12 มี.ค. 2022 เวลา 01:15 • สุขภาพ
ปรับระบบ “รักษาโควิด19”ใหม่ หลัง 16 มี.ค.นี้
2
ตั้งแต่ 16 มี.ค.นี้ สธ.จะปรับระบบรักษาโควิด19ใหม่ ไม่ฟรีทุกที่ทุกรายอีกต่อไป แต่จะแยกตามกลุ่มอาการ และสิทธิ์รักษา
3
*ยุคก่อนมีโรคโควิด19
ต้องรู้ก่อนว่า ก่อนที่จะมีโรคโควิด19คนไทยทุกคน มีสิทธิ์รักษาฟรีโรคต่างๆอยู่ในสิทธิประกันสุขภาพภาครัฐ สิทธิใดสิทธิหนึ่ง คือ บัตรทอง ประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ โดยต้องเข้ารับการรักษาในรพ.ตามสิทธิ์ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากไปรพ.นอกสิทธิ์ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
และมีสิทธิพิเศษที่เรียกว่า “UCEP อาการวิกฤติรักษาฟรีทุกที่” คือ หากมีอาการเข้าตามเกณฑ์วิกฤติถึงแก่ชีวิตที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในรพ.ทุกที่ที่ใกล้ที่สุดได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง จนพ้นภาวะวิกฤติ
**เมื่อมีโรคโควิด19
1
เมื่อโรคโควิด19 เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จึงออกประกาศให้โรคโควิด19 เป็นโรคที่จัดอยู่ในเกณฑ์ฉุกเฉิน “ผู้ติดเชื้อทุกราย”สามารถเข้ารับการรักษาได้ในรพ.ทุกที่ เรียกว่า “UCEP โควิด”
เนื่องจากในนยุคเริ่มของการเกิดโรคระบาดนั้น ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวกับโรคมากนัก และไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงต้องนำผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารักษาในระบบรพ.
กระทั่งผ่านมา 2 ปีกว่า รู้จักและเข้าใจโรค ทั้งการติดเชื้อ การแพร่ระบาด การป้องกัน ความรุนแรงของโรค อาการของโรคมากขึ้น และมีวัคซีนป้องกัน
อีกทั้ง พบว่า อาการโควิดโอมิครอนมากกว่า 95 % ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย อยู่ในกลุ่มสีเขียว และผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือยังไม่รับเข็มกระตุ้น
2
***ค่าดูแลคนไม่มีอาการ2-5หมื่นบาท/คน
4
บวกกับ ที่ผ่านมา พบว่า รัฐใช้งบประมาณในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อที่เป็นกลุ่มอาการ
สีเขียว คือ ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยมาก ให้เข้าอยู่ในรพ.
กรณีรพ.ภาครัฐ 23,248 บาทต่อราย
กรณีรพ.เอกชน 50,326 บาทต่อราย
2
อาการสีเหลือง
ภาครัฐ 81,844 บาทต่อราย
เอกชน 92,752 บาทต่อราย
และอาการสีแดง
ภาครัฐ 252,182 บาทต่อราย
เอกชน 375,428 บาทต่อราย
ระบบรักษาโควิดหลัง 16 มี.ค.
หลังวันที่ 16 มี.ค.เป็นต้นไป สธ.จึงออกประกาศเรื่อง “UCEP โควิด พลัส” โดยจะให้การรักษาฟรีทุกที่ สำหรับผู้ติดเชื้อที่อาการสีเหลืองและแดงเท่านั้น ส่วนผู้ที่มีอาการสีเขียว ให้เข้ารับการรักษาฟรีในรพ.ตามสิทธิ์
โดยการวินิจฉัยว่าจะได้รับยาหรือไม่อย่างไร รักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือต้องเข้านอนในรพ. ให้เป็นดุลยพินิจของแพทย์ ทั้งนี้ ผู้ที่ติดเชื้ออาการกลุ่มสีเขียวและไม่มีปัจจัยเสี้ยง สามารถรับบริการรูปแบบผู้ป่วยนอก(OPD) เจอแจกจบ หรือแบบแยกกักที่บ้าน(HI)ได้
1
ในการให้ยาแพทย์จะวินิจฉัยให้ยากรณีกลุ่ทสีเขียว 3 ชนิด คือ ยาตามอาการ ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ
ยาฟ้าทะลายโจร หรือยาฟาวิพิราเวียร์
3
"ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อแล้ว จะต้องได้ยาฟาวิพิราเวียร์ทุกราย"!!!
เป็นการพิจารณาให้ตามอาการ ปัจจัยเสี่ยงและดุลยพินิจของแพทย์
2
เป็นตามไกด์ไลน์ในการรักษาโควิด19ที่ออกโดยกรมการแพทย์ เพื่อปรับให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลมากขึ้น
2
เนื่องจากยาทุกชนิดล้วนมีผลข้างเคียง และปัจจุบันไทยใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ที่เป็นยาต้านไวรัสเฉลี่ยวันละ 2 ล้านเม็ด หรือ เดือนละ 60ล้านเม็ด "เสี่ยงเชื้อดื้อยา"!!!
ฉะนั้น ตั้งแต่ 16 มี.ค.2565 กลุ่มอาการสีเขียว เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กรณีระหว่างรับการรักษาแบบHome/Hotel/Community Isolation เกิดอาการรุนแรงจนมีระดับความรุนแรงเป็นผู้ป่วยสีเหลือง สีแดง ส่งต่อรพ.ที่สามารถดูแลได้ โดยใช้สิทธิUCEP โควิด พลัส ได้
ส่วนอาการสีเหลือง และสีแดง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จะให้การรักษาผู้ป่วยจนหาย
1
หากจำเป็นสามารถส่งต่อไปรักษารพ.อื่นได้ ดังนี้ ส่งต่อไปรพ.อื่นเนื่องจากรพ.มีศักยภาพไม่เพียงพอ ,ส่งต่อรพ.ในเครือข่ายที่จัดไว้สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 สีเหลือง แดง
แต่หากผู้ป่วย/ญาติปฏิเสธต้องออกค่าใช้จ่ายเอง และกรณีผู้ป่วย/ญาติประสงค์ไปรักษาที่รพ.อื่น ต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
1
สำหรับผู้ติดโควิดอยู่ในสิทธิบัตรทอง
อาการ อยู่เกณฑ์สีเขียว ไปรับบริการตามสิทธิ์ หรือสถานพยาบาลปฐมภูมิในเครือข่ายบัตรทองได้ทุกแห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรณีสีเหลืองหรือแดงก็ยังเข้ารับการรักษา รพ.ใดก็ได้ทั้งรัฐและเอกชน
1
ผู้อยู่ในสิทธิ์ประกันสังคม
อาการ ที่เป็นสีเขียว หรือติดเชื้อาการเล็กน้อย ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาได้ในรพ.คู่สัญญาทุกแห่งของประกันสังคม(ไม่เฉพาะรพ.ตามิสทธิ์เท่านั้น) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา
1
กรณีสีเหลืองและสีแดงเข้ารพ.ไหนใดก็ได้ในประเทศไทย ทั้งรัฐและเอกชน
ส่วนการเบิกประกันสุขภาพเอกชน
เป็นไปตามความครอบคลุมของประกันของแต่ละบุคคล ว่าครอบคลุมคนไข้นอก คนไข้ใน หรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้ สธ.กำหนดให้ผู้รับการดูแลใน HI และฮอสปิเทล ถือเป็น ผู้ป่วยใน ของรพ.
อ้างอิง
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
กรมการแพทย์
กรมควบคุมโรค
1
โฆษณา