Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
N.namSnap
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2022 เวลา 12:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"การประเมินความเจ็บปวด"
เคยสงสัยกันไหมครับว่า ความเจ็บปวด ของคนเรามันสามารถวัดได้หรือเปล่า ? วันนี้ผมจะมาแชร์ให้ฟังครับ
ภาพโดย N.namSnap
ตอนที่เราเด็กๆ ที่อาจเคยหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นของตัวเราไม่มากก็น้อย แต่ตอนเราล้มเราก็รู้สึกใช่ไหมครับว่ามันเจ็บ มันปวดหรือว่ามันมีความรุนแรงขนาดไหนกับร่างกายของเรา แต่ถ้าเราไม่รู้สึกตัวละครับเราจะรู้ได้ยังไงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรามันเจ็บแค่ไหน ? การประเมินการเจ็บปวดก็เลยถูกทำขึ้นมาครับ
การประเมินความเจ็บปวดนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ
1. การประเมินแบบที่ผู้เจ็บปวดรู้สึกตัวหรือเรียกอีกอย่างว่า Self Report เป็นการสอบถามหรือให้ผู้ป่วยเป็นคนบอกอาการต่อแพทย์เพื่อให้ทราบถึงอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถสรุปแบ่งได้ 3 แบบดังนี้
1.1 ผู้ป่วยบอกคะแนนความเจ็บปวดด้วยตัวเอง ด้วยการใช้
Numeric rating scale(NRS) ในการบอกความเจ็บปวดออกมาเป็นตัวเลขครับ
(0-5 ความเจ็บปวดปานกลาง 6-10 ความเจ็บปวดที่รุนแรงที่สุด)
Numeric rating scale(NRS)
1.2 Verbal descriptor scale (VDS) หรือ Visual analog scale ( VAS ) เป็นการสอบถามผู้ป่วยถึงอาการป่วยว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่โดยส่วนมากจะเป็น 4 ระดับได้แก่ ไม่เจ็บปวด, เจ็บปวดเล็กน้อย, เจ็บปวดปานกลาง, เจ็บปวดอย่างมาก
แต่วิธีนี้ค่อนข้างมีข้อเสียเพราะผู้ป่วยจะต้องคาดเดาความเจ็บปวดด้วยตัวเองทำให้อาจมีการคาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้
Visual analog scale ( VAS )
1.3 Faces Pain Rating Scale ใช้รูปภาพแสดงสีหน้าในการบอกความรู้สึกเจ็บปวด
Faces Pain Rating Scale โดย Wong-Baker FACES.
2. การประเมินวามปวดแบบสังเกตพฤติกรรม ใช้กับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว มีความแม่นยำน้อยกว่าแบบที่ 1 แบ่งการประเมินเป็น 2 แบบดังนี้
2.1 Behavior Pain Scale (BPS) เป็นการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยและใช้การให้คะแนนเพื่อสรุปผล
Behavior Pain Scale (BPS) โดย Nursing Post
2.2 Critical-Care Pain Observation Tool (CPOT) สุดท้ายเป็นเครื่องมือที่วัดระดับความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงที่ถูกจำกัดการสื่อสารและไม่สาามารถให้ข้อมูลกับแพทย์ได้
Critical-Care Pain Observation Tool (CPOT) โดย Nursing Post
จบกันไปแล้วนะครับสำหรับ "การประเมินความเจ็บปวด" การที่มีการประเมินขึ้นมานั้น เพื่อให้ทราบถึงสถานะของผู้ป่วยในขณะนั้น เพื่อให้แพทย์สามารถจัดการยาหรือจัดการ การแพทย์ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นโดยเร็วนั้นเอง 🎉
เรารู้เรื่องการประเมินความเจ็บปวดไปแล้ว มีทั้งคนที่สามารถบอกความเจ็บปวดได้และบอกความเจ็บปวดไม่ได้ หากเราเจ็บปวดทางใจและไม่สามารถพูดออกมาได้ ลองกล้าที่จะพูดกับคนไว้ใจดูครับ ผมมั่นใจว่ามันต้องช่วยคุณได้เหมือนกับที่คุณหมอช่วยคนไข้ได้อย่างแน่นอนครับ 😇
สุดท้ายนี้ผมมีรูปแบบของตัววัดความเจ็บปวดแบบ CPOT มาให้ลองกันด้วย สามารถกดที่ลิงค์นี้ได้เลยนะครับ
https://www.mdcalc.com/critical-care-pain-observation-tool-cpot#next-steps
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ อย่าลืมกดติดตามและกดแสดงความคิดเห็นเพื่อให้กำลังใจกันด้วยนะครับ ♥ !
ขอขอบคุณ
https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/images/knowledge/CPOT-2564.pdf
https://linkphysio.com/how-can-we-measure-pain/
https://www.facebook.com/103869267966857/posts/139564287730688/
https://specialistshospitalshreveport.com/patient-resources/using-the-pain-scale/
https://kpnursing.org/professionaldevelopment/CPOTHandout.pdf
การแพทย์
วิทยาศาสตร์
ความคิดเห็น
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
N.namSnap Gacha Content
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย