Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร
รู้ทุกวัน หยุดรู้ไม่ได้
•
ติดตาม
10 มี.ค. 2022 เวลา 14:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2529 ดาวหางฮัลเลย์ (halley commet) เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าเมืองไทยอีกครั้ง หลังจากครั้งก่อนที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 5 ( ดาวหางฮัลเลย์ เป็นดาวหางดวงหนึ่งที่มีความสว่างมาก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่มีการบันทึกข้อมูลไว้มากที่สุดและยาวนานที่สุด ดางหางฮัลเลย์นั้นประกอบไปด้วยน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นและแอมโมเนีย มีขนาดราว ๆ 15 กิโลเมตร x 8 กิโลเมตร และความงามอันเป็นเอกลักษณ์ของบรรดาดาวหางคือ เมื่อมันโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากพอที่จะได้รับผลกระทบจากอุณภูมิของดวงอาทิตย์
มันจะเกิดเป็นลำแสงออกมาพวยพุ่งเป็นหางยาวอย่างที่เราเห็น เราจะเห็นได้ว่าวงโคจรของดาวหางฮัลเล่ย์มีลักษณะเป็นวงรีที่มีความรีสูง และเคลื่อนที่ออกไปไกลเกินวงโคจรของดาวเนปจูนก่อนจะวนกลับมา ซึ่งจุดตัด 2 จุดระหว่างวงโคจรของโลกกับวงโคจรของดาวหางฮัลเลย์จะปรากฎสิ่งที่เรียกว่า “ฝนดาวตก” ซึ่งมันเป็นฝุ่นที่ดาวหางฮัลเลย์ทิ้งไว้ขณะเคลื่อนที่ผ่าน
แม้เราจะไม่เห็นดาวหางฮัลเลย์ทุกปี แต่เราก็ได้เห็นฝุ่นของมัน ซึ่งเป็นหลักฐานว่าดาวหางฮัลเลย์และโลกได้เคยพบกันตรงนี้ ระบบสุริยะเป็นสถานที่ที่ซับซ้อน นอกเหนือจากดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์หลักแล้ว ยังมีเศษเล็กเศษน้อยนับแสนชิ้นที่หลงเหลือจากการก่อตัวเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อน เศษซากนี้ส่วนใหญ่สามารถจัดประเภทเป็นดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อย #ดาวหางฮัลเลย์ #halleycommet #ฝนดาวตก
แหล่งข้อมูล:
https://guru.sanook.com/25918/
https://spaceth.co/halley-comet-return/
https://en.wikipedia.org/wiki/Halley%27s_Comet
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย