Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บ้านและสวน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 มี.ค. 2022 เวลา 13:00 • อาหาร
ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้นานาชนิด หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามฤดูกาลตลอดทั้งปี เช่นเดียวกันกับในช่วงฤดูร้อนที่ต้องยกให้มะปรางและมะยงชิด ผลไม้ที่นิยมนำมารับประทานกันทั้งแบบสด นำไปเชื่อม หรือนำไปใช้เป็นส่วนผสมของขนมต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่า "มะปราง" กับ "มะยงชิด" เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง
"มะปราง" เป็นผลไม้ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานปรากฏให้เห็นตามแถบหัวเมืองที่อยู่รายล้อม ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเริ่มมีการนำพันธุ์มะปรางจากทางเหนือลงไปปลูกในภาคกลาง และขยายไปในเขตปริมณฑล
ส่วน "มะยงชิด" เริ่มปรากฏในบันทึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นมะปรางพันธุ์ดีที่หลายคนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เรียกว่า "มะปรางเสวย" โดยมีแหล่งปลูกอยู่แถว ตำบลท่าอิฐ จังหวัดนนทบุรี ต่อมาจึงมีการนำไปขยายพันธุ์ปลูกแถวย่านบางขุนนนท์ ฝั่งธนบุรี จนมีการตั้งชื่อเรียกขาน มะยงชิดบางขุนนนท์
เนื่องจากทั้งมะปรางและมะยงชิดเป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน (ANACARDIACEAE) ทำให้มีลักษณะทางพฤษศาสตร์ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตามสายพันธุ์ หากมองด้วยตาเปล่าจึงแทบจะไม่เห็นถึงความแตกต่าง แต่หากแบ่งด้วยรสชาติแล้ว จะสามารถจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ
๐ มะปราง : ผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน รสชาติเนื้อหวาน เปลือกหวาน
๐ มะยงชิด : ผลสุกจะมีสีเหลืองแกมส้ม รสชาติเนื้อหวาน เปลือกเปรี้ยว
๐ มะยงห่าง หรือกาวาง : รสชาติเนื้อเปรี้ยว และเปลือกเปรี้ยว บางสายพันธุ์จะเปรี้ยวมาก จนขนาดที่ว่า แม้นกกาที่หิวโซบินมาเห็นผลไม้ชนิดนี้ แต่เมื่อได้ลองจิกกินเพื่อลิ้มรสชาติก็ต้องรีบวางแล้วบินหนีไปทันที
เรื่อง : สริดา จันทร์สมบูรณ์
คลังสาระความรู้เรื่องบ้านและพรรณไม้ยังมีอีกมากมาย อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่
www.baanlaesuan.com
มะปราง
มะยงชิด
มะยงห่าง
6 บันทึก
18
1
6
18
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย