Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AKI
•
ติดตาม
20 มี.ค. 2022 เวลา 02:45 • สุขภาพ
กิจกรรมหาทำ
กิจกรรมหาทำคืออะไร จริงๆฟังครั้งแรก sense มันดูไม่ค่อยดีเนอะ เหมือนหาเรื่องใส่ตัว จริงๆ มันก็เริ่มจากหาเรื่องลำบากแหละ แต่พอกลับมามองดีๆ สิ่งที่เราทำไปมันก็คือ สิ่งใหม่ๆ สิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากมัน ตอนนั้นก็คงไม่สามารถบอกได้แบบนี้หรอก ตอนนั้นมองว่ามันคือการหาเหาใส่หัวซะมากกว่า
ต้องบอกก่อนว่า Reference คือตัวเอง มันเกิดจากการลองทำไปเรื่อยๆ แล้วได้มีโอกาสฟัง podcast ตามหลัง คือมันจะ suggest ออกมาเรื่อยๆตามที่เรา subscribe ไว้ หรือบางทีมันก็จะขึ้นเป็นพวกรีวิวหนังสือที่น่าสนใจขึ้นมา ซึ่งมีสิ่งหนึ่งที่เราว่าค่อนข้างตรงมาก คือ
1. คนที่ Emotional เยอะๆแบบเรา คือพวกคิดมากๆ ใช้อารมณ์เป็นหลัก คนพวกนี้สมองด้านการทำงาน motor จะไม่ค่อยดี ถ้าจะอยากกดด้าน emotion ลง คิดน้อยลง ให้หาอะไรที่ใช้ motor ทำ ซึ่งมันก็ตรงกับที่เราทำกิจกรรมหาทำต่างๆที่ผ่านมา คือเหมือนพอ motor มันดีขึ้นมัน Focus กับการใช้มือมากขึ้นทำให้ความคิดรบกวนของเราน้อยลง เหมือนมันได้มาอยู่กับตัวเอง อยู่กับปัจจุบันที่แท้จริง มันทำให้เราจัดการอารมณ์ต่างๆ ความโกรธ ความสุข ความเศร้าได้ดีขึ้นนะ
2. Reward system ในสมอง ที่หลั่ง dopamine อ่ะ ทำให้เรารู้สึก addict อย่างเราอาจจะ addict facebook, IG story ไถไปเรื่อยๆ เหมือน dopamine มันหลั่ง เสพติดความทุกข์ เสพติดความเครียด เสพติดการเสือก เสพติดการได้ว่า ได้ติคนอื่น เสพติดการเปรียบเทียบ เราแก้มันได้นะ เราย้ายกิจกรรม ไปให้ Dopamine ไปหลั่งกับเรื่องอื่นๆแทนได้นะ
3. ความเศร้าไม่มีอยู่จริงมันคือการทำงานแบบหนึ่งของสมอง ลองมองอารมณ์เราให้เป็นอีกคนหนึ่ง มองให้เห็นตัวอารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่าให้มันนำเราไปได้
ตอนแรกเราก็ไม่รู้หรอกว่ามันต้องทำอะไร แค่รู้สึกว่าไม่อยากเป็นตัวเองในแบบที่เป็นอยู่ ไม่อยากฝืนๆ ไม่อยากมีความเศร้า ความหม่นๆ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง ซึ่งตามเกณฑ์วินิจฉัยโรคก็คือพวกนี้ก็จะ isolation แหละ ซึ่งเราก็ไม่อยากไปเจอใครแรกๆ เพราะ เรารู้ว่าเรากำลังจะทำให้บรรยากาศคนอื่นหมอง และเราก็ยังไม่พร้อมที่จะบอก หรือจะพูดในเรื่องอาการป่วยของตนเอง รู้สึกเหมือนได้ยินเสียง ของคนอื่นๆ พูดใส่หูเราตลอดเวลา ว่าเราเป็นอย่างงู้นอย่างงี้ จริงๆไม่มีหรอก มีแต่เสียงในหัวตัวเอง ที่บอกตัวเองว่าเรามันไม่ดีพอ imposter syndrome อ่ะเมิง กลัวจะไปทำไม่ดีหรืออารมณ์ไม่ดีใส่คนอื่น แต่แน่ล่ะ มันดาบสองคมนะ อยู่กับตัวเองมากไป risk suicide มันก็จะสูงนะ สำหรับตัวเราเอง
