Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FutureTales LAB by MQDC
•
ติดตาม
16 มี.ค. 2022 เวลา 11:00 • สุขภาพ
ชัดเจนว่าชีวิตการทำงานในปัจจุบันช่างเต็มไปด้วยสภาวะความตึงเครียดต่างๆ อยู่มากมาย ยิ่งการทำงานแบบที่เรียกว่า Work ไร้ Balance หรือทำงานอย่างหักโหม ก็อาจจะนำมาซึ่งสุขภาพที่เลวร้ายกว่าที่คิด
1
ความเครียดจากการทำงาน แม้จะมีปริมาณน้อยนิดแต่หากสะสมต่อเนื่องยาวนาน นักจิตวิทยาก็ยังบ่งชี้ว่าสิ่งนี้อาจทำให้เกิดโรคทางจิตที่ทำให้การบริโภคมีความผิดปกติ (Eating disorders)ได้ เพราะภาวะความเครียดที่มีอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลรบกวนต่อการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ และสารสื่อประสาทเซโรโทนินที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเซโรโทนินนี้ปกติจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ทำให้เกิดความอยากอาหาร
4
หากเซโรโทนินทำงานมากเกินไป อาจทำให้เรามีความกระวนกระวาย เกิดความต้องการในการควบคุมพฤติกรรมตนเองอย่างเข้มงวด รู้สึกคลื่นไส้ ไม่อยากรับประทานอาหาร นำไปสู่การป่วยเป็นโรคกลุ่มอะนอเร็กเซีย ทีมีภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รู้สึกอยากออกกำลังกายมากๆ เมื่อออกกำลังกายอย่างหักโหมแล้ว จะมีความพยายามในการลดปริมาณอาหาร ไปจนถึงปฏิเสธความหิว หลีกเลี่ยงอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากที่ผู้ป่วยอะนอเร็กเซียมีรูปร่างที่ผอมบางและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นคนคลั่งผอมหรือยึดติดกับรูปร่างจนมากเกินไป ทั้งที่ในความเป็นจริงภาวะอะนอเร็กเซียอาจไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับความอยากสวย แต่เกิดจากการติดกับดักอยู่ในความเครียดแบบต่อเนื่องในระยะเวลายาวนานมากกว่านั่นเอง
3
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต
- ในยุคที่การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน บริษัทที่ให้ความใส่ใจต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงานจะสามารถการรักษาและดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพให้อยู่ในองค์กรได้อย่างประสบความสำเร็จ
- คอร์สบำบัดความเครียดอาจกลายเป็นสวัสดิการที่จำเป็นขององค์กรเนื่องจากสภาวะเครียดสามารถส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและความสามารถในการทำงานของพนักงานได้
- ในอนาคตการทำงานภายใต้ภาวะเครียดเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับการก้าวเข้ามาของ Metaverse อาจทำให้รูปแบบของการดูแลรักษาสุขภาพจิตของตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
อ้างอิงข้อมูลจาก: Rantala, M. J. et al. (2019) Eating disorders: An evolutionary psychoneuroimmunological approach. Frontiers in psychology. 102200–2200
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก
www.futuretaleslab.com
และ
https://www.blockdit.com/pages/6184ec3b07f0660cad381cf9
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #FutureofLiving #Anorexsia #WorkLifeBalance #MQDC
worklifebalance
การทำงาน
สุขภาพ
10 บันทึก
6
1
2
10
6
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย