13 มี.ค. 2022 เวลา 02:41 • การศึกษา
หนูมีหมุดหมายเดียวกันกับหลานชายพี่เลยค่ะ (ขออนุญาตแทนตัวเราเองว่าพี่นะคะ) พี่ปูเส้นทางให้หลานชายดังนี้ค่ะ
นางจบม.ปลายสายวิทย์-คณิต แต่สมัยนางเรียนมัธยมฯ พี่มักจะพานางไปตปท. กับพี่ทุกปี แต่ประเทศที่นางชอบมากคือญี่ปุ่น พี่เลยให้นางไป Summer ที่ญี่ปุ่นทุกปีค่ะ จนเริ่มมีเพื่อนสนิทชาวญี่ปุ่น จากนั้นก็กระตุ้นให้นางวางแผนสอบเข้าคณะอักษร เอกญี่ปุ่น แล้วนางก็สอบติดค่ะ และระหว่างเป็นนิสิต นางสอบได้ทุนจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ทำให้นางตัดสินใจได้ทันทีว่าควรยอม Drop ไว้กับมหาวิทยาลัยที่ไทย เพื่อไปเอาประสบการณ์ภาษาและวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่น ให้สังเกตว่าตอนนี้ นางยังอยู่ระหว่างเส้นทางสู่หมุดหมาย "ด้านการฑูต" อยู่นะคะ
ที่พี่เล่ามาเพื่อจะบอกว่า "นักการฑูต" ควรจะต้องปูพื้นด้านภาษา (ภาษาใดภาษาหนึ่งให้เข้มข้นพอค่ะ เพื่อจะ "ไปได้ไกล") และควรต้องมีความสนใจด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก และชื่นชอบการอยู่ท่ามกลางผู้คนในแต่ละท้องถิ่น แต่หากหนูจะดิ่งไปตรงๆ โดยสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์การฑูตไปเลยก็ได้ และที่ม.ธรรมศาสตร์ ก็มีหลักสูตร BIR ภาคอินเตอร์อยู่นะคะ (หากหนู affordable นะ)
แต่สิ่งที่พี่อยากจะบอกคือ พี่เคยมีเพื่อนร่วมงานเป็นรุ่นพี่จบรัฐศาสตร์การฑูตสิงห์ดำค่ะ จบตรี-โท รวดเดียวเลย แต่ท้ายที่สุดรุ่นพี่คนนี้ปัจจุบันเป็น HR Director ค่ะ และพี่ก็เคยมีลูกน้องที่จบรัฐศาสตร์การฑูตจากต่างประเทศ แต่มาทำงานด้านความสัมพันธ์ลูกค้า Corporate และเคยมีรุ่นพี่จบรัฐศาสตร์การฑูตสิงห์ดำอีกท่านหนึ่งที่ทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ และรุ่นพี่ท่านนี้ ก็เป็นเจ้าของแนวคิดที่มาในการเริ่มปูพื้นฐานให้หลานชายพี่ ตามที่เล่าให้ฟังไว้ข้างต้นค่ะ
พี่มีเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่อยากแนะนำคือ หากหนูปักหมุดอยากจะเป็นนักการฑูตหนูก็แค่เข้าเว็บไซต์ กระทรวงการตปท. แล้วหาอ่านดูคุณสมบัติการสมัครสอบ นักการฑูต ซึ่งเขาจะมีบอกคุณสมบัติไว้ว่า จบคณะใดได้บ้าง ความสามารถทางภาษาใดบ้าง แล้วค่อยถอยกลับมาดูว่า เราจะสามารถเลือกเดินไปตามเส้นทางใดได้บ้าง โดยที่ยังไม่ออกจากหมุดหมายที่ตั้งใจไว้ค่ะ
โฆษณา