15 มี.ค. 2022 เวลา 10:51 • ประวัติศาสตร์
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 5
1
“การอาบน้ำ” ของคนอยุธยา ชาวบ้านกับชนชั้นสูงมีวิธีต่างกัน
1
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
ต่อเนื่องจากตอนที่ 4 “เหล้า” “ร้านเหล้า” พิธีกรรมหรือการเข้าสังคมในสมัยอยุธยา ผมได้แปะลิ้งค์ไว้ที่ด้านล่างของบทความนี้ก่อนเชิงอรรถอ้างอิง สามารถเข้าไปอ่านย้อนหลังได้ครับ มาเริ่มเนื้อหาตอนที่ 5 ต่อได้เลยครับ
  • บันทึกของ ลา ลูแบร์ ตอนหนึ่งระบุไว้ว่า
...
ชาวสยามนุ่งห่มน้อย และอบร่ำร่างกายด้วยสุคนธรส หรือเครื่องหอม ริมฝีปากก็สีขี้ผึ้งหอม อาบน้ำวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง ถือเป็นความสุภาพเรียบร้อยว่า จะไปเยี่ยมผู้ใดในรายที่สำคัญ ต้องอาบน้ำเสียก่อน และจะประแป้งให้ขาวพร้อมที่ยอดอก แสดงว่าได้อาบน้ำมาแล้ว
...
วิธีอาบน้ำสองอย่าง วิธีหนึ่งลงไปแช่น้ำ อีกวิธีหนึ่งใช้ขันตักน้ำรดร่างกาย
...
การรักษาความสะอาดฟันและผม ชาวสยามเอาใจใส่รักษาฟันมาก แม้จะย้อมดำแล้วก็ตาม เขาสระผมด้วยน้ำ และใส่น้ำมันจันทน์ ทำนองเดียวกับชาวสเปน แล้วไม่ผัดแป้งเลย ชาวสยามหวีผม หวีมาจากประเทศจีน ชาวสยามถอนเคราซึ่งมีอยู่หรอมแหรม แต่ไม่ทำเล็บเลย เพียงแต่รักษาให้สะอาด
ซิมง เดอ ลา ลูแบร์
2
...
จากบันทึกเหตุการณ์ในสมัยอยุธยาข้างต้นนี้ ทำให้พอเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการอาบน้ำของคนอยุธยาได้ว่า
• คนสมัยอยุธยาอาบน้ำวันละหลายรอบ ด้วยที่บ้านเราอยู่ในเขตอากาศร้อน ประกอบกับคนสมัยนั้นนิยมปลูกบ้านเรือนอยู่ริมน้ำด้วย ชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ
2
• การอาบน้ำแต่งตัวให้ดูสะอาดเรียบร้อย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเคารพเวลาไปเยี่ยมผู้อื่น
3
• คนอยุธยาชอบประแป้งเพื่อให้รู้ว่าอาบน้ำแล้ว
4
• คนอยุธยาสมัยนั้นให้ความใส่ใจในการดูแลความสะอาดร่างกายเป็นอย่างดี มีเครื่องประทินผิว ใช้สมุนไพรท้องถิ่นในการบำรุงดูแลที่ผิวภายนอก
3
  • วิธีการอาบน้ำของชาวบ้านอยุธยาทั่วไป
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดสุทัศนเทพวราราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
...
ตามที่ได้มีบันทึกของ ลา ลูแบร์ ซึ่งกล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านทั่วไปมีวิธีอาบน้ำ คือ
1
  • แช่ลงในน้ำเลยเพื่อทำความสะอาด ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวหรือแหล่งน้ำสาธารณะ ลำคลอง แม่น้ำ ก็ตามวิถีการใช้ชีวิตของคนสมัยนั้นที่ชอบอาศัยอยู่ริมน้ำ จึงอาจเป็นที่มาของคำว่า “อาบน้ำอาบท่า”
2
  • วิธีการอาบน้ำของชนชั้นสูง
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
...
  • สำหรับเชื้อพระวงศ์ ขุนนางมียศ เจ้านาย หรือเศรษฐี จะมีบ่าวไพร่คอยตักน้ำหาบเข้ามาเก็บใส่ในภาชนะพวกตุ่มหรือโอ่งภายในเรือนหรือห้องอาบน้ำส่วนตัว แล้วมีอุปกรณ์คือ “ขัน” สำหรับตักน้ำขึ้นมารดร่างกาย จากบันทึกทำให้เราเห็นว่าสมัยนั้นมีการใช้ขันแล้ว ซึ่งทำจากวัสดุธรรมชาติแน่นอน (ไม่ใช่พลาสติกเหมือนสมัยนี้)
4
...
  • สมัยอยุธยามีการใช้ฝักบัวแล้ว
4
มีปรากฏในหนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผน (เรื่องราวเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา) ตอนพลายแก้วชวนนางพิมอาบน้ำ ตอนหนึ่งว่า
...