1. เราก็เลยเลือกที่จะทำกิจกรรมที่อยู่คนเดียวได้ ไม่ว่าจะเป็นต่อจิ๊กซอว์ ระบายสี ขูดสี ปักผ้า พอเราเริ่มทำสำเร็จ มันใช้การทำแบบสม่ำเสมอ มากกว่าที่จะเป็นการทำทีเดียวเสร็จเหมือนแต่ก่อน ทำวันละนิดวันละหน่อย ทำแล้วภูมิใจกับตัวเองจริงๆ ไม่ต้องบอกให้โลกรู้ ไม่ต้องพยายามคิดว่าคนอื่นจะสนใจในสิ่งที่เราทำหรือเราเป็น ไม่ใช้ยอดวิว ยอดไลค์มาตัดสินความรู้สึกดีของตนเอง คือจริงๆมันก็ดีใจที่เราทำได้แหละ แต่บางทีมันก็มีความคิดที่มาลดทอนความดีใจของเรา เช่น เอาลง social เพื่อให้คนมาดู มาชื่นชอบ ซึ่งบางทีถ้ามันไม่ได้ดั่งใจ เราก็จะ Fail ทำให้ความรู้สึกที่เรามีมันอาจจะไม่ได้ดีใจแบบสุด มันดีใจ แต่มีคำว่า “แต่…” ทำไมคนอื่นไม่เห็นมาสนใจด้วยเลย
Point นี้เราก็เริ่มเห็นตัวเองละว่าปัญหาของเรามันอยู่ตรงไหน เราเลย cut social ออกไป timeout ตัวเอง จะทำอะไร ไม่ต้องโลกรู้ วางผลงานไว้ตามจุดต่างๆของห้อง ให้เราได้อิ่มเอมกับมันจริงๆ นอกจากนี้ มันยัช่วยสงบสติอารมณ์เรา ทำให้เราอารมณ์เย็นลง เวลาโกรธมากๆ แล้วจัดการอารมณ์ไม่ได้ แล้วก็ยังเพิ่ม dopamine ใน reward system เราด้วย
2. พอ stable ต้องมาทดสอบการออกไปข้างนอกบ้าง ไปอยู่คนเดียวแหละ เที่ยวคนเดียวแต่ลองไปเที่ยวที่ใหม่ๆ ไปคนเดียว ขับรถไกลๆ ความรู้สึกครั้งนี้คือต่างกันเลยนะ เรารู้สึกว่าขับรถแบบระวังมาก ไม่อยากตายแล้ว แล้วมันก็ทำให้รู้ว่าโลกนี้ยังมีสิ่งสวยงามอยู่อีก ได้ลองออกไป connect กับคนอื่นมากขึ้น
3. ด่านถัดมา Check point อยู่กับตัวเองได้ดีทั้งในและนอกสถานที่ ลองมาใช้ชีวิตในสถานที่ทำงาน มีบททดสอบคืองาน เพื่อนร่วมงาน ปัญหาในการทำงานที่เกิดขึ้น เห้ย เราใจเย็นลงว่ะ มีสติมากขึ้น ไม่อารมณ์เสียง่าย เริ่มไม่ค่อยบ่น ไม่เก็บมาคิดวนไปวนมาแล้วเก็บมาหงุดหงิด มาด่าเขาในใจ เพื่อนเราสอนมาว่า ด่าเสร็จก็ทิ้งไปเลย เอ๊า ทำไมกูไม่เห็นทิ้งวะตอนแรก 555
4. ด่านถัดมา ลองทำอะไรที่อยากทำซิ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ เสี่ยงๆหน่อย อย่างเช่น การ call out ที่ recruit คนมาจำนวนมาก เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่างระดับประเทศ ตอนนั้นก็กลัวนะ แต่ก็คิดว่าเป็นสิ่งที่อยากทำ และคิดว่ามันถูกต้อง ซึ่งก็ดีใจ มีเพื่อนร่วมงานที่ดี รู้ลิมิตว่าตัวเราทำได้แค่ไหน อันไหนที่เกินมือเรา ซึ่งตอนนั้นเราก็ต่อสู้กับตัวเองหนักอยู่นะ ว่าถ้ามันมีปัญหาขึ้นมา เราจะทำยังไง เราจะโดนด่าไหม สุดท้าย ฮึบ ลองดู เออ ก็รอดอยู่นี่นา
5. แวะภูเขาน้ำแข็ง เขียนสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบในคนๆนึงออกมา แล้วก็เขียนความรู้สึกที่ตัวเองมีต่อสิ่งที่คนๆนั้นกระทำ เขียนไปเขียนมา เออ ของเข้าตัว กูก็เป็นแบบที่กูด่าเค้านี่นา แค่เรา project ไปหาคนอื่น ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ฮ่าๆ
6. ฝึกฟัง นั่งฟังเพื่อนเป็นวรรคเป็นเวร โดยไม่ขัด ไม่ใส่ความคิดตนเองลงไป ฟังจนจบ ฟังแบบไม่เปิดมือถือ ฟังแบบตั้งใจ ไม่ต้องแนะนำ ถ้าไม่รู้ ฟังเฉยๆ นั่งนิ่งๆ จับใจความที่เพื่อนต้องการจะสื่อ จับอารมณ์ต่างๆ ก็จะทำให้เรารู้จักคนตรงหน้ามากขึ้น เป็นการเรียนรู้ปัญหา หรือการใช้ชีวิตในแบบของคนอื่นๆ
7. ไปต่อ Check ความ stable ตัวเองขั้นสุด การพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่โดนด่าโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ เพื่อน หรือใดๆ อาจจะโดนด่าคนเดียว หรือต่อหน้ารุ่นน้อง ตั่งต่างๆ อันนี้คือหาทำจริงๆ จนบางทีคิดว่าเอ๊ะ นี่เราต้องทำขนาดนี้ไหมนะ ฮ่าๆ คือ เรารู้สึกว่าบางอย่างเราต้องพูดอ่ะ แม้มันจะต้องมีผลกระทบกลับมาแน่นอน แต่เรารู้สึกว่าผลดีมันมากกว่า เราก็เชื่อมั่นแล้วเราจะทำมัน เราถือว่า อารมณ์เศร้าเสียใจ ที่เกิดขึ้นมันเป็น Quest อย่างหนึ่งที่เราต้องรู้จักกับมันแล้วจัดการกับมัน คือมันก็มีโมเม้นที่เก็บมาคิด มาร้องไห้ มาระบายสี ขูดสี มาพิมพ์ Journal ระบาย คือจุดๆนั้นเราก็ต้องยอมรับผลของคำพูด การกระทำตัวเอง และยอมรับว่าเราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้ แต่เราจัดการที่ตัวเองได้
น่าแปลกนะ อารมณ์เศร้าพวกนั้นมันหดสั้นลงมาเรื่อยๆ ล่าสุดโดนโทรมาด่า เศร้าอยู่ประมาณ 2 นาที ยังพิมพ์ journal ไม่จบเลย หายละ คือมันเป็นความรู้สึกที่ทำให้เราทุกข์แล้วเราอยากปล่อยมัน เราอยากให้ตัวเองสุข เราเลยจะปล่อยมันให้เร็วที่สุด
