Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Warehouse Management
•
ติดตาม
8 เม.ย. 2022 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
Warehouse Management 101: Improvement
เมื่อทราบถึงความของสิ่งที่เป็นนั้นแตกต่างจากเป้าหมายที่มีแล้วก็เริ่มตั้งธงกันเลยว่า จะทดสอบเสร็จเมื่อไหร่ และจะเริ่มใช้เมื่อไหร่ โดยหลักการเหมือนการทำ Project Implementation ด้วยการวางโครงสร้างการทำงานของทีมงานและขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อย โดยแบ่งแนวทางการปรับปรุงออกเป็นขั้นตอนการทำงาน (Target to task) ด้วยการแยกแนวทางการทำงานออกมาเป็น
1. การเตรียมงาน (Preparation)
2. การทดสอบ (Unit Testing)
3. การให้ความรู้หรือสอนที่งาน (Training)
4. การทดสอบจากการใช้จริง (User Accept Testing)
5. การตรวจสอบปัจจัยต่าง ๆ ก่อนการให้ระบบเข้าสู่การทำงานจริง (Deployment)
ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ดูไปเหมือนกับการขึ้นคลังใหม่ แต่จะแตกต่างที่คลังสินค้าที่เรากำลังปรับปรุงนั้น เราอาจจะได้ทำ ได้เรียนรู้จากการทำงานแบบเก่ามาแล้วระดับหนึ่ง หรืออีกมุมคือคนในทีมงานหายไปจนไม่เหลือความรู้เก่า การใช้ขั้นตอนการทำงานใหม่เข้าไป เมื่อวางแผนจาก 5 ขั้นตอนหลักได้แล้ว จึงนำแต่ละขั้นตอนที่ต้องทำเรียงเข้าด้วยกัน รวมทั้งระบุเวลาการทำงานของแต่ละช่วงใน project timeline และตกลงร่วมกัน
ความแตกต่างระหว่างการขึ้นคลังใหม่ (Implementation) กับ การปรับปรุงที่สำคัญมาก ๆ คือ การขึ้นระบบใหม่ในระหว่างที่ยังทำงานจ่ายสินค้าไปด้วย (Migration) จากความเป็นจริงส่วนใหญ่พบว่า นายจ้างไม่ค่อยเข้าใจในจุดนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบนั้นส่งผลกระทบต่อการทำงานในทุกส่วน โดยมักจะแจ้งให้ทำงานไปด้วยพร้อมกับขึ้นระบบใหม่หรือขั้นตอนการทำงานใหม่ ตรงนี้ต้องเข้าใจนายจ้างว่า ปลายทางที่ส่งสินค้าไม่ได้พัฒนาปรับปรุงการทำงานเหมือนเรา ดังนั้นความต้องการสินค้าจะยังคงอยู่และเราต้องหยิบสินค้าเพื่อจัดส่งตามที่เคยเห็นมา การวางแผนงานใน project timeline จึงทำได้ค่อนข้างยาก
การวางแผนงานที่ดีในการปรับปรุงการทำงานคือ ทุกส่วนต้องเข้ามารวมตัวกันเพื่อตกลงร่วมกันว่าจะจัดการแต่ละขั้นตอนการทำงานของโครงการ (Tasks) อย่างไร เตรียมตัวอย่างไร เราอาจจะวางแผนจากโครงสร้างหลักและส่วนอื่นที่ได้รับผลกระทบเป็นโครงสร้างรองลงไป แต่ให้คิดเสมอว่าทุกความเปลี่ยนแปลงทุกคนต้องเข้าใจตรงกันก่อน จึงจะทำให้สามารถพัฒนาปรับปรุงได้ง่ายขึ้น เพราะทุกการปรับปรุงเราต้องการให้เกิด Seamless Implementation หรือ การขึ้นงานแบบไร้รอยต่อ
การปรับปรุงพัฒนาหลายองค์กรอาจทำเพื่อให้งานถูกแก้ไขไปได้ บางที่ต้องการเพื่อลดต้นทุน บางที่ต้องการ การพัฒนาที่ยั่งยืน อันนี้คือเป้าหมายกว้าง ๆ แต่โลกหลังโควิท เป็นโลกที่เรียกได้ว่า โลกแห่งการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งมีหลายเรื่องมากที่เราจำเป็นจะต้องเข้ามาปรับปรุงการทำงานให้ดีอยู่เสมอ โดยหลักการการพัฒนาให้ดีออยู่เสมอ เรามักจะได้ยินจาก ชาวญี่ปุ่น เยอะมาก ชื่อเทคนิคที่ใช้ก็ชื่อ ญี่ปุ่นทั้งนั้น ไม่ว่าจะ Toyota Way, Kaizen, Rinen, Ikigai เป็นต้น เหล่านี้จะเล่าถึงแนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ในส่วนนี้หาอ่านได้ตามท่องตลาดและแหล่งข้อมูลทาง internet ได้มากมาย)
แต่การพัฒนาเป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด หากคิดว่าสุดจะทำให้เราหยุดทันที ไม่เกิดการพัฒนา เราต้องกระหาย (Stay Hungry) เพื่อให้ตัวเรามองหาแนวทางการปรับปรุงเสมอ รวมทั้งการปรับปรุงจะทำอย่างไรให้เข้าถึง ใจของคนทำงานและผู้ได้รับผลจากการบริการ อันนี้คือหัวใจของการปรับปรุงจริง ๆ หากต้องการปรับปรุงเพื่อเงิน มันอาจจะทำให้ลดรายจ่าย หรือ รายได้เพิ่มขึ้น หากแต่การทำเพื่อให้เข้าใจภายในใจจะทำให้บริษัทของเรามีมูลค่ามากกว่า ตัวเงินที่ลดหรือเพิ่มนั่นเอง
www.warehousemanagements.com
#Warehousemanagement, #warehousemanagement101, #Improvement, #Operationimprovement, #Gapanalysis,
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย