19 มี.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์การเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์และบทบาทการแพร่ระบาด “เชื้อโรค” ของพวกมัน
สำหรับหลายท่าน บทบาทของสัตว์เลี้ยงอาจจะมีเพียงแค่ การเป็นเพื่อนเล่น และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์แล้ว การที่มนุษย์จับสัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงนั้น มีบทบาทต่อพัฒนาการของมนุษย์ไม่น้อย
1
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่กว่า 100 ปอนด์ ที่สามารถใช้เป็นทั้งอาหาร นำมาใช้เพื่อทุ่นแรงในการผลิต ใช้เป็นพาหนะ ใช้ผลิตเครื่องนุ่มห่ม อย่างไรก็ดี มีสัตว์บางชนิดเพียงเท่านั้นที่ได้ถูกคัดเลือกมาสู่วิถีชีวิตของมนุษย์ และส่งผลให้เกิดความแตกต่างของพัฒนาการของแต่ละอาณาจักรได้
และอีกหนึ่งบทบาทสำคัญอีกอย่าง คือ “การเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค” ที่พรากชีวิตมนุษย์มหาศาล ที่แทบจะไม่น่าเชื่อเลยว่า ได้สร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์บางประเทศในสมัยล่าอาณานิคมด้วย
2
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นสิ่งที่ทาง Bnomics จะมาเล่าให้ทุกคนฟังกันในบทความนี้ครับ
4
📌 มีสัตว์เลี้ยงดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
1
หนึ่งคำถามที่สำคัญอย่างยิ่งยวดกับทั้งวงการเศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ คือ ทำไมภูมิภาคต่างๆ ของโลก ถึงมีพัฒนาการของคุณภาพชีวิตด้วยอัตราที่เร็วไม่เท่ากัน?
ในหนังสือ Guns, Germs, and Steel หรือชื่อไทย “ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า” ได้ยกหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เราต้องอ่านซ้ำด้วยความประหลาดใจไว้หนึ่งอย่าง นั่นก็คือ บทบาทของสัตว์เลี้ยงที่แต่ละภูมิภาคมีอยู่ไม่เท่ากัน
1
เครดิตภาพ : National Geographic
โดย คุณ Jared Diamond ผู้เขียนหนังสือ เขียนอธิบายไว้ว่า สัตว์เลี้ยงประเภทที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเมืองของมนุษย์อย่างมาก คือ สัตว์ประเภทเลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ปอนด์
2
ที่เป็นอย่างนี้ เพราะ สัตว์ประเภทนี้สามารถใช้เป็นได้ทั้งอาหาร ทุ่นแรงการผลิต ใช้เป็นพาหนะ และผลิตเครื่องนุ่มห่ม โดยแบ่งระดับสัตว์เลี้ยงย่อยลงไปอีกสองระดับ คือ
ระดับที่สำคัญมาก ได้รับความนิยมแพร่ไปทั่วโลก 5 ชนิด ประกอบไปด้วย แกะ แพะ วัว สุกร และ ม้า ที่เราจะเห็นว่า สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของโลกยุคต่อมาจวบจนถึงปัจจุบัน
และระดับที่สำคัญรองลงมาอีก 9 ชนิด ที่ได้รับความนิยมแค่บางพื้นที่ของโลกเท่านั้น ประกอบไปด้วย อูฐอาหรับ อูฐเอเชีย ตัวยามา/อัลปากา ลา กวางเรนเดียร์ ควาย จามรี วัวบันเต็ง และวัวป่า
ซึ่งข้อสังเกตสำคัญ คือ สัตว์เหล่านี้ล้วนมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันไป ไม่มีดินแดนใดในโลกที่เป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของสัตว์ทั้ง 14 ชนิด
แต่ก็จะมีอารยธรรมที่ได้รับสิทธิพิเศษ เนื่องจากมีสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่หลายชนิด และก็เลยได้อานิสงส์กลายมาเป็นอายรธรรมหลักในประวิติศาสตร์สากล เช่น อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ในดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ ที่มีสัตว์ถึง 7 ชนิด จาก 14 ชนิดข้างต้นอาศัยอยู่ หรือบริเวณประเทศจีน ที่นำสัตว์เหล่านี้มาเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลาหลาย
แต่ในอีกหลายบริเวณในโลก กลับไม่ได้รับสิทธิพิเศษอย่างที่ดินแดนอารยธรรมเหล่านี้ได้รับ จนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการลงหลักปักฐานเพื่อเลี้ยงสัตว์ได้อย่างเต็มที่ เช่น อเมริกาเหนือ หรือ ออสเตรเลีย ที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงพิเศษเหล่านี้อาศัยอยู่
1
📌 อะไรเป็นตัวกำหนดว่า สัตว์ป่าชนิดไหนจะกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงที่ดีได้?
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจจะเริ่มมีคำถามขึ้นมาในใจว่า อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่ว่าสัตว์เลี้ยง 14 ชนิดข้างต้นเป็นสัตว์เลี้ยงที่วิเศษอะไรหรอก แต่อาจจะเป็นความบังเอิญมากกว่าที่มันถูกเลือกมาเลี้ยง สัตว์ชนิดอื่นๆ ก็แค่ไม่ใช่ผู้โชคดีถูกเลือกมาอยู่กับมนุษย์
แต่หลักฐานในอดีตไม่ได้บอกแบบนั้น มีร่องรอยมากมายที่แสดงว่า มนุษย์ทั้งในอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองและอารยธรรมที่ล่มสลายต่อมา มีความพยายามในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อีกหลายชนิด แต่จากตัวเลือกทั้งหมดกว่า 148 ชนิด สุดท้าย ก็มี สัตว์จำนวนเพียงหยิบมือ 14 ชนิดข้างต้นเท่านั้น ที่สามารถถูกนำมาเพาะเลี้ยงได้จริง
ซึ่งเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมสัตว์ชนิดอื่นๆ ถึงถูกนำมาเลี้ยงไม่ได้นั้น ถูกพูดถึงไว้ในหนังสือ อันนา คาเรนินา โดยอาจจะจำแนกปัญหาของสัตว์เหล่านี้ออกมาได้เป็น 6 ประเภท
  • 1.
    อาหาร ที่ถ้าสัตว์ชนิดไหนกินจุจนเกินไป หรือ กินเนื้อ ก็จะไม่ถูกนำมาเลี้ยง
  • 2.
    อัตราการเจริญเติบโต ที่ถ้าสัตว์ชนิดไหนโตช้าเกินไป ก็ไม่เหมาะกับการนำมาเลี้ยง
  • 3.
    ปัญหาอันเกิดจากการผสมพันธุ์สัตว์ในที่คุมขัง โดยเฉพาะปัญหาที่สัตว์หลายชนิดจะไม่ยอมผสมพันธุ์ในที่คุมขัง ทำให้เพาะเลี้ยงไม่ได้
  • 4.
    อารมณ์ที่ฉุนเฉียวดุร้าย ข้อนี้ค่อนข้างชัดเจนที่สัตว์ที่เป็นอันตรายเกินไปก็ไม่สามารถถูกเลี้ยงได้
  • 5.
    ลักษณะตื่นกลัวง่าย ที่เมื่อถูกจับขังก็มีความเสี่ยงที่จะช็อค และ
  • 6.
    โครงสร้างทางสังคม ที่สัตว์ที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงได้นั้น มักจะต้องมีลักษณะโครงสร้างเป็นผู้นำ-ผู้ตามในหลายระดับ และอยู่กับเป็นฝูง เพื่อที่มนุษย์จะได้ฉวยโอกาสเข้าไปทำหน้าที่เป็นจ่าฝูงแทน และสามารถเลี้ยงมันให้อยู่ร่วมกันได้จำนวนมากๆ
📌 การแพร่ “เชื้อโรค” จากสัตว์เลี้ยง และ บทบาทของมันในฐานะ “อาวุธลับ”
ในการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทฤษฎีต้นตอของการแพร่ระบาดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดทฤษฎีหนึ่ง ก็คือ การที่เชื้อไวรัสนี้แพร่มาจากค้างคาวที่ถูกนำมากิน
1
ในอดีต เชื้อโรคติดต่อที่ร้ายแรงหลายชนิด เมื่อสืบย้อนกลับไปก็ล้วนมีต้นตอมาจากสัตว์เช่นกัน แต่มันมาจากสัตว์เลี้ยงที่เราเลี้ยงต่างหาก
ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัยและความเข้าใจในการระบาดวิทยาที่ต่ำกว่าปัจจุบันมาก เชื้อโรค ในอดีต ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ ก็เลยกลายเป็นตัวการสำคัญที่คร่าชีวิตคนเป็นสัดส่วนมากกว่าสงครามครั้งไหนๆ ที่มนุษย์เคยรบเสียอีก
(ในปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขอนามัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ดี ในบางภูมิภาคที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านสาธารณสุขอย่างดี ปัญหาเชื้อโรคก็ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เป็นปัญหาหลักอยู่)
2
แต่การระบาดของเชื้อโรคพวกนี้ แม้จะทำลายล้างจำนวนประชากรในช่วงหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปวิวัฒนาการของมันก็ต้องมีการปรับตัวให้ตัวเองมีความอ่อนแอลง เพื่อให้ร่างพาหะอย่างมนุษย์เราเสียชีวิตจนหมด (ไม่งั้นก็ไม่รู้ว่ามันจะไปอยู่ที่ไหน) รวมกับการที่ร่างกายของคนเราค่อยๆ สร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้น เชื้อโรคเหล่านี้บางส่วนก็จะเหลือรอดกลายมาเป็นโรคประจำถิ่น
แต่เมื่อชาวยุโรปและเอเชียตอนกลางรวมถึงบริเวณยูเรเซียอื่นๆ เริ่มคุ้นชินกับโรคเหล่านี้ พวกเขาก็เข้าสู่ยุคการเดินเรือ และล่าอาณานิคม
และโรคร้ายที่เคยเป็นตัวการในการทำลายชีวิตพวกเขา ในครั้งนี้ก็กลายมาเป็นอาวุธลับที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเอาชนะอาณาจักรที่ตั้งอยู่ก่อนในดินแดนที่รุกรานเข้าไปได้
ยกตัวอย่าง การเดินทางขึ้นชายฝั่งเม็กซิโกของคอร์เตส ในปี ค.ศ. 1519 ที่ทหารสเปนขึ้นฝั่งไปด้วยแค่ 600 คนเท่านั้น แต่สามารถเอาชนะจักรวรรดิแอซเท๊กที่มีประชากรหลายล้านได้ ซึ่งต่อให้มีอาวุธล้ำหน้ามากกว่าพอสมควร แต่จะเป็นไปได้ไงที่คนจำนวนหยิบมือจะเอาชนะคนหลักล้านได้?
ก็เพราะพวกเขามีอาวุธลับอย่าง “ไข้ทรพิษ” ซึ่งระบาดมาถึงเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1520 ส่งผลให้ประชากรในอาณาจักรเสียชีวิตกว่าครึ่งหนึ่ง รวมถึงกษัตริย์ของพวกเขาก็เสียชีวิตจากโรคระบาดนี้ด้วย
ในขณะที่ชาวสเปนที่เคยพบเจอการระบาดของโรคนี้มา ต่างไม่ได้รับผลกระทบจากจากโรคร้ายนี้ เหมือนดังมีพลังจากทวยเทพคอยปกปักษ์รักษา สุดท้ายก็เลยมีส่วนสำคัญที่ทำให้สเปนยึดครองดินแดนได้นั่นเอง
แต่มันก็ครั้งที่เชื้อโรคเหล่านี้ คอยปกป้องดินแดนของคนพื้นเมืองเช่นกัน ก็คือ ในตอนที่ทหารตะวันตกพยายามบุกประเทศแถบประเทศเขตร้อนอย่าง “โรคมาลาเรียและอหิวาตกโรค” ก็กลายมาเป็นอาวุธลับของคนพื้นเมืองแทน ซึ่งโรคเหล่านี้ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ดินแดนเขตโลกในหลายประเทศ สามารถครองเอกราชมาได้ยาวนานกว่าดินแดนในทวีปอเมริกา
1
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
  • หนังสือ Guns, Germs, and Steel by Jared Diamond
  • หนังสือ Poor Economics by Abhijit V. Banerjee and Esther Duflo
เครดิตภาพ : McLean Museum of History via The Pantagraph

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา