30 มี.ค. 2022 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
Warehouse Management X Putaway 02
การ putaway, replenishment, picking ความจริงแล้วจึงสอดคล้องกัน เพราะรูปแบบการทำงานคือการรับไม้ต่อเสมอ ๆ ครับ มันดันเป็นศิลปะครับ อธิบายด้วยทฤษฎีก็ไม่มันส์ซะงั้น เมื่อเรารู้ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการ putaway แล้วก็มาออกแบบกันเพื่อลดปัญหากันดีกว่า โดยเราจะใช้ข้อมูลจากการศึกษามาเทียบว่าควรจะจัดวางลำดับอย่างไร ใช้ตัวอย่างนะครับ น่าจะช่วยให้เข้าใจง่ายกว่า
สินค้าอาหาร ต้องจ่ายทุกวัน วันละ 10 พาเลทต่อวัน / 5 วันต่อสัปดาห์ โดยมีสินค้าคงคลัง 500 พาเลท (Inventory day = 2 วัน ซึ่งหมายความว่า inventory lean มากๆ นะครับ) ถ้าเราจะมองให้ออก ต้องหมุนกลับไปว่า สินค้าจะเข้าคลังวันละเท่าไหร่ จริงไหมครับ ถึงจะรู้ยอดว่า Putaway ต่อวันเท่าไหร่ จากการคำนวณผมขอสมมุติว่า เจ้าของสินค้ามีกำลังการผลิตให้สามารถส่งสินค้าได้ วันละ 10 พาเลท (เพื่อให้จินตนการง่ายๆ นะครับ) ดังนั้นการ putaway แต่ละวัน จะเท่ากับ 10 พาเลทจริงไหมครับ
แต่การจัดการพื้นที่หยิบยังต้องมองเรื่อง จำนวนสินค้า หรือ SKU ด้วย ดังนั้นจากโจทย์ ถ้ามี SKU เดียวก็ชิวไป ถ้ามีหลาย SKU ก็ว่ากัน สมมุติตามตาราง
จากตารางเราต้องดูว่า สินค้าจะเข้าเท่าไหร่ เพื่อจัดพื้นที่ แต่คิดง่ายๆ ก่อนว่า เราต้องมีพื้นที่หยิบสินค้าทั้งสิ้นกี่ที่ครับ 10 pallet locations ก็ถือว่าเพียงพอต่อ 1 วันแล้ว และที่เหลือเมื่อหยิบสินค้าเสร็จแล้วก็เติมสินค้าด้วยการ Replenishment โดยขั้นตอนก่อนหน้าเราต้องเก็บสินค้าทุกวัน เราจึงออกแบบให้สินค้า อยู่ด้านบนของ rack นั่นเองเพื่อให้เคลื่อนที่น้อย
ตัวอย่างที่กล่าวมานั้นดูง่ายนะครับ แต่อยากให้ลองพิจารณาไปถึงระดับ หมื่น หรือ แสน SKU ที่หยิบกันในคลัง Ecommerce ตอนนี้ บอกได้เลยว่า ปวดหัวกว่านี้เยอะครับ รวมทั้งสินค้าจะถูกซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ ตัวไหนก็ได้ แต่ถ้าเล่นโปรโมชั่นก็ต้องจัดพื้นที่หยิบดี ๆ ซึ่งจะต้องวางแผนตั้งแต่แรกว่าจะเก็บของไว้ไหนก่อนจะย้ายมาให้หยิบ
#warehousemanagement, #Replenishment, #putaway, #pickface
โฆษณา