Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มนุดปอ
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2022 เวลา 03:41 • ครอบครัว & เด็ก
"สื่อสารให้เข้าใจ รู้สึกดี และลดผลกระทบในทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย
I-Message"
ที่มาของบทความนี้เริ่มจากคำถามที่ว่า “เราจะสื่อสารอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจ รู้สึกดี และลดผลกระทบในทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากเราได้พูดออกไป?”
หลาย ๆ ครั้งเราก็เข้าใจสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ แต่ประโยคที่เขาพูดออกมาเนี่ย มันกัดกินบั่นทอนความรู้สึกของเราเหลือเกิน จนต้องแอบคิดในใจเบา ๆ ว่า ‘นี่เขาพูดดี ๆ ไม่เป็นหรือยังไงกันนะ’
เช่น
“เมื่อไหร่จะหางานทำได้ล่ะ คนอื่นเขามีงานมีการทำกันหมดแล้ว”
“มัวแต่เอาเวลาไปทำกิจกรรม ไม่สนใจการเรียน ไม่แปลกใจเลยที่เกรดจะออกมาแย่แบบนี้”
“ดึกดื่นขนาดนี้ออกไปไหนมา ทำไมเพิ่งกลับบ้าน”
…มีแต่ประโยคที่ฟังแล้วจิตใจขุ่นมัวทั้งนั้น พอได้ฟังประโยคเหล่านั้น ในใจเราก็มีคำเถียงสารพัด และก็มีความหงุดหงิดเสียใจอีกนับไม่ถ้วน จนเกิดเป็นความนึกคิดเอะใจย้อนกลับมาว่า เอ้อ แล้วตัวเราล่ะ เราเคยเผลอพูดประโยคแบบนี้ออกไปให้ใครรู้สึกแย่บ้างไหมนะ แล้วก็เกิดเป็นปณิธานในใจว่า “ฉันจะไม่ทำร้ายใครด้วยคำพูดแบบนั้นอีก”
คำถามที่ตามมาคือ
แล้วเราจะพูดยังไงให้ผู้ฟังเข้าใจ รู้สึกดี และลดผลกระทบในทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากเราได้พูดออกไป โดยที่เรายังคงวัตถุประสงค์ที่อยากจะสื่อสารเอาไว้ได้
คำตอบคือ "การใช้ I-Message"
I-Message คือประโยคที่มี ’ผู้พูด’ เป็นประธานของประโยค เช่น
แม่เป็นห่วงที่ลูกกลับบ้านดึก
แม่อยากให้ลูกแบ่งเวลาเป็น
ฉันคิดว่าเธอควรลองพยายามดูนะ
ซึ่งการสื่อสารแบบนี้จะหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบได้มากกว่า ผู้ฟังจะสามารถเข้าใจอารมณ์และความต้องการของผู้พูดได้มากขึ้น และผู้พูดเองก็เข้าใจและแยกแยะอารมณ์ของตนได้ชัดเจนเช่นกัน
โดยปกติแล้วประโยคส่วนใหญ่ที่ทำร้ายจิตใจเรามักจะมาในรูปแบบของ
'You-Message' และ 'He or They Message'
You-Message คือรูปแบบประโยคที่มี ’ผู้ฟัง’ ประธานของประโยค เช่น
เกรดของเธอนี่ไม่ได้เรื่องเลย
เธอส่งงานช้ามาก
เรื่องง่าย ๆ แค่นี้ (เธอ) ก็ทำไม่ได้
ซึ่งการใช้ You-Massage จะส่งผลให้ผู้ฟังรู้สึกถูกตำหนิ รู้สึกเหมือนถูกบังคับ สูญเสียคุณค่าในตนเอง (low self esteem) และก็สร้างความเข้าใจผิดได้ง่าย
He or They Message คือรูปแบบประโยคที่มีบุคคลที่สามเป็นประธานของประโยค เช่น
ดูลูกบ้านนู้นสิเขาเรียนเก่งมากเลย
ใคร ๆ เขาก็มาทำแบบนี้กันทั้งนั้น
ซึ่งรูปแบบประโยคแบบนี้สามารถทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าตนเองถูกเปรียบเทียบได้ง่าย ตีความผิดได้ (ลูกบ้านนู้นเรียนเก่ง แล้วมันยังไงล่ะ จะบอกว่าหนูไม่เก่งใช่ไหมล่ะ) และก็ยังไม่เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดด้วย (เอ~ เขาพูดเฉย ๆ หรือเขาต้องการจะบอกอะไรกับเรากันนะ)
ซึ่งทั้ง You-Message และ He or They Message ล้วนมีข้อเสียอยู่เต็มไปหมด เราลองเปลี่ยนมาสื่อสารด้วย I-Message กันดีกว่า เพื่อการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และยิ่งถ้าเราสื่อสารด้วย I-Message พร้อมกับการบอกความรู้สึกและความต้องการลงไปด้วย ก็จะทำให้การสื่อสารมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
#productivity #psychology #จิตวิทยา #พัฒนาตนเอง #selfdevelopment #selfgrowth #positivity #communication #relationships | 030/2022 (เกวลิน Ep.5)
อ้างอิง
- บทความ : สร้างความสัมพันธ์ด้วยการสื่อสารเชิงบวก |
resourcecenter.thaihealth.or.th
- บทความ : The Power of “I” Statements (Your Magical Mental Health Tool) by Anjali Singh |
calmsage.com
- บทความ : "เพราะทุกคนมีเวทมนต์เป็นคำพูด" by Lil Rab | #Krujitpat #ครูจิตพัฒน์
communication
relationship
massage
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย