Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมื่อฉันเป็นพยาบาล
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2022 เวลา 12:57 • สุขภาพ
MIS-C (Multisystem Inflamatory Syndrome in children) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “ มิสซี” นั่นเองค่ะ
ช่วงหลังๆมานี้ ดูเหมือนเจ้าโควิดฯจะชอบมาทักทายเด็กๆกันเยอะ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าเด็กยังมีภูมิต้านทานน้อยและยังไม่ได้รับวัคซีน ทำให้รับเชื้อได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่
MIS-C ไม่ใช่โรคน่ะ แต่เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นในเด็ก
ที่เคยติดเชื้อโควิดฯมาก่อน มักจะเจอหลังหายจาก
โควิดฯแล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์ พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ที่พบบ่อย คือ อายุมากว่า 5 ปี ส่วนใหญ่แล้วเด็กที่มาด้วยอาการMIS-C นั้น จะพบได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการหนัก(ต้องเข้าICU)
เป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบในหลายๆระบบของร่างกาย เอ๊ะ.. งงใช่มั้ยค่ะ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังน่ะ
โดยปกติแล้ว เมื่อร่างกายหรืออวัยวะต่างๆมีการอักเสบเกิดขึ้น ก็จะแสดงอาการเบื้องต้น ก็คือไข้ ตัวร้อน แต่ในกลุ่มอาการของMIS-C นั้น ไม่ใช่แค่ไข้อย่างเดียวน่ะสิ ยังมีอีกหลายๆอวัยวะภายในที่เกิดการอักเสบร่วมด้วย จึงมีอาการอื่นร่วมกับอาการไข้สูง..
อวัยวะอื่นๆที่อาจมีการอักเสบร่วมด้วย ที่ว่านี้แทบจะทุกระบบในร่างกายก็ว่าได้ แต่ที่พบบ่อยๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกต และรีบพามาพบแพทย์ทันที คือ..
1.ระบบทางเดินอาหาร : เด็กจะมีอาการถ่ายเหลว อาเจียน ปวดท้อง
2.ผิวหนัง : ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ(ตาแดง) ริมฝีปากแห้ง/แดง
3.ระบบประสาท : ชัก ปวดศรีษะ ซึม
4.ระบบกระดูก : ปวดข้อ ปวดเมื่อย
5.ระบบทางเดินหายใจ : หอบเหนื่อย
6.ระบบเลือด : เลือดออกง่าย
ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็น MIS-C นั้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ การตรวจร่างกายและผลเลือด ร่วมกับผลตรวจอื่นๆด้วย เช่น ผลตรวจคลื่นหัวใจ ผลเอ็กซเรย์ปอด
หลังจากที่แพทย์ได้วินิจฉัยว่าเป็น MIS-C แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป โดยการให้ยาต้านการอักเสบและรักษาตามอาการ
ในช่วงที่รักษา เด็กน้อยอาจจะต้องถูกเจาะเลือดบ่อยเพื่อติดตามและประเมินอาการ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจนิดนึงน๊า..
เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาแล้ว เด็กที่ตอบสนองต่อยาได้ดีก็สามารถหายจากภาวะMIS-Cนี้ได้ สามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตตามวัยได้ปกติ แต่ยังคงต้องกินยาที่แพทย์สั่ง และมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่องด้วยน๊า
อย่างไรก็ตาม COVID-19ในเด็ก และภาวะแทรกซ้อนต่างๆก็ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพและสุขภาพที่ดีของเด็กๆทุกคน
** ให้พื้นที่ตรงนี้เป็นสเมือนพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อัพเดตข้อมูลแก่ผู้ที่แวะเข้ามาอ่านทุกคน :)
บันทึก
3
2
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย