11 มี.ค. 2022 เวลา 15:14 • สุขภาพ
ไวรัสโอมิครอนกลายพันธุ์อีกครั้งแล้ว เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2.2 ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากที่ฮ่องกงในขณะนี้
4
นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิดซึ่งพบเคสแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ด้วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อู่ฮั่น (Clade S) ส่งผลทำให้เกิดการระบาดระลอกที่ 1 ของไทย ช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2563 ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อ 4000 ราย เสียชีวิต 60 ราย
1
ต่อมา ไทยก็เกิดการระบาดระลอกที่ 2 ในช่วงธันวาคม 2563 ถึงมีนาคม 2564 โดยยังคงเป็นไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่น (Clade GH : B.1.36.16) ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อ 24,863 ราย เสียชีวิต 34 ราย
4
ด้วยเหตุที่ไวรัสตระกูลโคโรนา เป็นไวรัสสารพันธุกรรมเดี่ยว(RNA) มีการกลายพันธุ์ได้ง่ายโดยธรรมชาติ
1
จึงเกิดการกลายพันธุ์เป็นไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า (Clade GRV : B.1.1.7) และต่อมาเป็นไวรัสสายพันธุ์เดลต้า(Clade GK : B.1.617.2) จนเกิดการระบาดใหญ่ระลอกที่ 3 ของประเทศไทย ตั้งแต่เมษายนถึงธันวาคม 2564 ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อ 2,194,572 ราย เสียชีวิต 21,604 ราย
14
และในลำดับสุดท้ายล่าสุด ก็มีการ
กลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ที่ก่อโรคโควิด เป็นสายพันธุ์โอมิครอน(Clade GRA : B.1.1.529) ส่งผลให้เกิดการระบาดระลอกใหญ่อีกครั้ง นับเป็นระลอกที่ 4 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นมา
5
จนถึงขณะนี้ (11 มีนาคม 2565) มีผู้ติดเชื้อรวม 1,595,460 ราย เป็นผู้ติดเชื้อแบบ PCR 913,214 ราย และผู้ติดเชื้อเข้าข่ายแบบ ATK 682,246 ราย มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 1880 ราย
5
ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งกำลังเป็นสายพันธุ์หลักของการระบาดระลอกที่ 4 ในประเทศไทย มีความสามารถในการแพร่ระบาดที่เร็วกว่าเดลต้าถึง 4 เท่า
อย่างไรก็ตาม มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อยไปอีก 3 ชนิดด้วยกัน คือ BA.1 BA.2 BA.3 โดยสายพันธุ์ย่อยที่ 1 เป็นสายพันธุ์หลัก และต่อมามีสายพันธุ์ย่อยที่ 2 ซึ่งแพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์ย่อยที่ 1 อีก 30-40% และขณะนี้ประเทศไทยพบแล้วทั้งสองสายพันธุ์ย่อย และกำลังพบสายพันธุ์ย่อยที่ 2 มากขึ้นเป็นลำดับ
8
โดยหลักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องไวรัส ทราบกันดีว่า ที่ใดมีการติดเชื้อมากหรือไวรัสมีการแบ่งตัวมาก ก็จะมีการกลายพันธุ์มาก จนสามารถเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์หลัก หรือสายพันธุ์ย่อยก็ตาม
6
ในขณะนี้ที่ฮ่องกง กำลังมีการระบาดของโควิดอย่างมาก พบตัวเลขสถิติผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีการตรวจพบสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งแยกออกมาจากสายพันธุ์ย่อยที่ 2 จึงเรียกชื่อว่า BA.2.2
1
โดยจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 7 วันของฮ่องกงสูงเป็น 17.2 เท่าของประเทศไทยคือ 5425 ต่อล้านประชากร เทียบกับ 315 ต่อล้านประชากร
2
และผู้เสียชีวิตที่มากกว่าประเทศไทยถึง 35.3 เท่าคือ เสียชีวิต 30 รายต่อล้านประชากร ของไทยพบ 0.85 รายต่อล้านประชากร
1
จึงมีการสันนิษฐานว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 อาจเป็นเหตุทำให้เกิดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่ฮ่องกง
5
เพราะที่ฮ่องกงและประเทศไทยต่างก็เป็นไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนด้วยกัน แต่ของฮ่องกงขณะนี้เป็นสายพันธุ์ BA.2.2 ในขณะที่ไทยยังไม่พบ
6
ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ในฮ่องกง ก็คงเป็นเรื่องที่กลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนค่อนข้างน้อยร่วมด้วย
2
ไวรัสสายพันธุ์ย่อย BA.2.2 มีการ
กลายพันธุ์ตรงตำแหน่งหนามแหลมที่กรดอะมิโนตำแหน่งที่ 1221 โดยเปลี่ยนจาก Isoleucine เป็น Threonine
8
กรณีดังกล่าวที่ฮ่องกง จึงทำให้โลกของเรายังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโควิดต่อเนื่องกันไป ด้วยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นสายพันธุ์หลัก หรืออาจจะเป็นสายพันธุ์ย่อยจากธรรมชาติ
7
ประเทศไทยเรา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจับตาดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป ส่วนการคาดการณ์ที่จะมีสถานการณ์เบาบางลงหรือเป็นโรคประจำถิ่น ก็ดูเหมือนจะยังหาความชัดเจนในขณะนี้ได้ลำบาก
3
คงจะต้องระมัดระวัง ช่วยกันดูแลป้องกันการเข้ามาของไวรัสสายพันธุ์ BA.2.2 โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากฮ่องกงและอังกฤษกันต่อไป
Reference
1
Center for Medical Genomics
2
โฆษณา