11 มี.ค. 2022 เวลา 11:18 • สุขภาพ
ไมเกรน​
🤔 ปวดหัวมานาน​ กินยาอะไรก็ไม่หายปวด​ จนกระทั่งหมอให้ยา Beta-blockers มากินจึงหายปวด ถามว่าจะกินยาได้นานขนาดไหน
🤓ในผู้ป่วยที่ปวดหัวไมเกรนจนรบกวนชีวิตประจำวัน คือ
มีอาการปวดหัวไมเกรน ≥ 4 ครั้งต่อเดือน และไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียง
หรือไม่ตอบสนองต่อยารักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลันชนิดอื่น
หรือมีลักษณะอาการของไมเกรนบางชนิด เช่น ปวดหัวแล้วอ่อนแรงครึ่งซีก (hemiplegic migraine) หรือเป็นไมเกรนชนิดเห็นแสงวูบวาบ​ (migraine with brainstem aura)
.
โดยยาที่แนะนำสำหรับการป้องกันการปวดศีรษะไมเกรนตามคำแนะนำจาก American Family Physician ปี 2019 พบว่า
ยากันชัก เช่น divaproex sodium, sodium valproate และ Topiramate
ยากลุ่ม beta – blockers เช่น metoprolol, propranolol และ timolol
ยากลุ่ม triptans เช่น frovatriptanได้รับคำแนะนำให้ใช้เป็นยาลำดับแรก ๆ
.
ส่วนยาในกลุ่ม antidepressants ได้แก่ amitriptyline และ venlafaxine
ยากลุ่ม beta – blockers ชนิดอื่น ๆ ได้แก่ atenolol และ nadolol
ได้รับคำแนะนำรองลงมา
.
.
💊
Propranolol สามารถป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ โดยมีขนาดยาเริ่มต้น 80 mg/day และค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาขึ้น 20-40 mg/dose ทุก 2-4 สัปดาห์​ จนสามารถควบคุมอาการได้​ หรือปรับถึงขนาดยาสูงสุดคือ 160-240 mg/day
สามารถติดตามประสิทธิภาพของการรักษาได้จากจำนวนครั้งของการปวดศีรษะไมเกรนภายใน 1 เดือนควรลดลง​
.
ควรติดตามอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น เมื่อยล้า​ มึนงง​ คลื่นไส้อาเจียน
นอกจากนั้น ควรติดตามอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต​ของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นให้ยาและในระหว่างการปรับขนาดยา
หากผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที
หรือมี systolic blood pressure (ค่าความดันตัวบน)​ น้อยกว่า 80 mmHg ควรหยุดยาทันที​ เนื่องจาก อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) หรือ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ​ sinus bradycardia
.
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาภายใน 2 เดือน
หรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงจากยาได้
แนะนำให้พิจารณาเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่ม อื่น หรือใช้ยาร่วมกับยากลุ่มอื่นในการป้องกันไมเกรน
.
หลังจากใช้ยาโพรพราโนลอล หากควบคุมอาการได้อย่างน้อย 6-12 เดือน ผู้ป่วยสามารถหยุดใช้ยาได้โดยค่อย ๆ ลดขนาดยาลงในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรหยุดยาทันที​
.
โพรพราโนลอล มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเป็นหอบหืด​ หรือ COPD
ควรใช้ยากลุ่มอื่นในการป้องกันไมเกรน
.
.
💢
เนื้อหาจาก
.
ภาพจาก
.
.
"กาแฟแก้วนี้☕️ พี่ขอนะ
🚫 งดกาแฟ 🚫 งดไมเกรน
.
บางครั้งกินตอนปวดหัว รู้สึกว่ามันช่วยลดอาการปวดได้ดีมากๆ
นั่นก็เพราะ คาเฟอีน ไปทำให้หลอดเลือดที่กำลังขยายตัว และเกิดการอักเสบอยู่ หดตัวลง😱
.
แต่หารู้ไม่❗️ กาแฟแก้วนี้ กำลังหลอกให้เราตายใจ
เพราะถ้าเรากินทุกวัน วันละหลายๆแก้ว หลอดเลือดของเราจะเกิดความเคยชิน
วันไหนไม่ได้กินนะ ปวดตั้งแต่เช้ายันเย็น และจะทำให้อาการปวดแย่ลงนั่นเอง😣
.
ℹ️American migraine foundation ได้ออกมาบอกไว้ว่า ไมเกรนเรื้อรัง มักจะมากับชาวไมเกรนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวัน และอัตราในการใช้ยาแก้ปวดสูงขึ้นอีกด้วย
.
นอกจากนั้น จะนำมาสู่ภาวะติดยาแก้ปวด ได้ง่ายกว่าปกติ
.
และมีอีก 2 สาเหตุสำคัญที่ทำให้กระตุ้นไมเกรนได้มากกว่าปกติ นั่นก็คือ
☕️ คาเฟอีนที่มีปริมาณสูงๆ จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายกว่าปกติ
☕️ คาเฟอีน จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแมกนีเซียมได้ลดลง ซึ่งอย่างที่ชาวไมเกรนรู้กันว่า วิตามินแมกนีเซียมเป็นวิตามินที่สำคัญ และสามารถป้องกันไมเกรนได้นะ
.
🚫☕️ลดกาแฟในช่วงแรกอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆคน แต่ถ้าลดได้แล้ว สบายตัวและสบายหัวแน่นอน❗️
เพราะเราอยากเห็นชาวไมเกรนกลับมายิ้มได้อีกครั้ง 😊
.
Reference :
.
POSTED 2022.03.11
UPDATED 2022.05.04

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา