13 มี.ค. 2022 เวลา 03:28 • ประวัติศาสตร์
ฤดูกาลสมัยอยุทธยา
ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de la Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุทธยาเมื่อ ค.ศ. 1687 (พ.ศ. 2330) สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับกรุงศรีอยุทธยาไว้จำนวนมาก ทั้งสภาพความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี การเมืองการปกครอง
จิตรกรรมพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และราหู โคจรรอบเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นแกนกลางจักรวาล ก่อให้เกิดฤดูกาลต่างๆ จากสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข 6 ศิลปอยุทธยาปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 23
เรื่องหนึ่งที่เขาบันทึกไว้คือฤดูกาลของไทยในสมัยอยุทธยา โดยระบุว่ามีทั้งหมด 3 ฤดูได้แก่
2
- หน้าหนาว (Na-naôu) คือ ช่วงที่อากาศเย็น ตรงกับเดือนอ้ายและเดือนยี่ คือเดือนธันวาคมและมกราคม ตรงกับฤดูหนาวของฝรั่งเศส ซึ่งลา ลูแบร์กล่าวไว้ว่าในเมืองไทยตอนหนาวที่สุด ก็พอๆ กับกลางฤดูร้อนของฝรั่งเศส พอพ้นช่วงน้ำหลากจากฝนก็ต้องหาร่มเงาจากต้นไม้มาบังแดด
- หน้าร้อน (Na-rôn) คือ ช่วงที่ร้อน ตรงกับเดือน 3 4 5 เทียบกับฤดูใบไม้ผลิ (Printemps) ของฝรั่งเศส
- หน้าร้อนใหญ่ (Na-rôn-yâï) คือ ร้อนมาก กินเวลา 7 เดือนที่เหลือของทั้งปี ลา ลูแบร์กล่าวว่าเทียบเท่ากับฤดูใบไม้ร่วง (Automme) ซึ่งคนไทยไม่รู้จัก
เวลาปัจจุบันนี้เดือนพฤษภาคม คือเดือน 6 ตรงกับช่วงหน้าร้อนใหญ่ในอดีต
แต่ทุกวันนี้ คำว่า “หน้าร้อนใหญ่” คงไม่เพียงพอจะบรรยายสภาพความร้อนในปัจจุบันได้ครับ
----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- ลาลูแบร์, ซิมอน เดอ. (2548). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ ผู้ดูแลเพจขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลที่เผยแพร่ในเพจไปแก้ไข คัดลอก ดัดแปลง ทำซ้ำ เผยแพร่ต่อ และห้ามนำไปแสวงหาผลกำไรทางพาณิชย์โดยเด็ดขาด หากมีความประสงค์จะขอบทความของเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ไปเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ในทุกกรณี ยกเว้นแต่การแชร์ (share) ในเฟสบุ๊คที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
โฆษณา