19 มี.ค. 2022 เวลา 07:20
ทำไมไทยพลาดเป็น เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย ย้อนเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่ไปถึงฝัน
“เสือตัวที่ 5 ของเอเชีย” วลีปลุกใจในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาที่ใครๆ ต่างก็คงจะเคยได้ยินนี้ และเคยวาดฝันกับมันเอาไว้ว่า สักวันหนึ่งประเทศไทยจะก้าวขึ้นไปเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของทวีป เทียบชั้นเคียงบ่าเคียงไหล่กับมหาอำนาจทั้ง 4 ไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ที่เวลานี้ได้กลายเป็นชาติผู้ทรงอิทธิพลระดับโลก
7
แต่อย่างที่รู้กันคือ ไทยเคยแค่คิดว่าตัวเองเกือบจะไปเป็นส่วนหนึ่งของจ่าฝูง แต่สุดท้ายก็ไม่อาจก้าวขึ้นไปอยู่รวมกับกลุ่มหัวแถวได้จริง จนกระทั่งวันนี้ผ่านไป 30 ปี ไทยก็ยังไม่เคยเข้าใกล้การเป็นเสืออีกเลย
1
เกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลานั้น แล้วผลของความล้มเหลวได้ทิ้งบาดแผลอะไรเอาไว้บ้าง ผู้เขียนจะพาไปย้อนรอยเหตุการณ์ เพื่อเรียนรู้ความผิดพลาดในอดีต เพื่อมองตัวเราเองในปัจจุบันและอนาคต
ในยุคก่อนปี 1990 โลกใบนี้อยู่ในยุคที่การติดต่อสื่อสารกันด้วยระบบโทรเลขและโทรศัพท์บ้าน ซึ่งเป็นยุคที่เรียกกันติดปากว่า “ยุคอนาล็อก” หลังจากนั้นไม่กี่ปี โลกได้พลิกโฉมการพัฒนาไปสู่โลกดิจิทัล จากการถือกำเนิดขึ้นของ “World Wide Web” หรือ WWW ที่กำเนิดขึ้นในปี 1989 โดยห้องวิจัยสถาบัน CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงข่ายการเชื่อมต่อของโลกก็ได้ถูกเชื่อมเข้าถึงกันเพียงปลายนิ้ว ระบบการสื่อสาร และระบบเครือข่ายโทรคมนานาม ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
2
2 ปีหลังจากที่ WWW ถือกำเนิด คอมพิวเตอร์ที่เคยถูกมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ราคาแพง ผู้ที่มีไว้ครอบครองใช้งานก็มีเฉพาะกลุ่มเศรษฐี และชนชั้นสูง ได้กลายเป็นของที่คนทั่วไปเริ่มจับจองเป็นเข้าของได้ในเวลาไม่นาน
1
ในสหรัฐฯ อัตราการครอบครองคอมพิวเตอร์จาก 15% ของประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 35% ส่วนอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศพัฒนาแล้ว เพิ่มขึ้นจาก 11% เป็น 31%
1
แต่รู้หรือไม่ว่า จุดเริ่มต้นของ WWW และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน แม้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลก แต่มันต้องแลกมาด้วย “ราคาที่ต้องจ่าย”
และราคาที่ต้องจ่ายนี่เอง คือหนึ่งในองค์ประกอบสำคัฐที่ทำให้ประเทศไทย ก้าวไม่ถึงการเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย
2
ความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจก่อนถึงปี 2000 ในฝั่งเอเชียกำลังฉายแววรุ่งเรือง นำโดยญี่ปุ่นที่เจริญก้าวหน้าอย่างมากก่อนใครหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และฟื้นฟูประเทศจากการเป็นผู้พ่ายแพ้สงครามได้เพียง 10 ปี
3
ตามมาด้วยเสืออีก 4 ตัวได้แก่ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยปีละ 7%
ในขณะที่ไทยเอง ก็ถูกจับตามองจากหลายประเทศว่าจะก้าวขึ้นมาเป็น เสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 แห่งเอเชีย เพราะด้วยความเนื้อหอมของไทยที่ชวนให้หลงไหลดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ในช่วงต้นปี 1990
เวลานั้น ญี่ปุ่นที่ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีฝั่งเอเชีย กำลังมองหาฐานการผลิตใหม่นอกประเทศ เนื่องจากกำลังเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และประเทศไทยก็อยู่ในสายตาของญี่ปุ่นมาหลายปี อีกทั้งระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจโดยรวมนับว่าตอบโจทย์ เพราะเป็นช่วงที่มีประชากรวัยหนุ่มสาววัยทำงานเพิ่มขึ้น อัตราค่าแรงถูก โครงสร้างพื้นฐานพร้อม แถมทำเลที่ตั้งก็อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการเป็นศูนย์แห่งกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบพอดิบพอดี
1
นอกจากนี้ รัฐบาลในเวลานั้นก็มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น
– โครงการโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมาย
– โครงการพัฒนาพื้นที่ทะเลภาคใต้
– โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลในเขตเมืองหลวง
– โครงการทางด่วน และสนามบินแต่ละภูมิภาค
รวมทั้งการประกาศนโยบายเศรษฐกิจ “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ทำให้ไทยมีความพร้อมอย่างมากที่จะเป็นฐานการผลิตสำคัญของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเอเชีย
1
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 17 เจ้าของวลี “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า“
ส่วนในอีกฟากฝั่งของโลก ยุคนี้นับเป็นเวลาทองของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัลเต็มรูปแบบ บริษัทอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี รวมไปถึงธุรกิจใหม่ๆ ในโลกออนไลน์กำลังถือกำเนิด โดยเฉพาะบริษัทที่ลงท้ายด้วย .com จะได้รับความสนใจจากสาธารณชนและดึงดูดเงินจากกระเป๋านักลงทุนเป็นพิเศษ
1
ตัวอย่างของบริษัทที่ก่อตั้งก่อนปี 2000 แต่มีความยิ่งใหญ่ระดับโลก
Amazon.com ก่อตั้งขึ้นในปี 1994
Google.com ก่อตั้งขึ้นในปี 1998
และในฝั่งเอเชียก็มี
tencent.com ก่อตั้งขึ้นในปี 1998
Alibaba ก่อตั้งขึ้นในปี 1999
การเปลี่ยนผ่านของความเฟื่องฟูทางเทคโนโลยี นำมาสู่ความมั่งคั่งแห่งโลกทุนนิยมเสรี ซึ่งตรงกันข้ามกับโลกคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปตะวันออกเกิดจุดแตกหัก จากปัญหาเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ที่ร้าวลึกกับเพื่อนบ้านนานหลายสิบปี โดยมีเหตุการณ์ครั้งใหญ่คือ การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ทำให้เยอรมนีถูกรวมเป็นปึกแผ่นในปี 1991
1
พรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกล้วนพ่ายแพ้ และเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเป็นทุนนิยมเสรี รวมทั้งสหถาพโซเวียตที่เคยเป็นอดีตมหาอำนาจที่ต่อกรกับสหรัฐฯ ก็ถึงคราวล่มสลายลงในปีเดียวกับกำแพงเบอร์ลินแตก กลายเป็นประเทศน้อยใหญ่กว่า 15 ประเทศ
วันล่มสลายของสหภาพโซเชียต ปี 1991
ทางฝั่งเอเชียในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีการเติบโตด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก แต่กลับต้องเผชิญกับภาวะหนี้สินครั้งใหญ่ของประเทศ เนื่องจากการก่อหนี้ที่เร็วและสูงในช่วงที่ประเทศเศรษฐกิจกำลังเติบโต นำมาสู่ภาวะหนี้ท่วม เกิดภาวะเงินฝืดรุนแรง บริษัทห้างร้านต่างๆ ขาดสภาพคล่อง
1
คนว่างงานเพิ่มขึ้นทั่วญี่ปุ่น ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดฮวบ ดัชนีนิเกอิที่เคยทำจุดสูงสุดในปี 1989 ลดลงกว่า 38% ในปี 1990 หลังจากนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็แทบหยุดการเติบโตมาเป็นเวลากว่า 30 ปีจนถึงปัจจุบัน
1
วิกฤตเศรษฐกิจภายประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้จบลงแค่บนหมู่เกาะเท่านั้น แต่ได้ยังลามไปทั่งภาคพื้นทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีไทยเป็นศูนย์กลาง
เวลานั้น ประเทศไทยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแบบคงที่ แต่ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียก่อนหน้านี้ที่รวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากเกินไป
3
