22 มี.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไทยขาดดุลการค้า มายาวนาน
ช่วงเวลา 23 ปี นับจากปี 2541 ถึงปี 2564 ไทยขาดดุลการค้ากับมาเลเซียถึง 22 ปี
มีเพียงปีเดียวคือปี 2551 ที่ไทยเกินดุลการค้ากับมาเลเซีย
โดยในบรรดาประเทศอาเซียน 10 ประเทศ
มีเพียงมาเลเซียและบรูไน ที่ไทยขาดดุลการค้า
และมาเลเซียเป็นประเทศที่ไทยขาดดุลการค้ามากที่สุดในอาเซียน
7
ถึงแม้ในปี 2564 ไทยจะส่งออกสินค้าไปยังมาเลเซียเป็นมูลค่ากว่า 380,200 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 41% ไทยก็ยังขาดดุลการค้ากับมาเลเซียเป็นมูลค่า 3,700 ล้านบาท
การค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้เป็นอย่างไร
ไทยนำเข้าอะไรจากมาเลเซียบ้าง จึงทำให้ขาดดุลการค้ามายาวนานขนาดนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
3
ไทยกับมาเลเซียมีความสัมพันธ์ทางการค้ากันมานาน นับตั้งแต่มาเลเซียก่อตั้งประเทศ
โดยมาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548
เป็นรองเพียงจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่แตกต่างจากมาเลเซียที่มีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กกว่ามาก
แล้วไทยนำเข้าอะไรจากมาเลเซียบ้าง ?
3
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2510-2520 ด้วยสภาพภูมิอากาศของมาเลเซียที่ใกล้เคียงกับทางภาคใต้ของไทย ทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรที่คล้ายคลึงกัน เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา
4
แต่ทรัพยากรธรรมชาติที่มาเลเซียมีมากกว่าไทยก็คือ “น้ำมันดิบ” โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันดิบ ขนาดใหญ่ใกล้กับเกาะบอร์เนียว ไทยจึงเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบจากมาเลเซีย
5
ยิ่งในช่วงปี 2518-2525 ซึ่งตรงกับวิกฤติน้ำมันโลกช่วงทศวรรษ 1970s ซึ่งราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึง 4 เท่าจากช่วงก่อนหน้า ไทยจึงขาดดุลการค้ากับมาเลเซียมานับตั้งแต่นั้น..
จนมาถึงช่วงปี 2543 หรือช่วงทศวรรษ 2000s
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของมาเลเซียที่วางแผนพัฒนามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970s
โดยมีศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอยู่ที่รัฐปีนัง ทำให้มาเลเซียก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก
4
สินค้าจำพวกคอมพิวเตอร์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงก้าวขึ้นมาเป็นสินค้าหลักอันดับหนึ่ง
ที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซีย
1
อาจจะมีบ้าง บางช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันพุ่งสูง จนน้ำมันดิบกลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่านำเข้าจากมาเลเซียอันดับหนึ่ง สลับกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ในปี 2564 ไทยนำเข้าสินค้าจากมาเลเซีย มูลค่า 383,900 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วน 4.5% ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด
โดยสินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซียมากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 49,300 ล้านบาท
2. เคมีภัณฑ์ 46,900 ล้านบาท
3. น้ำมันดิบ 36,200 ล้านบาท
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 30,000 ล้านบาท
5. แผงวงจรไฟฟ้า 25,600 ล้านบาท
2
อุตสาหกรรมที่มาเลเซียมีศักยภาพ ก็คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
1
โดยมาเลเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อันดับ 8 ของโลก โดยเฉพาะเซมิคอนดักเตอร์ ที่มาเลเซียมีสัดส่วนการผลิตกว่า 10% ของสัดส่วนการผลิตโลก
2
แล้วไทยส่งออกอะไรไปยังมาเลเซียบ้าง ?
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2541 สินค้าหลักของไทยที่ส่งออกไปยังมาเลเซีย 3 อันดับแรก
ได้แก่ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ข้าว และยางพารา
4
ช่วงปี 2550 เมื่อสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาสูง ยางพาราจึงก้าวขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่ง
จนมาถึงในช่วงปี 2555 สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย เป็นน้ำมันสำเร็จรูป กับรถยนต์และส่วนประกอบ และสลับกันครองอันดับหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน
โดยในปี 2564 ไทยส่งออกสินค้าไปยังมาเลเซีย มูลค่า 380,200 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วน 4.5% ของมูลค่าส่งออกของไทยทั้งหมด
1
สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังมาเลเซียมากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. รถยนต์และส่วนประกอบ 39,300 ล้านบาท
2. น้ำมันสำเร็จรูป 33,900 ล้านบาท
3. คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 31,700 ล้านบาท
4. ยางพารา 25,400 ล้านบาท
5. เคมีภัณฑ์ 18,300 ล้านบาท
4
จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมของไทยที่มีศักยภาพโดดเด่นกว่ามาเลเซียอย่างชัดเจน ก็คือ อุตสาหกรรมยานยนต์
6
ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยความที่มีบริษัทผลิตมากมายอยู่ในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมนี้ เป็นข้อได้เปรียบในเรื่องความหลากหลายรวมอยู่ในฐานการผลิตเดียว
1
ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพโดดเด่น และการส่งออกไปยังมาเลเซียก็เติบโตอย่างน่าสนใจ เช่น
- อุตสาหกรรมพลาสติก
ไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตเม็ดพลาสติกที่สำคัญของอาเซียน ซึ่งมีที่มาจากการมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีขนาดใหญ่ และมีประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง
1
โดยในปี 2564 เม็ดพลาสติกเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 7 คิดเป็นมูลค่า 13,600 ล้านบาท
เติบโตจากปีก่อนหน้า 47% และผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 14 มูลค่า 5,600 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 20%
4
ซึ่งหากไทยสามารถต่อยอดอุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เฉพาะได้ เช่น เครื่องมือแพทย์ หรือชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ก็จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมพลาสติกได้เป็นอย่างดี
4
- อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง
ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว เป็นอันดับ 3 ของโลก
โดยต่อยอดมาจากการมีอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปที่แข็งแกร่ง ซึ่งมาเลเซียก็เป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 และมีการเติบโตที่น่าสนใจ
4
ในปี 2564 ไทยส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงไปยังมาเลเซีย มูลค่า 5,200 ล้านบาท
ถึงแม้จะเป็นอันดับที่ 15 ของสินค้าส่งออก แต่ก็เติบโตถึง 33%
จากมูลค่าการส่งออกในปี 2563
 
เรียกได้ว่า หากสังเกตจากสินค้านำเข้า-ส่งออกแล้ว
สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซีย
คือคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และน้ำมันดิบ
2
น้ำมันดิบเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่คงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และไทยอาจต้องนำเข้าทรัพยากรชนิดนี้จากมาเลเซียต่อไป
1
ส่วนคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นสินค้าที่เป็นจุดแข็งของมาเลเซีย ที่วางแผนวิจัยและพัฒนามานาน ซึ่งหากไทยต้องการลดการนำเข้าในส่วนนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันวางแผนวิจัยผลิตภัณฑ์ และพัฒนาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทรนด์ในอนาคตมากยิ่งขึ้น
3
ส่วนสินค้าส่งออกหลักที่เป็นจุดแข็งของไทย คือ รถยนต์และส่วนประกอบ
ซึ่งไทยมีฐานการผลิตที่ครบครัน แต่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์อาจจำเป็นต้องวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลง กับยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต
1
และไทยอาจต้องพัฒนาสินค้าอื่น ๆ ที่มีศักยภาพให้โดดเด่นมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ทั้งอาหารฮาลาล และอาหารสัตว์เลี้ยง
1
รวมถึงอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นเทรนด์ในอนาคต เช่น อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือแพทย์ ยารักษาโรค ไปจนถึงชีววัตถุ อย่างวัคซีน
2
หากประเทศไทยสามารถคงศักยภาพในอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง และพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์เทรนด์ในอนาคตได้ ก็น่าจะมีความหวังว่า ประเทศไทยจะสามารถค้าขายเกินดุลการค้ากับมาเลเซียได้บ้าง ในวันหนึ่งข้างหน้า..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ถึงแม้ไทยจะขาดดุลการค้ากับมาเลเซียมาเป็นเวลายาวนาน แต่หากคำนึงถึงภาคบริการอย่างการท่องเที่ยวแล้ว ถือว่าไทยดึงดูดรายได้จากชาวมาเลเซียมาเป็นเวลานานเช่นกัน
1
โดยเฉพาะในปี 2562 ช่วงก่อนวิกฤติโควิด 19
นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียจับจ่ายใช้สอยในไทยกว่า 107,400 ล้านบาท
ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปใช้จ่ายที่มาเลเซียเพียง 31,900 ล้านบาท
1
ก็ต้องบอกว่าประเทศไทยคงไม่ต้องห่วงว่า ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงจะมาเป็นคู่แข่งด้านการท่องเที่ยว เพราะแม้แต่คนมาเลเซียที่ดูเหมือนจะเป็นคู่แข่ง ยังชอบมาเที่ยวประเทศไทย..
4
โฆษณา