12 มี.ค. 2022 เวลา 10:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โรงงานไหน พึ่งเริ่มทำระบบคุณภาพ ISO บ้างไหม ?
จุดเริ่มต้นของการทำระบบคุณภาพจริงๆ แล้วไม่มีองค์กรไหนต้องการเพิ่มภาระหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กร แต่บางครั้งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำระบบ เหตุผลหลายอย่างทุกองค์กรรู้กันดี ทุกเหตุผลนั้นลึกๆ แล้วสิ่งที่ได้จากการทำระบบมันมากกว่าผลลัพธ์ที่เราเห็นจากการทำอาทิเช่น ความพอใจสูงสุดของลูกค้า พนักงานมีความมั่นใจว่าจะปลอดภัยในการทำงาน ชุมชนรอบข้างไม่มีเรื่องร้องเรียนไม่ได้รับผลกระทบจากองค์กร สุดท้ายองค์กรปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สรุปง่ายๆ ผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรและหรือผู้ที่มีผลกระทบโดยตรงกับองค์กร ทุกองค์กรมีเป้าหมายสูงสุดในการดำเนิน ส่วนใหญ่แล้วต้องการกำไรสูงสุดในการดำเนินกิจการ เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ แบ่งออกเป็น
1. องค์กร มีเป้าหมายสูงสุด คือ ต้องการกำไรสูงสุด
2. ลูกค้า มีเป้าหมายสูงสุด คือ ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ประหยัด
3. พนักงาน มีเป้าหมายสูงสุด คือ ความปลอดภัยสูงสุดและได้ค่าตอบแทนสูงสุด
4. ชุมชน มีเป้าหมายสูงสุด คือ ไม่มีผลกระทบต่อชุมชน (เสียงดัง,กลิ่นเหม็น) ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย
ภายใต้ความต้องการพื้นฐานสูงสุดของแต่ละส่วนนั้น จึงทำให้เกิดหน่วยงานหรือส่วนกลางที่จะต้องควบคุมกำกับดูแลให้มีจุดตัดกลางที่ตรงกัน (อุปสงค์ และ อุปทาน ตัดกัน) ข้อกำหนดที่จะทำให้ส่วนต่างๆ มีความต้องการที่ตัดกันพอดีนั้น ก็จะมีกฎหมายเข้ามาช่วยควบคุมองค์กรให้ปฏิบัติตาม ทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน ข้อกำหนดนั้นก็จะมีความควบคุมองค์ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ มากมาย ถ้าองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานก็จะต้องมีการตรวจสอบและถูกการระงับใบอนุญาตในการดำเนินกิจการไป
องค์กรหลายแห่งก็ปฏิบัติตามกฎหมายทุกข้ออย่างถูกต้อง บางครั้งความเชื่อมั่นของชุมชนก็ยังไม่มีไม่มากพอ องค์กรหลายแห่งก็ถูกกดดันจากกลุ่มลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขการทำธุรกิจร่วมกัน กลุ่มลูกค้าได้รับความพอใจสูงสุด ทำให้เกิดข้อกำหนดส่วนกลางขึ้นมาเพื่อที่จะบอกได้ว่าองค์กรใดได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดบ้าง มีการรับรองคุณภาพอย่างน่าเชื่อถือ เผยแพร่ให้ชุมชนรับรู้และเชื่อมันในองค์กรนั้น ทำให้เกิดระบบคุณภาพขึ้นมาหลายอย่างครอบคลุมด้านต่างๆ ขององค์กรให้ปฏิบัติได้อย่างถูกกฎหมายและทำให้เกิดความมั่นใจของผู้มีส่วนได้เสีย
ระบบคุณภาพทำให้เกิดความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย อีกทั้งระบบคุณภาพยังช่วยลดความเสี่ยง ลดต้นทุนบางอย่าง อีกทั้งช่วยให้เกิดความมั่นคงในการดำเนินกิจการ จุดเริ่มต้นของการทำระบบคุณภาพภายใต้ผลประโยชน์ที่จะได้รับของผู้มีส่วนได้เสีย องค์กรหลายแห่งเริ่มดำเนินการจัดทำระบบคุณภาพที่เหมาะสมกับองค์กร ทุกองค์กรน่าจะศึกษาระบบคุณภาพมาพอสมควรแล้วและองค์กรควรจะเลือกระบบคุณภาพแบบไหนให้เหมาะสมกับองค์กร องค์กรก็น่าจะรู้กันแล้วว่าทำไมองค์กรต้องจัดทำระบบคุณภาพ
การทำระบบคุณภาพไม่ได้ยากอย่างที่คิด
ตอนที่ 2 ระบบคุณภาพ มีอะไรบ้าง เลือกอันไหนดีหว่า ?
องค์กรหลายแห่งก็เลือกไม่ถูกว่าจะทำระบบคุณภาพแบบไหนดีจึงจะเหมาะสมกับองค์กรของตนเอง เพราะแต่ละระบบนั้นก็ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการทำระบบ ระบบไหนจะเหมาะนั้นมองได้หลายแง่มุม หลักง่ายๆ ในการเลือกระบบก็ต้องขึ้นอยู่กับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์กรว่ามีความต้องการอะไรมากที่สุด แล้วจะดำเนินกิจการต่อไปได้ยังไงให้เหมาะสมกับที่ได้ตั้งเป้าหมายสูงสุดเอาไว้ หลายคนมองว่าเป้าหมายสูงสุดขององค์กรส่วนใหญ่ก็ต้องการกำไรสูงสุดกันทั้งนั้น มองกันจริงๆ แล้วกำไรสูงสุดนั้นเป็นเพียงผลตอบแทนสูงสุดไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด ถ้าเราคิดถึงเป้าหมายสูงสุดก็ควรจะมองกันถึงที่มาของกำไรสูงสุดกัน ถ้าอยากจะได้กำไรหรือผลตอบแทนสูงสุดนั้นก็ควรจะมีลูกค้าให้มากที่สุด และรักษาความเชื่อมันของลูกค้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลลัพธ์ที่จะได้กลับมาก็คือ ผลตอบแทนสูงสุดนั่นเอง
ระบบคุณภาพมีหลายอย่างให้องค์กรได้เลือกจัดทำ ซึ่งแต่ละระบบนั้นก็มีความเหมาะสมกับธุรกิจขององค์กรแต่ละองค์กรเช่น องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ส่วนใหญ่ก็จะจัดทำระบบ ISO 9000 องค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมก็จะเลือกจัดทำระบบ ISO 14000 องค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยก็จะเลือกทำระบบ ISO 18000 เป็นต้น มีอีกมากมายหลายระบบซึ่งต้องศึกษากันอีกมาก เดียวจะแยกมาให้ดูกันคร่าวๆ
1. มาตรฐาน ISO 9000 คือมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ก็จะมีการแยกย่อยออกมาเป็น
ISO 9001 คือ มาตรฐานที่ใช้สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบ ตั้งแต่การแบบการผลิต การติดตั้ง และการให้บริการ
ISO 9002 คือ มาตรฐานที่ใช้สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบตั้งแต่การผลิต การติดตั้ง และการให้บริการ
ISO 9003 คือ มาตรฐานที่ใช้สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบเฉพาะการตรวจและการทดสอบขั้นสุดท้าย
ISO 9004 คือ มาตรฐานที่ใช้สำหรับองค์กรที่จะให้คำแนะนำในการจัดทำระบบบริหารงานคุณาพเพื่อให้องค์กรผู้ใช้มาตรฐานได้มีระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นรบบมาตรฐานที่ใช้กับองค์กรที่มีผลกระต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ทั้งภายในและภายนอก ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ เป็นมาตรฐานที่มีระบบการจัดการกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ISO 14001 เป็นข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14004 เป็นข้อแนะนำด้านหลักการและเทคนิคในการจัดทำระบบ
ISO 14010 เป็นหลักการทั่วไปของการตรวจประเมิน
ISO 14011 เป็นวิธีการตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14012 เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน
ISO 14020 เป็นหลักการพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
3. มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมในแนวทางป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่างๆ ต่อผู้ปฏิบัติงานและต่อสังคม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ISO 18001 มาตรฐานข้อกำหนดตามมาตรฐาน
ISO 18004 มาตรฐานข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคในการปฏิบัติ
4. มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP , HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร เน้นผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้า โดยเน้นการควบคุมอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากอาหาร
5. มาตรฐาน ISO TS 16949 มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบบการจัดการคุณภาพ TS 16949 ระบบ ISO 9000 / ISO 9001 เป็นระบบที่กำหนดข้อกำหนดของผู้ผลิตรถยนต์
ยังมีอีกหลายระบบมาตรฐานที่ยังไม่ได้กล่าวถึง มีหลายองค์กรเลือกจากระบบที่มีความเหมาะสมกับองค์กรของตนเองจัดทำขึ้นเพื่อ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรได้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมในการดำเนินกิจการขององค์กรนั้นๆ
ระบบมีอีกมาก เลือกให้ดี ให้เหมาะกับองค์กร บนพื้นฐานที่คล้ายๆ กัน
โฆษณา