22 มี.ค. 2022 เวลา 00:30 • สุขภาพ
ภาวะสมองล้า หลังการเป็นโควิด ( Long COVID: Brain fog)
หนึ่งในภาวะผิดปกที่สำคัญที่พบได้หลังการเป็นโควิด คือ ภาวะสมองล้า ซึ่งหมายถึงอาการดังต่อไปนี้
👉 การเสียสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อทำงานได้ (Poor concentration)
👉 รู้สึกสับสน งง เหมือนพึ่งตื่นนอน (Feeling confused)
👉 รู้สึกคิดช้ากว่าปกติ (Thinking more slowly than usual)
👉 รู้สึกหัวไม่โล่ง คิดอะไรไม่ค่อยออก (Fuzzy thoughts)
👉 ขี้หลงขี้ลืม (Forgetfulness)
👉 คิดคำบางคำไม่ค่อยออก (Lost words)
👉 รู้สึกมีความล้าทางจิตใจ ต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติในการคิดเรื่องต่างๆ (Mental fatigue)
😣ภาวะสมองล้า😣
อาจรู้สึกเหมือนเวลาที่อดหลับอดนอน หรือเครียด แต่จะไม่เหมือนกับภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสียหายที่ตัวเนื้อสมอง โดยส่วนใหญ่สามารถดีขึ้นได้ สามารถพบได้หลังการติดเชื้อ อุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ศีรษะ หรือช่วงกำลังหมดประจำเดือน(Menopause) และพบได้บ่อยในผู้ที่มีความตึงเครียด ความกังวลสูง
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด สามารถพบภาวะนี้ได้ทั้งผู้ที่ป่วยแล้วต้องนอนโรงพยาบาล และในภาวะลองโควิด(Long covid)
🥳 สิ่งที่ควรทำเพื่อให้ภาวะสมองล้าดีขึ้น
☘️ ควรพิจารณาหาสาเหตุ เช่น เรื่องที่ทำให้เครียด หรือกังวลใจ และสิ่งกระตุ้นอื่นๆ เช่น งาน และครอบครัว แล้วแก้ไข
☘️ ดื่มน้ำให้เพียงพอ 1.5-2 ลิตรต่อวัน
☘️ นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8ชม. หลีกเลี่ยงการนอนดึก และการอดหลับอดนอน
☘️ ออกกำลังกายตามความสามารถ ให้สม่ำเสมอ และถ้าเป็นไปได้ควรออกในที่แจ้งร่วมด้วย
☘️ กินอาหารที่มีคุณค่า และเพียงพอ
☘️ ทำสมาธิ ฝึกหายใจ และการปล่อยวาง
☘️ รู้จักผ่อนคลายจากความเครียด ความกังวล พักเบรคระหว่างการทำงานบ้างอย่างเหมาะสม
☘️ มีกิจกรรมที่สร้างความบันเทิง อย่างเหมาะสม เช่น เล่นเกมส์ ทำสวน เล่นโยคะ ฝึกยืดเหยียด ทักทายกับเพื่อนและคนรอบตัว
☘️ หลีกเลี่ยง เหล้า บุหรี่ และยาเสพย์ติด
อย่างไรก็ตามหากอาการยังไม่ดีขึ้นท่านควรหาที่ปรึกษา นักบำบัด หรือพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม
นพ.อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา
อ้างอิง
- Long-term effects of COVID-19. NHS inform. The Scottish Government. www.nhsinform.scot ; 09 February 2022
- Your Brain Fog May Be an Anxiety Symptom — Here’s How to Deal with It. Crystal Raypole, www.healthline.com ; March 27, 2020.
โฆษณา