8. ยัง ยังสุดได้มากกว่านี้ บอกคนอื่นไปสิว่าตัวเองป่วย ตัวเองเป็นคนไข้ที่เคยจะฆ่าตัวตายน่ะ จริงๆ อันนี้ที่แบบพิมพ์ออกมาได้ช่วงนั้น เพราะเราก็ต้องการสื่อสารให้คนหลายๆคนรู้ว่าการที่เราเป็นแบบนี้ไม่ผิดนะ แต่เราต้องรักษา และอยากให้เราพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตให้เป็นเรื่องปกติ มันก็คือโรคๆหนึ่ง ที่ฆ่าคนได้เหมือนกัน สมัยนี้เวลามีคนมาปรึกษาอะไรทำนองนี้ก็จะถามคำถามแรกคือมี Suicidal idea ไหม คือเราก็ถามเป็นปกติ ไม่ได้ว่ามันแปลกไง คือถ้ามีมันก็ต้องรีบจัดการกว่าเคสอื่นๆ ไม่งั้นมันก็อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เราได้คุยกับเขาก็ได้นะ
9. ลอง connect กับเพื่อนคนอื่นๆ ที่อาจจะไม่ใช่คนที่เราไปด้วยบ่อยๆ ไปเที่ยวนู่นนี่นั่น มันก็จะทำให้เรารู้จักคนที่หลากหลายมากขึ้น การอยู่ร่วมกันทั้งวัน มันก็จะทำให้เรายอมรับในข้อบกพร่องของคนอื่น และของตนเองได้ มองผ่านมันไป ไม่ต้องใส่ใจกับทุกอย่าง
10. ไปเจอคนใหม่ๆ กิจกรรมกลุ่ม คนที่เราไม่เคยรู้จักเลย เออ เปิดโลกอีกแบบนะ ตอนนี้ เหมือนเราปิดเสียงในหัวทั้งหมด เราเลิกตัดสินคนอื่นจากสิ่งต่างๆที่เราทำมาทั้งหมด ทำให้เรา apply มาใช้กับตัวเอง คือพอเราเลิกตัดสินคนอื่น เราก็จะไม่ตัดสินตัวเอง เช่นแบบ ทำแบบนี้ดูน่าอายจัง ทำไมดูงงๆ อะไรแบบนี้ ซึ่งทำให้เราเป็นตัวของเราได้ดีกว่าเดิม โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับเรา ไม่อายที่จะพูดหรือถามในสิ่งที่เราไม่รู้ มันช่วยให้เราลด Ego ลงมาได้ค่อนข้างเยอะเลยล่ะ แล้วมันก็ทำให้เรายอมรับการเปลี่ยนแปลง ยอมรับอะไรใหม่ๆได้มากขึ้น
แน่นอนว่าทุกอย่าง มันใช้เวลา ไม่ใช่ทำวันนี้พรุ่งนี้จะดีขึ้น ค่อยเป็นค่อยไป หลายๆอย่างถ้ามันหนัก มันต้องใช้เงิน ก็ไปทำอย่างอื่น มองให้ทุกอย่างคือ Quest อะไรที่เราทำแล้วมันต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเปลี่ยนเส้นทางเดิม เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนวิธีการพูดของตัวเอง เปลี่ยนมือจับแปรงสีฟัน เดินไปถามแม่บ้านว่าหมาชื่ออะไร เดินไปซื้ออาหารหมายี่ห้อใหม่มาให้น้องๆที่หอ การคุยกับใครที่เราไม่เคยคุย การล้างเพลี้ยออกจากผัก การยืนให้อาหารปลา การอุ้มแมวลงจากหลังคา การขับรถข้ามจังหวัดไม่เปิดแมป มันก็เป็นกิจกรรมหาทำหมดแหละ
ซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า
รักษาใจ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย