13 มี.ค. 2022 เวลา 01:00 • ปรัชญา
ไซอิ๋ว ‘ที่เป็นมากกว่านิทาน’
จั่วหัวแบบนี้คงเกิดอาการงง ว่าทำไมมันเป็นมากกว่านิทาน
ไซอิ๋ว ถือเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับ สามก๊ก ความฝันในหอแดง และซ้องกั๋ง
เมื่อพูดถึงไซอิ๋ว เราก็จะนึกถึง พระถังซำจั๋ง หงอคง ตือโป๊ยก่าย ซั่วเจ๋ง ที่ร่วมเดินด้วยกัน ต่อสู้กับเหล่าปีศาจ เพื่อไปอันเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดีย กลับมายังประเทศจีน
มีทำเป็นทั้งหนัง (The Monkey King) เป็นซีรี่ย์ทันสมัยที่ Workpoint นำมาฉาย มีทำเป็นการ์ตูนด้วย แต่ที่ชอบที่สุดก็เป็นเวอร์ชั่นคลาสสิค ซีรี่ย์ของ TVB เพราะคงความเป็น ‘ไซอิ๋ว’ ได้เป็นอย่างดี ไม่เพี้ยน แบบประหลาดๆ
ในแง่ประวัติศาสตร์ นิยายจีนไซอิ๋ว แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน ส่วน พระถังซำจั๋ง มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีนามว่าพระเสวียนจั้ง ไซอิ๋ว แปลเป็นไทยและตีพิมพ์คร้ังแรก สมัย ร.5
ในแง่ปรัชญา มีผู้รู้มากมาย ได้เล่าถึง แก่นธรรมที่ผู้ประพันธ์ ซ่อนไว้ในเรื่องได้อย่างน่าทึ่งมาก
- มันเป็นการเดินทางภายในจิตของเรา ปีศาจต่างๆที่เจอมันก็คือ กิเลส
1
- พระถังซำจั๋ง คือ ตัวแทนของ ขัตติธรรม ความอดทน บางผู้รู้บอก คือ ศรัทธา
- หงอคง คือ ปัญญา มันจะฉลาดว่องไว แต่ก็ฟุ้งซ่านได้ง่าย จึงต้องมีห่วงรัดหัวซึ่งก็คือ สติ มาค่อยกำกับ บางผู้รู้บอก หงอคง คือ โทสะ พร้อมจะพังทุกอย่างได้เสมอ
- ตือโป๊ยก่าย แปลจีนเป็นไทยคือ ศีล 8
- ซั่วเจ๋ง แปลจีนเป็นไทยคือ ‘ภูเขาทราย’ เป็นตัวแทน สมาธิ
- ศีล สมาธิ ปัญญา มันเกื้อกูลกัน ต้องไปด้วยกัน แล้วมี ขันติ หรือ ศรัทธา ด้วยเพื่อให้สำเร็จ
- พระยูไล คือ การเห็นแจ้ง หรือ พระนิพพาน สุดท้ายทุกๆอย่าง ทุกๆตัวละครก็ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด แล้วก็ได้พบกับพระยูไล ก็คือไปสู่ พระนิพพาน
- เจ้าแม่กวนอิม ที่มาคอยช่วยเวลาลำบากสุดๆ คือ เมตตา
- เมื่อเริ่มเดินทาง ตัวร้ายแรกที่เจอคือ โจร 6 คน ซึ่งหมายถึง อายตนะทั้ง 6 ที่เป็นช่องทางรับรู้ให้เราเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา ถ้าจัดการ ‘โจร’ พวกนี้ไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะได้ต่อได้แน่ๆ
มีโอกาสได้อ่าน ปรัชญา ที่ผู้รู้หลายๆท่านได้ตีความ ขยายความธรรมมะ ในเรื่องไซอิ๋ว แล้วกลับมาดู ตอนจบ ของ TVB รู้สึกมีความสุขจัง 🙂🙏🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา