อาจมีความเก่งกาจหรือมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักหรือขนานนามในกลุ่มคนหมู่มาก บุคคลเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ (Iconic) ของโปรเจคนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นผลบวกในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเพิ่มได้ เพราะบุคคลเหล่านี้สร้างความรู้สึกสบายใจความเพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนให้แก่นักลงทุน
1
ตัวอย่างเช่น เมื่อเรานึกถึงบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังอย่าง Tesla คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเราจะต้องนึกถึงคุณ Elon Musk ด้วย และคงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าเม็ดเงินลงทุนปริมาณมากได้เลือกเข้ามาลงทุนใน Tesla เพราะเขาเชื่อมั่นในตัวของคุณ Elon Musk ถึงขนาดที่ว่ามีรายการทีวีแห่งของสหรัฐอเมริกาได้พูดวลีเด็ดนี้ขึ้นมา “ใครสนกันว่าราคาหุ้นของ Tesla จะสูงแค่ไหน! เขาลงทุนในมันสมองของ Elon Musk ต่างหาก!” และนี่อาจเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ราคาหุ้นของ Tesla เกินมูลค่าไปมากกว่า 100 เท่าก็เป็นได้
1
เช่นเดียวกันกับในโลกของคริปโตฯ หากคุณกำลังจะลงทุนในเหรียญ Ethereum แต่คุณกลับไม่รู้จักคุณ Vitalik Buterin? หากคุณจะลงทุนในเหรียญ Cardano แต่คุณกลับไม่รู้จักคุณ Charles Hoskinson? หากคุณกำลังจะลงทุนในเหรียญ Luna แต่คุณกลับไม่รู้จักคุณ Do Kwon? แอดคงต้องขอกล่าวอะไรที่เสียมารยาทนิดหนึ่ง เพราะแอดอยากขอให้คุณกลับไปทำการบ้านมาให้มากกว่านี้แล้วค่อยกลับมามองที่การลงทุนในคริปโตฯอีกครั้ง นี่จะก็เพื่อตัวของพวกคุณเอง อย่างน้อยๆคุณควรจะตรวจสอบฐาน Follower บน Twitter ของบุคคลเหล่านี้ว่ามีมากแค่ไหน แค่ปัจจัยนี้ปัจจัยเดียวอาจจะมีส่วนช่วยในการตัดสินในการเลือกลงทุน และสร้างรายได้มหาศาลจากการลงทุนให้กับคุณได้เลย
1
ปล. ความเป็น Iconic นั้นเป็นเหมือนดาบสองคม การที่โปรเจค A มีบุคคลสำคัญอย่างคุณ ABC อยู่ อาจทำให้โปรเจคนั้นสร้างความเชื่อมั่นทางจิตวิทยาให้แก่นักลงทุนได้สูง แต่อย่าลืมว่าคุณ ABC ก็สามารถถอนตัวออกโปรเจค A ได้เหมือนกัน และเมื่อถึงวันนั้น มูลค่าของโปรเจค A ก็จะลดลงอย่างมีนัยยะตามปัจจัยการเติบโตที่คาดหวังได้ซึ่งหายไปพร้อมกับ Iconic นั้นๆ องค์ความรู้และฐานการสนับสนุนก็ลดน้องลงไป เรื่องแบบนี้มักมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งจนชินตาในหมู่นักลงทุนคริปโตฯ
1
Iconics In Crypto World
4. การเทียบราคากับโปรเจคใน Field ที่ใกล้เคียง
ในการเลือกลงทุนในแต่ละโปรเจค เราสามารถหาโปรเจคใกล้เคียงมาเปรียบเทียบราคาได้ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคา ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะให้มูลค่ากับโปรเจคประเภทนั้นๆเท่าไหร่ การเปรียบเทียบราคาแบบนี้จะช่วยให้เราประเมินกำไรแบบหยาบๆได้ สิ่งที่เราจะคาดการณ์จากการเปรียบเทียบคือ
1
4.1. มูลค่าของโปรเจค โดยการเปรียบเทียบโปรเจคที่มีความใกล้เคียงที่สุด แล้วดูที่ Market Cap
4.2. ราคาต่อ 1 Token โดยการนำ Market Cap ของโปรเจคที่มีความใกล้เคียงที่สุดมาหารด้วยจำนวนเหรียญของโปรเจคที่เราลงทุน
โดยราคาของโปรเจคต่างๆส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มกระโดดขึ้นด้วยความรุนแรง หลังจากนั้นจะค่อยๆลดลงมาเรื่อยๆ จนกว่าแรงขายจากนักลงทุนรอบ Private จะหมดไป โดยเราสามารถตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบได้ว่า โปรเจคไหนมีการ Vesting หรือ Cliff อย่างไรบ้าง และแนวโน้มราคาเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ Cliff และ Vesting เหรียญของนักลงทุนรอบ Private เป็นอย่างไร โดยเว็ปไซต์ที่แอดจะใช้เป็นประจำคือ
1
หากมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะต่างๆ สามารถทิ้งคอมเม้นต์ไว้ได้เลย
ติดตามบทความดีๆแบบนี้ได้ที่
Cryptonaut TH Facebook : https://www.facebook.com/cryptonautth
Cryptonaut TH Medium : https://cryptonaut-th.medium.com/
โฆษณา