20 มี.ค. 2022 เวลา 06:47 • ไลฟ์สไตล์
นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ผมเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาด้วยครับ
ทักษะทางภาษามีทั้ง ฟัง, พูด, อ่าน, เขียน แต่ในช่วงเริ่มต้น การ “ฟังและอ่าน” น่าจะสำคัญที่สุด
1
และไม่ว่าภาษาใดๆ มักถูกจำแนกเป็น
1) “ภาษาทางการ”
ผมขอเรียกว่า “Formal หรือ Academics” ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้จากการฟังและอ่านจากสื่อที่เป็นทางการเช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือ Youtube ที่เจ้าของช่องเป็นสื่อเจ้าใหญ่ๆ
2) “ภาษาชาวบ้าน”
ผมขอเรียกว่า “General” ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ภาษาลักษณะนี้ได้จาก การดูหนังดูละครและฟังเพลง โดยการดูสื่อบันเทิงนี้จะช่วยให้เราเข้าใจการใช้ภาษาได้ดีเพราะมันถูกใช้ผ่าน “ภาษากาย: สีหน้า แววตา ท่าทาง น้ำเสียง” ของนักแสดงอาชีพ
เช่น
ชาวตะวันตกเวลาชิมอาหารในรายการแข่งทำอาหาร เขาสามารถพูดว่า
“That’s beautiful!” แทน “delicious”
หรือใน ละครจากญี่ปุ่นสามารถใช้
“umai” แทน “oishii” (อร่อย)
3) ผมมักให้ความสำคัญกับ context หรือปริบทมากกว่าการจำคำศัพมีโดยตรงครับ และไวยากรณ์ที่แข็งแกร่งจะทำให้รู้สึกว่า น่าจะพอเดาความหมายของคำนั้นๆออก ถึงแม้เราจะไม่รู้ความหมายโดยตรง เช่น เดาออกว่า เป็น noun หรือ adjective, หรือ adverb, หรือ verb หรือ อาจเดาได้ว่าคำนั้นน่าจะมีความหมายเชิงบวกหรือลบ
กรณีศึกษาจริงที่เกิดกับผมตอนที่ผมดูภาพยนตร์เรื่อง Green Zone เป็นฉากท้ายๆของเรื่องที่ พระเอกซึ่งเป็นทหารต้องการให้อีกฝ่ายที่หลบหนี วางอาวุธ พระเอกพูดขึ้นประมาณว่า I came here to BRING you IN.
ผมเคยได้ยินแต่ bring on แต่นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า bring in และผมพอเดาออกว่า น่าจะแปลว่า จับกุม หรือ to arrest someone
คือเป็นการเรียนในลักษณะ senario based learning เช่น การไปร้านอาหาร, การไปเลือกดู apartments หรือห้องเช่า, หรือการไปสอบใบขับขี่ในต่างประเทศ! การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองจะแสดงให้เห็นถึงหลักไวยากรณ์และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง และง่ายในการจดจำขึ้น
3) ผมเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานมาบ้าง แน่นอนว่ามีคำศัพท์ที่ผมไม่รู้อีกมากมาย แต่ผมเคยทำงานกับชาวญี่ปุ่นและเขาสอนผมให้กล่าวว่า
otsukaresama deshita
ซึ่งใช้กล่าวหลังเลิกงาน มีความหมายในลักษณะ “thank you for your hard work”
และผมจำทั้งคำกล่าวนี้และความหมายของมันได้ จากการใช้งานจริงๆ!
โฆษณา