Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Environman
•
ติดตาม
11 มี.ค. 2022 เวลา 09:33 • สิ่งแวดล้อม
การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ให้กับผู้หญิงและเยาวรุ่นหญิงนี้มีส่วนช่วยวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้
ตามรายงานของโครงการ Drawdown ที่เคยนำเสนอ 76 วิธีที่ช่วยแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศนั้น ได้มีการระบุไว้ในลำดับที่ 6 และ 7 ตามลำดับความสำคัญว่า #การทำให้ผู้หญิงและเด็กเข้าถึงการศึกษา และการช่วยวางแผนครอบครอบครัวและการเจริญพันธุ์ นั้นมีส่วนช่วยโลกได้เป็นลำดับต้น ๆ โดยประมาณการว่าการเข้าถึงการศึกษาและวางแผนครอบครัวได้มากขึ้นของผู้หญิงนั้นจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้ถึง 105 กิกะไบต์ภายในปี 2050
(
https://bit.ly/34zzHfn
- Health and Education | Project Drawdown)
ในประเทศไทยอาจไม่เห็นภาพชัดเจนมากนัก แต่ในหลายมุมโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนเป็นด่านหน้ามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและทางเพศทับซ้อนกันอยู่ เช่น ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ จะเห็นได้ว่า ปกติแล้ว ผู้หญิงในประเทศเหล่านั้นมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย ทำให้ไม่มีทักษะมาประกอบอาชีพที่หลากหลาย ต้องทำงานกับอาชีพที่พึ่งพาสภาพอากาศแต่เมื่อสภาพอากาศแปรปรวน ผลผลิตออกไม่ตรงตามฤดูกาล ก็เกิดปัญหาปากท้อง
ปัญหาปากท้อง ท้ายที่สุด อาจนำไปสู่การริดรอนสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงบางกลุ่ม เช่น การบังคับแต่งงานก่อนวัยอันควรตามความเชื่อของสังคมในเอเชียอย่างอินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
(
https://bit.ly/3MH1ziX
- 5 ข้อสังเกตที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้หญิง-เด็กหญิงเป็นพิเศษ | SDG Move)
เนื่องในวันสตรีสากล เราจึงอยากชวนทุกคนมาดูกันว่า ในแต่ละมุมโลกนั้น มีการเคลื่อนไหว เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ให้กับผู้หญิง เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศแปรปรวนอย่างไรบ้าง
🔴 ทั้งนี้ ตัวอย่างที่กล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในบางประเทศ ในความเป็นจริง เรื่องการเจริญพันธุ์เป็นเรื่องที่ทุกเพศควรเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องที่เพศหญิงฝ่ายเดียวต้องกังวล เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการมีลูกเมื่อไม่พร้อม และทุกเพศควรมีสิทธิเข้าถึงการศึกษา มีสิทธิในการหาเลี้ยงชีพอย่างเท่าเทียมกัน
● การวางแผนครอบครัวในรวันดา
รู้หรือไม่ ? การชะลอการขยายตัวของประชากรโลกถือเป็นอีกหนึ่งหนทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระทำของมนุษย์ได้
ดังนั้น 'การวางแผนครอบครัว' หรือแปลไทยเป็นไทยได้ว่า #มีลูกเมื่อพร้อม จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญนั่นเอง! การชะลอประชากรในที่นี้ไม่ได้หมายถึง "การควบคุมประชากร" ที่จะมีการลดทอนความเป็นมนุษย์ในประเทศที่กำลังพัฒนานะ แต่ให้ทุกคนมีลูกเมื่อพร้อมเพื่อที่จะลดปัญหาความยากจนและชะลอความเสื่อมโทรมจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ตัวอย่างเช่น รวันดา ประเทศเล็ก ๆ ในแอฟริกาที่ไม่มีทรัพยากรมากนัก จึงทำให้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรนั้นนับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ภาครัฐจึงได้มีการจัดโครงการวางแผนครอบครัวในรวันดา (Rwandan Family Planning Program) เป็นโครงการที่ช่วยการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดของสตรีผ่านการให้บริการวางแผนครอบครัวและให้ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศหรืออนามัยการเจริญพันธุ์ในโรงเรียน โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากองค์กรผู้บริจาคระหว่างประเทศเป็นหลัก
โครงการนี้ส่งผลให้ในสังคมรวันดามีการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นกว่า 40% ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการสร้างความเข้าใจและบรรทัดฐานใหม่ในสังคม (เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในสังคมรวันดามีความเชื่อตามแบบศาสนาคริสต์ที่มองว่าการคุมกำเนิดเป็นเรื่องบาป) เป้าหมายหลักก็เพื่อให้พลเมืองรวันดามีสภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น ช่วยขจัดความยากจนของประชากร มีคุณภาพชีวิตที่ดี และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้
● การบังคับแต่งงาน
รู้หรือไม่ ? สภาวะอากาศแปรปรวนมีส่วนทำให้อัตราการบังคับแต่งงานในเด็กผู้หญิงเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อพูดถึง Climate Change ผู้คนอาจนึกถึงอากาศที่แปรปรวนและภัยธรรมชาติ แต่ประเด็นหนึ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลยคือ การบังคับแต่งงานในเด็กผู้หญิง จากรายงานของ Unicef พบว่าในทุก ๆ ปี มีเด็กผู้หญิงราว 15 ล้านคนแต่งงานก่อนอายุ 18 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเปราะบาง ทั้งภัยธรรมชาติ ความยากจน การขาดการศึกษา ปัจจัยเหล่านี้ที่มีส่วนเพิ่มอัตราการแต่งงานของเด็ก
ตัวอย่างเช่น ผลวิจัยของ Human Rights Watch ในบังคลาเทศพบว่าร้อยละ 52 ของเด็กหญิงชาวบังคลาเทศนั้นแต่งงานก่อนวัยอันควร และปัจจัยที่ครอบครัวผลักดันเขานั้นมาจากเรื่องภัยธรรมชาติโดยตรง เช่น บางครอบครัวกลัวว่าพวกเขาจะต้องสูญเสียบ้านของตนเองไปกับการพลังทลายของแม่น้ำในอนาคตอันใกล้ เลยให้ลูกแต่งงานออกเรือนเพื่อให้มีที่อยู่ที่ดีขึ้น
ในประเทศโมซัมบิก ทวีปแอฟริกาเอง จากรายงานของ Care ในปี 2016 ก็พบว่าอัตราการแต่งงานในเด็กที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเริ่มเกิดภัยแล้ง เนื่องจากในหลายครอบครัวสูญเสียพื้นที่ทำกิน พืชพันธุ์เสียหาย จนเลือกที่จะให้ลูกสาวตนเองแต่งออกเรือนเพื่อแลกกับ 'สินสอด' รวมถึงลดค่าเลี้ยงดูไปได้
การบังคับแต่งงานก่อนวัยนั้นอาจทำให้เสี่ยงต่ออันตรายด้านการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศ และโอกาสที่ความยากจนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอาจหลุดออกจากระบบการศึกษา ดังนั้น การให้พวกเขาเข้าถึงความรู้ข้อมูลจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้พวกเขารับผิดชอบและปกป้องตนเองจากภัยคุกคามได้
● การให้ความรู้เพื่อการอนุรักษ์
'Woman for Bees' เป็นการร่วมมือกันระหว่าง UNESCO และ Guerlain บริษัทเครื่องสำอางฝรั่งเศส เพื่อช่วยฝึกอบรมผู้หญิง 50 รายจากทั่วโลกที่มาจาก 25 พื้นที่สงวนชีวมณฑลของยูเนสโก เพื่อให้รู้จักการทำธุรกิจการเลี้ยงผึ้งเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของผึ้งต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
"เมื่อผู้หญิงมีทักษะและความรู้ สัญชาตญาณของพวกเขาคือการช่วยเลี้ยงดูคนอื่น" แองเจลิน่ากล่าว โดยโครงการนี้มีส่วนช่วยส่งเสริมทักษะความรู้ของผู้หญิงในพื้นที่ชนบท เนื่องจากการเลี้ยงผึ้งถือเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้คนได้ โดยที่ไม่ต้องมีพื้นที่ไร่นาใหญ่โต ซึ่งเธอก็หวังว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยสร้างทักษะอาชีพให้กับผู้เข้าร่วม รวมถึงส่งเสริมระบบนิเวศโดยช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และขยายชุมชนผึ้งได้
โดยโครงการนี้มุ่งเน้นแบ่งปันความรู้ระหว่างเครือข่ายใหม่ของผู้เลี้ยงผึ้งและเรียนรู้พื้นฐานทางทฤษฎีและการปฏิบัติของความยั่งยืนโดยอาศัยระบบนิเวศน์และสายพันธุ์ของผึ้งในท้องถิ่น ซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่เขตสงวนชีวมณฑลของยูดเนสโก ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองอย่างเข้มงวดรวมถึงพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
● การรวมตัวของผู้หญิงเพื่อขับเคลื่อนในช่วงวิกฤต
การรวมตัวเคลื่อนไหวของผู้หญิงเพื่อขับเคลื่อนเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วทุกมุมโลก เราขอยกตัวอย่าง Women's Earth Alliance (WEA) องค์กรที่รวมตัวกันเมื่อปี 2006 จากตัวแทนผู้หญิงกลุ่มชนชั้นรากหญ้า 30 คน จากหลายประเทศ เช่น เฮติ โบลิเวีย คาซัคสถาน อิสราเอล ปาเลสไตน์ เม็กซิโก อินเดีย เคนยา จนขยายเป็นหลักหมื่นคนทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งพวกเขาก็มีการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับปัญหาด้านการถูกยึดครองที่ดิน ปัญหามลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและวิถีชีวิต สภาวะ Climate Change ที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงแนวทางการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน (ให้ความรู้สึกเหมือนสมาคมแม่บ้านมายืนรวมตัวกันเหมือนกันนะเนี่ยย)
WEA มองว่าการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับผู้คนถือเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนมากกว่าการสนับสนุนทางการเงินเสียอีก พวกเขาริเริ่มการฝึกอบรมในโครงการต่าง ๆ เช่น ผู้นำ WEA ในอินเดียจัดทำแผ่นผ้าอนามัยให้แก่เด็กและสตรีกว่า 50,000 คนใน 20 รัฐ เพื่อช่วยด้านค่าใช้จ่ายและต่อต้านค่านิยมในสังคมอินเดียที่มองว่าผู้หญิงมีประจำเดือนนั้นเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ห้ามทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ห้ามเข้าบางสถานที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำของพวกเขา รวมถึงราคาผ้าอนามัยที่แสนจะแพงม๊ากกก ราคาโดยประมาณห่อละ 200 บาท ทั้งที่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 150 บาท เท่านั้น โปรเจ็คนี้จึงริเริ่มตัดเย็บผ้าอนามัยแบบซักทำความสะอาดได้ เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้เยอะ
แหล่งอ้างอิงและที่มา:
1.
https://bit.ly/3IXWm41
- Rwanda: A pioneer of family planning in Sub-Saharan Africa | The Overpopulation Project
2.
https://bit.ly/34zzHfn
- Health and Education | Project Drawdown
3.
https://bit.ly/3tHlYvq
- 10 Most Viable Global Climate Solutions | One Percent for the Planet
4.
https://bit.ly/3KyVweh
- How Climate Change Drives Child Marriage | Women and Girls
5.
https://bit.ly/3vZMmnc
- Covid-19, climate change pushing women in India's Sundarbans to distress | Earth Journalism Network
6.
https://bit.ly/3MEJW3f
- Women for Bees
7.
https://bit.ly/3i0MbQd
- WEA: Women's Earth Alliance
8.
https://bit.ly/3KF6eAd
- อรุณาจาลาม มูรูกานันธัม : ชายผู้ปฏิวัติวงการ ‘ผ้าอนามัย’ ในอินเดีย - เพจยอดมนุษย์..คนธรรมดา | TOP PICK TODAY | LINE TODAY
บันทึก
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Original
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย