11 มี.ค. 2022 เวลา 01:42 • ความคิดเห็น
จะตอบตามความเป็นจริง
โดยที่ไม่ประดิษฐ์คำพูดนะ
นี่เขาเรียกว่ากลุ่มทุนผูกขาดครับ
อีกทั้งยังไม่ผิดกฎหมายในประเทศไทย
รัฐบาลกับนายทุนก็คือคนกลุ่มเดียวกัน
สนับสนุนและเอื้อซึ่งกันและกันครับ
หากเป็นบางประเทศเช่นสัญญาณมือถือ
เขาไม่ให้เกิน 20%
ถือว่าผิดกฎหมายและมีโทษรุนแรงมาก
ห้ามCEOนัดคุยกันเป็นอันขาด
แม้แต่โทรคุยกัน จะถือหุ้นไขว้กันไปมา
เข้าคุกทันที เพราะกฎหมายเขาแรงมาก
เพราะมันทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน
ในตลาดการค้าเสรีเนี่ย
มันมีประสิทธิภาพสูงเพราะว่ามันมีการแข่งขัน
ที่จะทำให้ต้นทุนต่ำแล้วได้งานออกมาเยอะ
เป็นปรัชญาของโลกประชาธิปไตยเสรี
เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด
เจ้าไหนที่มีประสิทธิภาพต่ำ ต้นทุนแพง
บริหารงานไม่ได้เรื่อง ก็จะหายไปจากตลาด
เพราะสู้คู่แข่งไม่ได้
และนี่คือข้อดีของระบบการค้าเสรี
คือปล่อยให้มีการแข่งขันกันมากๆ
จึงมีประสิทธิภาพสูง
ประชาชนได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
1
ถ้าจะกล่าวถึงในประเทศไทย
นี่ไม่ใช่การแข่งขันในระบบการค้าเสรีครับ
เรามาเจาะลึกดูกันครับว่าทำไมไทย
ถึงไม่ใช่ปรัชญาโลกเสรี
สาเหตุที่ไทยเป็นแบบนี้
เพราะพวกเขาจงใจให้เป็นแบบนี้ครับ
เพราะต้องการรักษาอำนาจ รวมไปถึง
การสร้างเครือข่ายโยงใยซึ่งกันและกัน
เพื่อรักษาไว้ในระบอบบางอย่าง
มีความลึกซึ้งและเชื่อมโยงกัน
โดยทั้งหมดจะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน
เรามาดูสาเหตุกันดีกว่า ว่าเขาทำวิธีการยังไง
1 เปิดช่องว่างให้คนที่มีสตางค์
เข้ามามีอิทธิพล ใช้เงินบงการกลไกต่างๆ
ที่มีผลกับการเลือกตั้ง 
ความเสมอภาคทางการเมืองจึงถูกทำลาย 
เมื่อทุกคนไม่ได้มี1เสียงเท่ากันอีกต่อไป
เมื่อเสียงของนายทุนสำคัญกว่าเสียงของประชาชน รัฐบาลก็ไม่ต้องสน4 สน8
ว่าจะเอาเงินภาษีไปทำอะไร
แทนที่จะพัฒนาสวัสดิการพื้นฐาน
แต่กลับออกกฎหมายเอื้อให้นายทุนแทน
เพื่อรับประกันที่นั่งในสภาสมัยหน้า
แต่ถ้าอะไรๆมันไม่ได้ดั่งใจ
ก็ยังสามารถสั่งทำรัฐประหาร
เพื่อเคลียร์ทุกอย่างทิ้งได้
2 ยิ่งคนรวยมีอิทธิพลทางกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ
ก็ยิ่งสามารถใช้การเมืองบงการชีวิตคนจนได้อย่างง่ายดาย ตลาดที่ผูกขาด 
สร้างสภาวะที่คนจนไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ 
ยิ่งคนจนมีอำนาจทางการเมืองน้อยลง
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจก็ยิ่งทวีความรุนแรงเกิดเป็นวงจรอุบาทว์
ที่ทำให้คนรวยก็ยิ่งรวย คนจนก็ยิ่งจน
และคนจนกลับเป็นคนที่ต้องจ่ายแพงที่สุด
เพราะคนรวยสามารถมีเงินเหมาซื้อของทีละเยอะๆได้ในราคาที่ถูกกว่า 
คนจนที่ได้รับเงินค่าแรงรายวัน
มีปัญญาซื้อของได้ทีละชิ้น
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในระดับครัวเรือน
แต่มันเกิดขึ้นในระดับอุตสาหกรรม
กิจการขนาดใหญ่ใช้การกินรวบผูกขาด
บีบให้ธุรกิจเล็กๆอยู่ไม่ได้ เเละการใช้อำนาจทางการเมืองผ่านกฎหมายจำกัดขนาดของผู้ประกอบการ ที่ทำให้การแข่งขันไม่เกิดขึ้น
หากคุณคิดที่จะผลิตสุราชุมชน
แต่กฎหมายบอกให้คุณต้องผลิตปีละ10ล้านลิตร
คุณก็ไม่สามารถมีเงินทุนมหาศาลที่จะใช้หมุนเวียน คุณก็ไม่สามารถที่จะทำได้
เพราะใช้เงินมากเกินไป นี่แหละครับคือข้อกฎหมายตุกติก สร้างเงื่อนไขที่ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในตลาด
ทำให้เจ้าตลาดมีน้อยราย ไม่มีความหลากหลาย
ทำให้ตลาดโดนผูกขาดเพื่อสร้างผลประโยชน์
ให้กับคนแค่กลุ่มเดียว
จาก 2 ข้อนี้ ก็ทำให้แปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่า
คนไทยทนได้ยังไง ในสังคมที่เราปล่อยให้มีทุนผูกขาดกลุ่มหนึ่ง 
ที่ปิดโอกาสการค้าการขายของบริษัทเล็กๆ
พ่อค้าแม่ขายทั่วไป
เราปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
เอาทรัพยากรของคนทั้งประเทศทั้งหมด
ไปสร้างประโยชน์ให้กับคนเพียงกลุ่มเล็กๆ
เพียงกลุ่มเดียว
กลุ่มอภิสิทธิ์ชน ที่คุมอำนาจทางเศรษฐกิจ
ที่คุมอำนาจทางสังคม คุมอำนาจการเมืองในประเทศไทย
ประกอบไปด้วยพันธมิตรกลุ่มทุนผูกขาด
ข้าราชการชั้นสูง นายทหาร และพรรคการเมืองบางพรรค
อภิสิทธิ์ชนกลุ่มนี้ต้องการที่จะดึงประเทศไว้
ไม่ให้ไปข้างหน้า
พยายามรักษาโครงสร้างเศรษฐกิจแบบนี้
เพื่อที่พวกเขาจะได้ผลประโยชน์อีกนานเท่านาน
แล้วรู้หรือไม่ว่าเรากำลังแก้ไขปัญหาผิดจุด
เราตีหมาผิดตัว เราจะต้องแก้ไขที่จุดสูงสุดก่อน
เพราะมันเป็นเครือข่ายและต้นตอของปัญหาทั้งหมด
แล้วอำนาจสูงสุดนั้นคืออะไร
อันนี้ทุกคนน่าจะรู้ดี แต่ไม่กล้าพูดใช่หรือไม่
1
โฆษณา