12 มี.ค. 2022 เวลา 16:08 • ปรัชญา
ความเที่ยงธรรมในวงการกีฬาของหญิงข้ามเพศ
By Thanakrit Trivuth
ความหลากหลายทางสังคมอาจส่งผลกระทบต่อความเที่ยงธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุค ปัจจุบันท่ียอมรับความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคม อย่างเช่นในวงการกีฬา สรีระทางร่างกาย เชื้อชาติ กรรมพันธ์ุ เพศ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนแตกต่างและเราไม่สามารถควบคุมได้นั้นส่งผลอย่างมากในบางกีฬา เช่น ชกมวยและยกน้ำหนัก ได้มีการแบ่งรุ่นการแข่งกีฬาตามน้ำหนักตัวและในหลายกีฬาได้มีการแบ่งตามเพศเช่นฟุตบอลชายและฟุตบอลหญิง สิ่งเหล่านี้ทำให้กีฬามีความเที่ยงธรรมและสนุกมากขึ้น แตใ่นปัจจุบันที่มีความหลากหลายมากขึ้น ผมจึงตั้งคำถามว่า ความเที่ยงธรรมของหญิงข้ามเพศนั้นควรเป็นอย่างไร ควรได้รับการปฏิบัติเหมือนผ้หญิงจริงๆหรือไม่ หากไม่ปฏิบัติอย่างนั้นแล้ว จะถือเป็นการรังเกียจคนข้ามเพศหรือไม่
ประเด็นหลเกๆของหญิงข้ามเพศคือลักษณะทางกายภาพเหมือนผู้ชายมากเกินไปเนื่องจากตลอดชีวิตที่ผ่านมานั้น ได้รับฮอร์โมนเหมือนผู้ชายส่งผลให้มีร่างกายที่ใหญ่โตกว่าหญิง
โดยกําเนิด หรือกล่าวได้ว่าในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการที่หญิงข้ามเพศแข่งขันกับหญิง
โดยกําเนิดเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมเลย
ในเรื่องของเพศในการแข่งขันกีฬาได้มีการพยายามแก้ปัญหาเกิดเที่ยงธรรมมากที่สุด ได้มีหลายๆวิธีใน การพิสูจน์เพศ ในอดีตใช้การตรวจสอบจากอวัยวะเพศแตวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ผิดหลักศีลธรรมและไม่ให้เกียรติความเป็นมนุษย์ จึงเปลี่ยนมาทดสอบระดับฮอร์โมนเพศชายแทนโดยกําหนดระดับของฮอร์โมนเมื่อตํ่ากว่าเกณฑ์จะถือว่าเป็นหญิง แต่ก็มีปัญหาอีก เนื่องจาก นักกีฬาหญิงโดยกําเนิดบางคนก็มีฮอร์เพศชายสูงแต่โดยกำเนิด ส่งผลให้พวกเธอบางส่วนถูกตัดสิทธิในการแข่งขัน และต้องรับประทานยาลดฮอร์โมน แตใ่นขณะที่หญิงข้ามเพศซึ่งสรีระพัฒนาแบบผ้ชายมาตลอดช่วงที่ผ่านมาโดยไม่ได้รับประทานยากดฮอร์โมนซึ่งทําให้ได้เปรียบผู้หญิงแต่โ่ดยกําเนิดความได้เปรียบดังกล่าวจะยังคงอยู่แม้ว่าจะแปลงเพศและปรับฮอร์โมนให้เหมือนผู้หญิง
ในเรื่องของแนวคิดความเที่ยงธรรม จากหนังสือ Sapiens: A Brief History of Humankind โดย Yuval Noah Harari ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่าความเที่ยงธรรมนั้นเป็นแนวคิดที่จับต้องไม่ได้ที่มนุษย์กําหนดขึ้นมาเองเมื่อ 70000 ปีก่อนเมื่อบรรพบรุษของเราได้เกิดการปฏิวัติด้านกระบวนการคิด Cognitive revolution สิ่งนีไ้ด้มอบความสามารถในการใช้ภาษาแก่มนุษย์และทําให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นตรงที่มนุษย์มีความสามารถในการคิดหรือเชื่อในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ กล่าวได้ว่า การคิดเรื่องความเที่ยงธรรมนั้น สามารถพบได้แคใ่นมนษุย์เท่านั้น สัตว์ชนิดอื่นทุกชนิดไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเลย
ผมจึงขอสรุปบทความว่าในทางวิทยาศาสตร์ได้สรุปไว้ว่า การแข่งขันระหว่างหญิงข้ามเพศและหญิงโดยกําเนิดเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย เนื่องจากลักษณะทางกายภาพที่ได้กล่าวไว้ แตถ้าในเชิงปรัชญาที่แนวคิดเรื่องความเที่ยงธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์กําหนดขึ้นโดยที่สเก่งมีชีวิตอื่นไม่มีแนวคิดนีจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งใดเที่ยงธรรมจริงๆบ้าง
โฆษณา