สถาบันการเงิน และองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่แห่กู้เงินระยะสั้นดอกเบี้ยถูกจากต่างประเทศมาแสวงหาผลตอบแทน เกิดการเก็งกำไรตลาดหุ้น และปั่นราคาอสังหาจนกลายเป็นฟองสบู่ที่มองไม่เห็น สัดส่วนหนี้ระยะสั้นจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีมากกว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
2
นักเก็งกำไรจากต่างชาติมองเห็นความเสี่ยงนี้ ก็เริ่มเข้าทำกำไรโดยการเข้า Shot (ทำกำไรจากขาลง)มูลค่ามหาศาล แต่รู้ไหมว่านั่นคือการโจมตี ซึ่งไม่ใช่แค่ค่าเงินบาท แต่รวมไปถึงริงกิตมาเลเซีย และรูเปียอินโดนีเซีย
3
การโดนโจมตีโดยนักเก็งกำไร ฉุดให้เศรษฐกิจไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบรุนแรง จนท้ายที่สุด BOT หรือธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมาประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ในปี 1997
2
ส่งผลให้ประเทศไทยมีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล หลายธุรกิจปิดตัวลง นักลงทุนหันหลังให้กับหุ้นไทย ส่งผลให้ตลาดหุ้นดิ่งวูบ มิหนำซ้ำยังถูกเทขายเงินบาทมูลค่ามหาศาล
บางกิจการที่เหลือรอด จัดการลดต้นทุน ปลดคนงาน อัตราการว่างงานเพิ่ม ประชากรไม่มีเงินใช้ ส่วนคนที่มีก็ไม่ยอมเอาออกมาใช้ วนลูปเป็นวงจรยังไม่รู้วันจบ เกิดเป็นฟองสบู่ลูกใหญ่สุดในรอบหลายสิบปี
2
และฟองสบู่ลูกนั้น คนไทยมักจะคุ้นชื่อกันว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง”
ย้อนกลับมาอีกฝั่ง ความสดใสของบริษัทเทคโนโลยีกำลังเติบโตหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น Google เริ่มต้นบริษัทในโรงรถ แต่เติบโตอย่างรวดเร็ว จนสามารถจดทะเบียนในตลาดหุ้นอย่าง NASDAQ เพื่อระดมทุน
แม้บริษัทเทคเหล่านี้จะโตไวแค่ไหน แต่ก็ยังไม่โตมากพอที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่กว่า NASDAQ อย่างตลาดหุ้นนิวยอร์คหรือ NYSE
1
บริษัทดอตคอม ใช้กลยุทธ์ที่เน้นการเติบโต โดยสร้างฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด จะด้วยค่าบริการที่ถูกหรือฟรี มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ตัวเองให้น่าจดจำ เพื่อหวังกำไรมหาศาลในอนาคต
เมื่อนักลงทุนเห็นว่าบริษัทดอตคอมเติบโตเร็ว แตกต่างจากบริษัทใหญ่ในอดีตที่ส่วนใหญ่จะเน้นขายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน กว่าจะเติบโตใช้เวลานานหลายสิบปีไปจนถึงร้อยปี
นำมาซึ่งความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่เกิดความคาดหวังสูงเกินไป ผลกำไรของบริษัทเติบโตไม่ทัน แถมยังมีข่าวฉาวเรื่องการตกแต่งบัญชีอีกด้วย
สุดท้าย การเก็งกำไรต้องมาถึงจุดสิ้นสุด และวิกฤติครั้งนั้นถูกเรียกว่า “ฟองสบู่ดอตคอม”
หลังจากฟองสบู่ลูกใหญ่แตก ผลกระทบลามเป็นโดมิโน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะที่ฮ่องกง มาเลเซีย ลาว และฟิลิปปินส์ก็ประสบกับค่าเงินทรุดตัว ส่วนจีน อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไน และเวียดนามได้รับผลกระทบน้อยกว่า
‘กองทุนการเงินระหว่างประเทศ’ หรือ IMF ก้าวเข้ามาเสนอโครงการมูลค่า 40,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อใช้รักษาเสถียรภาพสกุลเงินของเกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจากวิกฤติดังกล่าว
1
แต่มันก็ช่วยได้ไม่มาก ยกตัวอย่างในประเทศอินโดนีเซีย เกิดเหตุจราจลทั่วประเทศซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอย่างรุนแรง สกุลเงินรูเปียห์อ่อนค่าลงหรือ ‘เงินเฟ้อ’ ความตึงเครียดบีบบังคับให้ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ลาออกจากตำแหน่งเมื่อกลางปี 1998
ส่วนฟิลิปปินส์ก็ได้รับผลกระทบจนตัวเลขทางเศรษฐกิจในปีเดียวกันลดลงจนเกือบศูนย์ มีแค่สิงคโปร์และไต้หวันเท่านั้น ที่นักวิเคราะห์พิสูจน์แล้วว่าเกือบจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ไฟลามทุ่งนี้เลย
สหัสวรรษใหม่เริ่มขึ้นพร้อมกับวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ของโลก และเป็นจุดดับความริบหรี่ของแสงไฟที่หวังให้ประเทศไทยจะกลายเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย
การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าจะเกิดวิกฤตการเงินนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาที่ทำให้เชื่อว่าประเทศจะพัฒนาได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง อันที่จริงแล้วโครงสร้างทางเศรษฐกิจภายในนั้นค่อนข้างจะเปราะบาง เนื่องจากประเทศเน้นการเติบโตจากการลงทุนของต่างชาติจากปัจจัยการผลิตและต้นทุนการผลิตราคาถูก รวมทั้งค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูง แต่ไม่เคยมีการพูดถึงการพัฒนานวัตกรรมเป็นของตัวเอง เพราะเป็นการลงทุนที่ใช้ทั้งเงินและทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ไม่อาจคาดการได้ว่า จะคืนทุนเมื่อไหร่
1
ประกอบกับการที่คนไทยไม่ถูกส่งเสริมหรือสนับสนุนให้สินค้าหรือนวัตกรรมไทยที่มีความพยายามจะสร้างขึ้น เพราะไม่เชื่อมั่นในคุณภาพ ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเนื่องจากขาดเงินทุนในการดำเนินกิจการต่อ ประเทศเลยกลายเป็นผู้ซื้อ ผู้นำเข้านวัตกรรมเพียงอย่างเดียว
6
ในช่วงตลอด 20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตการเมืองที่เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างขั้วต่างๆ การแย่งชิงอำนาจ การก่อรัฐประหาร และการสาดสีสาดโคลนที่ไม่มีวันจบสิ้นจนถึงปัจจุบัน ทำให้การพัฒนาประเทศเกิดการสะดุดตลอดเวลา
3
ส่วนประชาชนเองก็เหมือนไม่เคยได้รับบทเรียนจากเชื่อคำพูดของผู้มีอำนาจทางการเมืองไม่ว่าจะฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวา เรียกได้ว่าประชาชนไม่อาจรู้เท่าเล่ห์กล การพูดจาหว่านล้อมทันใดๆ ของฝั่งการเมืองได้ ซึ่งผลสุดท้ายแล้วแต่ละฝั่งการเมืองก็พยายามใช้ฐานเสียงของผู้สนับสนุนด้วยจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการก้าวขึ้นสู่อำนาจเท่านั้น ส่วนผู้ที่ต้องรับผลกระทบก็คือประชาชนทุกคน ทั้งคนที่สนันสนุนและไม่สนับสนุนนั่นเอง นี่คือสิ่งที่คนไทยไม่เคยจำและยังคงวนเวียนอยู่ในวัฏจักรความขัดแย้งไม่จบสิ้น ขัดขวางการพัฒนาประเทศที่ควรจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น
13
ปัจจุบัน แรงงานไทยไม่ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาทักษะให้มากพอ ค่าแรงสูงขึ้น ทำให้ประเทศไทยไม่ถูกเลือกเป็นฐานการผลิต เห็นได้จากข่าวการย้ายฐานการผลิตของบริษัทอุตสาหกรรมหลายแห่งที่เกิดขึ้นในปี 2021 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ อัตราการใช้จ่ายเพื่อวิจัยและพัฒนาของไทยยังน้อยถึงน้อยมากเพียงแค่ 0.5 ของจีดีพีเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเจ้าเทคโนโลยีแห่งเอเชียที่มีงบประมาณเพื่อการวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่าง 7-11% ของจีดีพี ซึ่งแบ่งสัดส่วนได้ดังนี้
ภาคเอกชนมากที่สุดคือ 92,200 ล้านบาทต่อปี
มหาวิทยาลัย 42,300 ล้านบาทต่อปี
ภาครัฐลงทุน 34,700 ล้านบาทต่อปี
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบให้ไทยไม่ได้เป็นเสือ แต่ยังมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างในประเทศที่ส่งผลกระทบเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยในปัจจุบันถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ลูกเสือเศรษฐกิจ (Tiger Cub Economies)” ประกอบด้วย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
1
ซึ่งประเทศไทย ยังคงต้องการการฟื้นฟูและดูแล ถึงจะก้าวขึ้นไปเป็น “เสือ” ได้อย่างสง่างาม
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
โฆษณา