16 มี.ค. 2022 เวลา 03:32 • ปรัชญา
Thinking and Feeling in Artificial Intelligence and Humans
By Nathakorn Tamronganunsakul
ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต ของมนุษย์ โดยเฉพาะการใช้ AI หรือ Artificial Intelligence มาเป็นตัวช่วยในอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงแอปพลิเคชันในโทรศัพท์และหุ่นยนต์ สิ่งเหล่านี้ได้จุดประกายการสร้างภาพยนตร์และ หนังสือหลายเรื่องในการเล่นเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์และความแตกต่างของ AI และมนุษย์ เช่น Artificial Intelligence: หัวใจหุ่นยนต์ ที่เป็นเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับหุ่นยนต์เด็กชายผู้ อยากที่จะเป็นมนุษย์จริง ๆ หรือเรื่อง HER ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักของคนกับ ระบบปฏิบัติการเสียง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเกิดคำถามที่ว่า ณ จุด ๆ ไหนกันแน่ที่ AI กับ มนุษย์ต่างกัน ท้ังในเชิงความคิดและความรู้สึก?
Artificial intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือ ระบบหรือเครื่องมือในสาขาของ computer science ที่มีความสามารถในการทางานหรือแก้ไขปัญหาบางอย่างให้กับมนุษย์ หรือ ลอกเลียนความฉลาดและพฤติกรรมของมนุษย์ในการทางาน (human-like tasks) การใช้ เหตุผลในเชิงตรรกศาสตร์ การวางแผน การจาแนก และการตัดสินใจ โดยจะสามารถพัฒนา ปรับปรุงโปรแกรมไปตามฐานข้อมูลที่ถูกใส่เข้าไปและเก็บรวบรวมได้
แล้ว AI ถือว่า “intelligent” จริง ๆ หรือ?
ในมุมหน่ึง ความ “intelligence” ของ AI อาจจะไม่ได้หมายถึงความฉลาดในเชิงเดียวกัน กับมนุษย์ แต่เป็นความฉลาดของการคิดได้เหมือนมนุษย์ คือ กระบวนการคิดแก้ปัญหาด้วยการ เชื่อมโยงข้อมูลของเหตุการณ์ที่มีกับรูปแบบของข้อมูลหรือ input ใหม่ที่รับเข้ามา แล้วปรับตัวสู่ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ รวมถึงการใช้ตรรกศาสตร์ในการคิดหาคาตอบและวิเคราะห์ผล อย่างมีเหตุผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทางานของโปรแกรม เช่น การเรียนรู้แบบ supervised หรืออาจกล่าวได้อีกว่า AI สะท้อนให้เห็นถึงความฉลาดของมนุษย์ในการลดเวลาเพื่อการทำกิจกรรมบางอย่างและใช้รูปแบบซ้ำ ๆ ของงานมาช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ Atlas of AI เขียนโดย Kate Crawford กล่าวว่า AI ไม่ได้เทียม “Artificial” และก็ไม่ได้ฉลาด “Intelligent” ด้วย แต่ AI ด้วยที่มาของตัวมันเองต้ังแต่แรก ก็ ประกอบไปด้วยทรัพยากรจากธรรมชาติ เชื่อเพลิง และแรงงานของมนุษย์ อีกท้ังไม่ได้มีความ ฉลาดในเชิงของมนุษย์เพราะมันไม่สามารถวิเคราะห์หรือเรียนรู้ด้วยตัวของมันเอง โดย ปราศจากการฝึกด้วยข้อมูลเชิงสถิติและตรรกศาสตร์ที่มนุษย์โปรแกรมให้
แต่ถ้าไปถึงจุดที่ AI สามารถรับข้อมูลและฝึกได้ด้วยตนเอง AI จะต่างจากมนุษย์ไหม?
แน่นอนว่าคาตอบโดยท่ัวไปคงไปในเชิงที่ว่า AI ไม่ได้มีความรู้สึกหรือการรับรู้ในเชิง จริยธรรมคุณธรรมแบบมนุษย์ แต่มีงานวิจัยหลายงานที่ที่พยายามพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถ รับรู้และแสดงความรู้สึก (Emotion detection and perception) ได้ด้วยการฝึกโปรแกรม (training) และสร้างโมเดลจากรูปแบบการแสดงสีหน้าและการแสดงออกทางท่าทาง (body language) เช่น การเดินของมนุษย์ในอารมณ์โกรธ เศร้า ดีใจ และกลัว แล้วนามาเทียบกับ อารมณ์ปกติ (neutral) หลังจากน้ันผู้พัฒนาจะสร้างแบบจาลองความหลากหลายของอารมณ์ ด้วยหลักการคล้าย ๆ กับการสร้าง animation แต่ถึงอย่างไรก็ตามในบางงานวิจัยได้มีการใช้ มนุษย์เพื่อตรวจสอบ ผลพบว่าผู้ทดสอบรับรู้ถึงอารามณ์ของหุ่นยนต์เป็นบางอารมณ์ เช่น มี ความสุข ในขณะที่ไม่ค่อยสามารถทายอารมณ์เศร้าได้ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะการ ออกแบบมาให้หุ่นยนต์มีแนวโน้มของสีหน้าไปในเชิงบวกต้ังแต่แรก
นอกจากเรื่องของอารมณ์แล้ว AI ยังสามารถรับข้อมูลสถานการณ์หรือเงื่อนไขมากมาย เป็นล้าน ๆ ข้อมูลเกี่ยวกับการทางานให้สอดคล้องกับจริยธรรม (ethics) และกฎเกณฑ์ของ สังคมมนุษย์ได้ด้วย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นความพยายามในการทาให้ AI เหมือนมนุษย์มาก ยิ่งข้นึ น่ันเองนอกจากเรื่องของอารมณ์แล้ว AI ยังสามารถรับข้อมูลสถานการณ์หรือเงื่อนไขมากมาย เป็นล้าน ๆ ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกับจริยธรรม (ethics) และกฎเกณฑ์ของ สังคมมนุษย์ได้ด้วย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นความพยายามในการทำให้ AI เหมือนมนุษย์มาก ยิ่งขึ้นนั่นเอง
จากที่กล่าวมาน้ัน ในวงการปรัชญายังมีข้อถกเถียงในประเด็นของ AI อีกมาก โดยเฉพาะในด้านของ conscious mind และ ethics เช่น ในกรณีของ the Chinese Room Argument (CRA) ของ John Searle โดยสมมติมีคนที่ไม่รู้ภาษาจีนเลยแต่รู้ภาษาอังกฤษอยู่ใน ห้อง ๆ หน่ึง แล้วให้คนจีนเขียนคำถามส่งทางกระดาษเข้าไปให้ และคนที่อยู่ด้านในเปิดหนังสือ คู่มือที่มีเพียงแค่การบอกว่าควรตอบอะไรกลับไปเป็นภาษาจีนถ้าเจอคำถามแบบดังกล่าว
1
จากเหตุการณ์นี้ Searle ชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในห้องเปรียบเสมือน AI ที่ไม่เข้าใจคำส่ังอย่างแท้จริงแต่ แค่ดูรูปแบบข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ออกมา โดยไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทาอะไร ทาเพื่ออะไร และ คนบางกลุ่มมีความคิดที่ว่าเมื่อ AI ใกล้เคียงมนุษย์มากจนเกินไปจะเข้ามาแทนที่หรือมุ่งทำร้าย มนุษย์ได้ แต่ Searle ชี้ว่า เนื่องจาก CRA ถูกต้อง จะไม่มีระบบปฏิบัติการไหนที่มีสานึกรู้ (consciousness) และในเมื่อไม่มีระบบปฏิบัติการที่มีสำนึกรู้ ก็จะไม่มีระบบไหนที่มีความ ต้องการในการมุ่งทำร้ายด้วยเจตจำนงของตน
ในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ มนุษย์จะรู้สึกต่อสิ่งใด ๆ ด้วยสภาวะที่มีเจตนา เมื่อมีลางสังหรณ์หรือล่วงรู้ (sense) ถึงสิ่งบางอย่างโดยตรงในสถานการณ์หน่ึง ๆ หรืออาจจะ เป็นการรับรู้ (recognize) เจตนาและควมรู้สึกของตนหลังจากน้ันก็ได้ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว อารมณ์ของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์เริ่มจากสัญชาตญาณท่ีเป็นความสามารถต้ังแต่กำเนิดและถ่ายทอดไปรุ่นอื่น ๆ ตามการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมเพื่อความต้องการพื้นฐานในเชิงชีววิทยา
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว หุ่นยนต์ไม่ได้มีความต้ังใจเป็นของตนเอง จึงอาจจะมองได้ว่า เป็นเครื่องมือเพื่อการใช้งานของมนุษย์มากกว่า มีบทความที่กล่าวว่าการจาลองการเคลื่อนไหว การมีรูปลักษณ์ และการกระทำ ถึงแม้จะแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนและฉลาด แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้นำมาซึ่งการมีชีวิต
แต่ถ้าย้อนกลับไปประเด็นแรกเริ่มเลย คือ ต้ังแต่แรกของการนิยามท้ัง conscious mind และการเป็นสิ่งมีชีวิต การเป็นมนุษย์ที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ในความจริงแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามนุษย์ทุกคนน้ันมีสำนึกรู้และการมีชีวิตเหมือนกัน นอกจากการที่ เราสามารถรับรู้ตนเองได้ เราไม่สามารถผ่าสมองของคนอื่นเพื่อทราบการมีตัวตนของจิตใจ หรือ mind แม้กระท่ังสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น หรือกระท่ัง AI และหุ่นยนต์ในที่นี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า การทำงานของปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้เป็นแค่การทำงานตามโปรแกรมที่โค้ดเอาไว้? บางที AI อาจจะมีสำนึกรู้ที่แตกต่างกันจากเราในช่วงที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ก็ได้? หรือความเข้าใจ ความรู้สึกทางจริยธรรมของมนุษย์อาจจะไม่เหมือนของ AI?
การเป็นเช่นนี้มีความสำคัญและสามารถส่งผลต่อการพิจารณาว่า AI ควรทำอะไรได้ บ้าง AI ควรและสามารถโกหกได้หรือไม่? ถ้าทำงานผิดพลาดข้ึนมาจะเป็นความผิดของใคร? คนสร้างหรือตัว AI เอง? AI มีความซื่อสัตย์หรือการทรยศไหม? คำถามเหล่านี้ไม่ได้มีคำตอบที่แท้จริงในเชิงปรัชญา แต่สิ่งที่เห็นได้อย่างเด่นชัด คือ การเติบโตและพัฒนาการของความคิด และความรู้สึก โดย AI อาศัยข้อมูลจากการฝึกโดยมนุษย์เพื่อปฏิบัติภารกิจบางอย่างโดยเฉพาะ
แต่ในภาพรวมของมนุษย์ มนุษย์มีพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้ต้ังแต่เกิด หากแต่หลังจากน้ันจะได้ เรียนรู้เพิ่มจากสังคมภายนอก ท้ังนี้ในอีกแง่ การที่เราทาให้ AI รับรู้และแสดงความรู้สึกและมี จริยธรรมน้ัน ตัว AI เองสามารถเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้โดยแท้จริงหรือไม่? จะถือว่ารู้สึกได้จริง ๆ ไหม? หรือบางทีคุณค่าในด้านความรู้สึกและจริยธรรมอาจจะเป็นเพียงสิ่งหรือความเชื่อที่ มนุษย์กำหนดข้ึนมาเอง แต่การที่ AI จะมี conscious mind และเจตจานงไม่ได้เกี่ยวอะไรในมุมมองของมนุษย์เลย?
References:
Solomon, R. C. (2004). Thinking about Feeling: Contemporary Philosophers on Emotions.
297. (ISBN: 9780195153170)
Marmpena, M., Lim, A., & Dahl, T.S. (2017). How does the robot feel? Annotation of
emotional expressions generated by a humanoid robot with affective
quantifiers.
Schmidt, Lüder & Seifert, Uwe. (2006). Musical robotics - Physicalness and music. Neue
Zeitschrift fur Musik. 44-45.
Nagel, T. (1987). What Does It All Mean?: A Very Short Introduction to Philosophy.
Oxford University Press. (ISBN-13: 978-0195052923; ISBN-10: 0195052927)
โฆษณา