Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KVIS Philosophy club
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2022 เวลา 03:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Philosophy of technology in our changing world
By Manasanun Hongchukiat
ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมาในโลกแห่งความเป็นจริงที่เราทุกคนได้อาศัยอยู่ มีผู้คนรวมทั้งนักปรัชญามากมายที่ได้ทำการถกเถียงและตั้งข้อสรุปเกี่ยวกับเทคโนโลยีในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทความนี้ ก่อนที่จะกล่าวเกี่ยวกับประเด็นและข้อถกเถียงต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยี สิ่งแรกที่เราควรที่จะรู้คือนิยามของคำว่า “เทคโนโลยี”
คำว่าเทคโนโลยี หรือ Technology มีรากศัพท์มาจากคำ 2 คำ ได้แก่ Techne และ Logia
คำว่า Techne มาจากนิยามของ Aristotle ซึ่งแบ่งความรู้เป็น 2 ประเภท “Techne” คือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโลก การจัดการกับวัตถุและโลกธรรมชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับ "Episteme” คือความรู้บริสุทธิ์ที่เข้าถึงด้วยปัญญาไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุ ความรู้ที่เป็นนามธรรมเช่น คณิตศาสตร์ ทฤษฎีวิทยาศาสตร์
1
และ “Logia” (ในทุกวันนี้ได้กลายเป็น “Logy”) เป็นคำที่ใช้บ่งบอกสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น biology, psychology เป็นต้น ดังนั้น คำว่า Technology จึงมีความหมายว่า ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโลกและการจัดการกับวัตถุโดยใช้ความรู้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนในโลกของเรามากขึ้น จึงทำให้ผู้คนมีแนวคิดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการเข้ามาของเทคโนโลยี 2 แบบ
แนวคิดแรกได้แก่ Technological Utopian กล่าวว่า เทคโนโลยีทําให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ Technological Dystopian เป็นแนวคิดที่บอกว่าเทคโนโลยีไม่ได้ทําให้มนุษย์ดีขึ้นเพราะมนุษย์เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและมนุษย์ไม่ได้ดีทั้งหมด จึงทำให้เทคโนโลยีไม่ได้ดีทั้งหมดตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนสวนทางไปกับความเจริญทางเทคโนโลยี หรือที่สามารถเรียกได้ว่า Cyberpunk
1
เป็นความจริงที่ว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีนั้นทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อมูลมากมายของเราที่หลุดรอดออกไปเช่นเดียวกัน สิ่งที่สำคัญในทางปรัชญาคือ การตระหนักว่าเราสามารถควบคุมเทคโนโลยีได้อย่างไรบ้างโดยใช้หลักการทางปรัชญา
หลักการนั้นคือ “Anonymity” หมายถึง การปกปิดตัวตนหรือความเป็นนิรนาม การปกปิดตัวตนมีความสัมพันธ์กับความเป็นส่วนตัว(privacy) เพราะว่า internet เป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อกันกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ รวมทั้งผู้ใช้คนอื่น ๆ
หากมองในมุมมองหนึ่ง การปกปิดตัวตนคือการควบคุมข้อมูลส่วนตัว การสื่อสารผ่านสื่อโดยเฉพาะเทคโนโลยีเป็นช่องทางที่ทําให้คนไม่จําเป็นต้องแสดงตัวตนทั้งหมด การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถใช้ชื่อปลอมหรือภาพเสมือนทดแทนได้ ซึ่งทําให้การสื่อสารผ่านสื่อทางเทคโนโลยีแตกต่างจากการสื่อสารกันแบบทั่วไป
หลักการ Anonymity เพื่อรักษา privacy ของผู้ใช้เทคโนโลยี
นอกจากนี้ ยังมีข้อถกเถียงกับในเรื่องของความเป็นกลางของเทคโนโลยี ซึ่งมี 3 แนวคิดหลัก ๆ จากนักปรัชญา 3 คน
นักปรัชญาคนหนึ่งชื่อว่า Heidegger มีแนวคิดว่า ตัวเทคโนโลยีไม่มีวันเป็นกลางเพราะเนื้อแท้ (สารัตถะ) ของมันก็คือเป้าหมายที่ถูกกําหนดไว้แต่แรก การใช้จะต้องเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งเทคโนโลยีไม่ว่าจะถูกกําหนดโดยเป้าหมายหรือไม่ แต่การใช้เทคโนโลยีส่งผลกระทบกับสังคมเสมอ และ ความเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบทางสังคมทําให้เราต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีในสังคมอย่างเลี่ยงไม่ได้
สําหรับ Heidegger เทคโนโลยี “สมัยใหม่” มีพื้นฐานมาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่มองว่าโลกมีกฏเกณฑ์ตายตัวและโลกธรรมชาติที่เราอาศัยอยู่ เป็นโลกวัตถุที่เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นจากความเข้าใจโลกธรรมชาติว่าเป็นโลกวัตถุที่มีกลไก ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากโลกธรรมชาติและความรู้วิทยาศาสตร์ ทำให้ Heidegger มองว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีอันตรายจากการมองโลกเป็นเพียงแหล่งทรัพยากร ที่เราสามารถคิดค้นสิ่งต่างๆเพื่อไขกลไกและหาประโยชน์จากโลกใบนี้ได้
Don lhde เป็นนักคิดที่ต่อเนื่องมาจากความคิดแบบ Heidegger เชื่อว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะ สามารถกําหนดความเข้าใจ หรือกําหนดมุมมองที่เรามีต่อโลกได้
แต่ Ihde มองว่า เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันโดยแยกจากกันไม่ได้ เทคโนโลยีเกิดขึ้นเพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ในทางกลับกัน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้นด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องโทรทัศน์ โดยเทคโนโลยีในอุปกรณ์เหล่านี้ก็เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้
Andrew Feenberg เป็นนักปรัชญาที่มองว่า เป้าหมายเทคโนโลยีไม่ได้อยู่ในตัวเทคโนโลยีเอง สังคมต่างหากที่เป็นตัวกําหนดเทคโนโลยี โดยมีแนวคิดแบบ Constructivism ต่างจากสารัตถะนิยมแบบ Heidegger คือ สังคมสามารถกําหนดทิศทางและเป้าหมายของเทคโนโลยีได้ด้วยการกําหนดทิศทางโดยเสียงของผู้คน
กล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือ ประชาธิปไตยของเทคโนโลยีต่างจากประชาธิปไตยในการเมืองตรงที่ความสัมพันธ์เชิงอํานาจในเรื่องเทคโนโลยีเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับสังคม(ถ้าเทียบกับประชาธิปไตยในการเมืองจะเป็นเรื่องของรัฐกับประชาชน)
ความสําคัญของแนวคิดทั้งแบบ Heidegger, Idhe หรือ Feenberg ก็คือเราจะจัดการหรือออกแบบ เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในสังคมอย่างไร ใครได้หรือเสียประโยชน์ซึ่งการจัดการเรื่องนี้ รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐเป็นเพียงกลไกที่จะจัดการว่า ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจะได้รับการตอบรับจากสังคมหรือไม่ และเทคโนโลยีจะเป็นธรรมกับทุกคนในสังคมอย่างไร
แนวคิดต่างๆ 3 แบบ จาก Heidegger, Idhe และ Feenberg เกี่ยวกับเทคโนโลยี
3 บันทึก
20
7
3
20
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย