11 มี.ค. 2022 เวลา 07:05 • การศึกษา
1. เอกชน จะมีของม.รังสิต และม.สยาม ค่ะ ถามว่าต่างไหม ต้องไม่ต่างค่ะ เพราะถ้าต่าง แพทยสภาก็ต้องโดนเล่นงานถูกตำหนิก่อนแน่นอนค่ะ เพราะเป็นผู้รับรองหลักสูตรไว้ตั้งแต่ต้น และคนที่จะเรียนได้ก็ต้องทำคะแนนได้สูงพอๆ กันค่ะ สิ่งที่ต่างคือคชจ. ซึ่งแน่นอนว่า เอกชนแพงกว่ามากอยู่แล้ว เพราะไม่ได้เงินอุดหนุนบางส่วนจากรัฐเหมือนมหาวิทยาลัยรัฐค่ะ (ที่เราใช้คำว่าอุดหนุนบางส่วน เพราะมหาวิทยาลัยรัฐทั้งหมดออกนอกระบบ ต้องเลี้ยงตัวเอง หลักสูตรมากมาย ทั้งป.ตรี ป.โท ป.เอก จึงผุดเป็นดอกเห็ด อย่างที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้)
2. ไม่ว่าเอกชนหรือรัฐ ถ้าเขามีทุน และคุณได้รับทุน ก็ต้องใช้ทุนเขาอยู่ดีค่ะ เช่น ใช้ทุนโดยต้องทำงานกับรพ.ในเครือที่เขากำหนด แต่ถ้าไม่อยากทำ จะไปทำที่รพ.อื่น ก็ง่ายมากค่ะ ใช้คืนเงินต้น รวมดอกเบี้ยและค่าปรับให้เขาทั้งจำนวนค่ะ อาทิ หนูเก่งภาษาอังกฤษมาก แล้วดันไปเตะตารพ. ที่ออสเตรเลียที่กำลังขาดแคลนแพทย์อย่างหนัก เขายอมจ่ายค่าตัวแสนแพง คำนวณแล้วมันคุ้ม ก็แค่จ่ายคืนผู้ให้ทุนแล้วจะได้ไปทำงานอย่างสบายใจค่ะ
3. คณะแพทย์ ของม.เอกชนที่ป๊อบปูล่าร์ก็คงไม่พ้น แพทย์ ม.รังสิตค่ะ แต่ต้องไม่ลืมว่า ไม่ว่าคุณจะจบแพทย์จากที่ใด ศักดิ์และสิทธิย่อมเท่ากันทุกประการ ไม่ว่าจะจบแพทย์มหิดล จุฬา ธรรมศาสตร์ รังสิต สยาม ย้ำอีกครั้งว่า แพทยสภารับรองหลักสูตรหมดแล้ว ไม่อย่างนั้น มหาวิทยาลัยเหล่านี้จะเปิดสอนไม่ได้เลยค่ะ
ส่วนเรื่องคชจ.ทั้งหมด ควรไปสอบถามกับทางมหาวิทยาลัยโดยตรงค่ะ เพื่อจะได้ความชัดเจนจริงๆ ถ้าพี่เดาไม่ผิดน่าจะมีการปรับปรุงคชจ. บางอย่างเพิ่มเติมอยู่ด้วยนะคะ แล้วก็จะได้ประเมินกรณีพักหอ และหรือช่องทางการกู้ยืมเพื่อการศึกษาและอื่นๆค่ะ
โฆษณา