“พลายแก้วลุกแล้วชวนน้องรัก ร้อนนักไปอาบน้ำบ้างเถิดหนอ
นางพิมพ์ฟังว่าไม่รารอ จูงข้อมือเจ้าพลายนั้นเดินมา
ย่องเหยียบพอดังเกรียบกรอบลั่น ศรีประจันทักไปนั่นใครหวา
เจ้าพลายสะกิดพิมพ์ให้เจรจา ฉันเองคะออกมาจะอาบน้ำ
ครั้นถึงอ่างวางอยู่ที่นอกชาน สองสำราญขึ้นนั่งบนเตียงต่ำ
จึงไขน้ำจากบังตะกั่วทำ น้ำก็พร่ำพรายพรูดูกระเด็น”
3
...
  • สำหรับคนชั้นสูงมีห้องอาบน้ำหรือห้องสรงน้ำนานมาแล้ว และมีการใช้ฝักบัวหรือที่เรียกว่า “สุหร่าย” มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องที่เห็นได้ชัดคือขุนช้างขุนแผน
5
  • สบู่ เริ่มมีใช้แล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา
3
...
สมัยอยุธยาเริ่มมีการใช้สบู่ชำระล้างร่างกายตอนอาบน้ำแล้ว โดยได้รับอารยธรรมมาจากชาวโปรตุเกส หลักฐานที่สามารถยืนยันได้ชัดเจนคือ การค้นพบบ่อหมักสบู่ เป็นบ่อขนาดครึ่งเมตร ก้นลึกคล้ายกระทะขนาดใหญ่ อยู่ในหมู่บ้านโปรตุเกส
2
บ่อหมักสบู่ ที่ค้นพบในหมู่บ้านโปรตุเกส จ.พระนครศรีอยุธยา เครดิตภาพ: Pinterest -https://www.pinterest.com/pin/596586281867038505/
...
  • “สบู่” ในภาษาไทย เพี้ยนมาจากคำว่า “sabão”
7
[อ้างอิง: รายการชีวิตไม่สิ้นหวัง เล่าเรื่องชุมชนกุฎีจีน ตอนสอง ออกอากาศ 11 ส.ค. 2562 – นาทีที่ 5:14 ของคลิปนี้ https://www.youtube.com/watch?v=_ylY_6yH7j4]
1
...
โดยชาวอยุธยาสมัยก่อนต้องซื้อสบู่จากหมู่บ้านโปรตุเกสหรือไม่ก็ซื้อสบู่นำเข้าจากเรือสินค้าที่เดินทางกลับมาจากยุโรป
1
  • เครื่องประทินผิว เครื่องสำอาง ในสมัยอยุธยา
วรรณคดีสมัยอยุธยาบันทึกว่าคนไทยนิยมใช้ขมิ้นขัดถูทาผิวเวลาอาบน้ำหรือหลังอาบน้ำ ดังที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ทรงเล่าถึงการใช้ขมิ้นของสาวชาววังไว้ใน กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง ตอนหนึ่งว่า
...
“ลางนางอาบน้ำท่า ทาขมิ้นเหลืองพึงชม
ทาแป้งแกล้งหวีผม ผัดหน้านวลยวนใจชาย”
1
...
และวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนนางพิมพิลาไลยแต่งตัวไปงานเทศน์มหาชาติที่วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี ได้มีการบรรยายว่า
“อาบน้ำผลัดผ้าด้วยฉับพลัน จึงเอาขมิ้นมารินทา ลูบทั่วกายาขมีขมัน”
...
  • ขมิ้น จึงเป็นเครื่องประทินผิวสำคัญของคนสมัยอยุธยาที่ใช้กัน
3
...
  • สำหรับชนชั้นสูงในสมัยอยุธยาแล้ว การประทินโฉมและผิว ด้วยเครื่องสำอางหรือเครื่องหอมต่างๆหลากหลายขนาน เครื่องน้ำหอมประเภทต่างๆ นี้เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ น้ำกุหลาบ น้ำอบฝรั่ง (Eau de Cologne) เป็นต้น
2
จบแล้ว ตอนที่ 5
ติดตามได้ในตอนต่อไป…
...
ติดตามตอนที่ 4 จากด้านล่างนี้
  • แหล่งที่มาอ้างอิง:
1
เดอ ลา ลูแบร์, จดหมายเหตุลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร
รายการชีวิตไม่สิ้นหวัง เล่าเรื่องชุมชนกุฎีจีน ตอนสอง ออกอากาศ 11 ส.ค. 2562 - https://www.youtube.com/watch?v=_ylY_6yH7j4
มติชนรายสัปดาห์ ทำไมนางในวรรณคดีส่วนใหญ่ถึงมีผิวเหลือง? - https://www.matichonweekly.com/column/article_186308
โฆษณา