23 มี.ค. 2022 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
Warehouse Management X Putaway 01
.
การทำงานของคลังสินค้าจะขาดขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ นั่นคือการเก็บของ หรือ เรามักจะเรียกว่า Putaway สินค้าเข้าไปยังคลังสินค้า ในมุมของผู้บริหารสินค้าคงคลัง การเก็บของไว้ที่คลังแล้วยังไม่เติมก็เรียกว่า Putaway เช่นกันนะครับ
Putaway เป็นขั้นตอนการทำงานที่เก็บสินค้าเข้ายังพื้นที่จัดเก็บ ไม่ว่าจะเป็นการยกด้วยเครื่องมือ ยกด้วยคนหรือ ยกด้วยหุ่นยนต์ การทำงานนี้จะเป็นการทำงานเพื่อนำสินค้าออกจาก พื้นที่รับสินค้าไปจัดเก็บตามที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของการ putaway คงหนีไม่พ้นการทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าเป็นสัดส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้นะครับ ซึ่งหากขาดไปจะพบว่า เรามักจะ “หาของไม่เจอ” ปัญหาใหญ่ของคลังสินค้ามักจะเริ่มที่ตรงนี้ เก็บของในที่ที่เราลืม
ลองมาดูปัญหาที่เกิดในอดีตสักตัวอย่างครับ สินค้าถูกส่งมายังคลังสินค้า เมื่อรับสินค้ามาแล้วก็ยกสินค้าไปเก็บ อันนี้คือตามปกติจริงไหมครับ แต่ปัญหาคือ หากคุณ putaway สินค้า แบบไม่มีลำดับ ทำให้สินค้าตัวเดียวกัน อยู่ใกล้ไกล ต่างกัน ความสนุกเลยเกิดขึ้น เวลาเราต้องใช้สินค้าพาเลทนั้น ก็ต้องขับไปหยิบ ถ้าพาเลทเดียวคงไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าหลาย ๆ พาเลท ก็วิ่งกันทั่วคลังเลย...ถ้าวิ่งทั่วคลังก็เท่ากับวิ่งระยะยาวมาก นั่นคือ ปัญหา เพราะเราต้องทำ OT มหาศาล เพื่อแค่ย้ายของ..เรามาดูกันแล้วพบว่า...เราวางของไกลและวางผิดกันเอง
ปัญหาเหล่านี้ผมใช้เวลา 6 เดือน ศึกษาและทำความเข้าใจ จนเขียนสูตรสมการเพื่อวางแผนการเก็บของตามตรรกะ ทำให้สามารถลด OT เหลือ 0 ได้ ก็ถือว่าสำเร็จแล้วครับ ถือว่าโชคดีไป แต่ปัจจุบัน ได้ยินมาว่า ทีมงานใหม่กลับไปทำงานแบบเดิม รวมทั้งออกแบบลูกค้าใหม่วิธีแบบเดิม ก็ยังทำให้เกิดความสูญเสียมากมาย บทเรียนพวกนี้ผมได้เคยถ่ายทอดไปให้แล้วแต่ไมได้ถูกทำต่อ ก็หายไปตามกาลเวลา ดังนั้นการคิดเรื่องการจัดการทำได้ แต่ต้องมีการจัดการอย่างเป็นแบบแผนด้วยนะครับ
กลับมาที่เรื่องของ Putaway กันดีกว่า ตัวสินค้าเองจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะ putaway ยังไง ก็คงต้องบอกว่า เราต้องรู้ข้อมูลของตัวสินค้าก่อนครับว่า สินค้ามีอะไรที่เราต้องเรียงและจัดการ
1. ประเภทสินค้า และกลุ่มสินค้า
2. ขนาดของสินค้า
3. ลำดับการหยิบสินค้า
4.ปริมาณสินค้า
ตัวอย่างเช่น สินค้ากลุ่มเดียวกันควรวางด้วยกัน และพร้อมที่จะหยิบลงมาเติม (Replenishment) ได้ทันที เพื่อลดเวลาในการเดินทางไปมา หยิบจากที่ไกลๆ ถ้าเป็น Selective Rack ก็ว่าด้านบนของสินค้าตัวเดียวกันนั่นเอง set ระบบให้เวลา Putaway ให้สินค้าเหล่านั้นอยู่ rack bay เดียวกัน หรือ Rack zone เดียวกัน เป็นต้น
อีกตัวอย่างคือ สินค้ากลุ่มชิ้นเล็กๆ ที่ต้องเติมเข้าไป การจะวางแผ่ให้สามารถเข้าถึงตัวสินค้าได้ตลอดเวลาอาจจะไม่ตอบโจทย์ ควรจัดลำดับการเก็บสินค้า เช่น สินค้าที่ยังไม่หยิบ อาจวางด้านบน แต่สินค้ากำลังจะขาย อาจจะวางในชั้นหยิบ หรือ rack ชั้นล่างสุดเป็นต้น
จากตัวอย่างทั้ง 2 นี้ ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะคิดไม่ได้นะครับ แต่จากที่เจอมาคือ คิดได้ แต่ออกแบบให้ระบบมันคิดแบบนี้ไม่ได้ นี่ปัญหา แล้วพอถึงเวลาเลยออกแบบเพื่อเลี่ยงให้ระบบมันหาง่ายๆ set ง่ายๆ ดังนั้นก็สร้างพื้นที่ปยิบขนาดมหึมาขึ้นมาเพื่อให้สินค้า พร้อมหยิบเสมอ แต่ลืมคิดไปว่าระยะทางเดินนั้นจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ
#warehousemanagement, #Replenishment, #Putaway, #Pickface
โฆษณา