28 มี.ค. 2022 เวลา 02:00 • ท่องเที่ยว
ในอนาคตอันใกล้นี้พวกเราทุกคนกำลังจะมีทางเลือกใหม่ของการเดินทางด้วยรถไฟที่รวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้นเป็นกอง ด้วยรถไฟระบบทางคู่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ และพวกเรา "บ้านและสวน Explorers Club" ก็ไม่พลาดที่จะมาเยี่ยมชมการก่อสร้างทางรถไฟนี้ให้เห็นกับตาว่ามันน่าสนใจขนาดไหน
3
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเราไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟยิ่งหาชมยากมากเข้าไปอีก แค่เรารู้ว่าจะได้มาเยี่ยมชมอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศ มันยิ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับเราเป็นอย่างมาก เราไม่รอช้ารีบบึ่งรถจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรีโดยทันที จุดหมายปลายทางของเราในครั้งนี้คือ อุโมงค์รถไฟในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่องมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 เส้นทางรถไฟทางคู่ที่ตั้งอยู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ
1
อุโมงค์รถไฟในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่องมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 เส้นทางรถไฟทางคู่ที่ตั้งอยู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ
พวกเราได้นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ คุณวรัญญา แซ่ชื้อ วิศวกรโยธาประจำสำนักงานของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา และคุณกัลยา วอนอก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทั้งสองท่านจะคอยเป็นไกด์ให้พวกเราในครั้งนี้ เราเริ่มต้นกันที่จุดเริ่มต้นของโครงการปากทางอุโมงค์มาบกะเบา พวกเราค่อย ๆ ขับรถเข้าไปด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เปิดไฟไปตลอดเส้นทางเพราะบางช่วงความสว่างน้อย
1
ด้านหน้าทางเข้าของอุโมงค์ มีสองช่องทางทั้งขาขึ้น แลขาล่อง เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง รถไฟไม่ต้องหยุดรอเพื่อใช้รางร่วมกัน
ด้านขาวมือที่มีแสงไฟส่องออกมานั่นคือ ห้องควบคุม และทางออกฉุกเฉินที่ถูกสรา้งไว้เป็นระยะ ๆ ตลอดเส้นทางในอุโมงค์
ทางเดินหนีภัยจะเชื่อมต่อกับทางออกฉุกเฉิน ถูกสร้างขึ้นตลอดเส้นทางในอุโมงค์เพื่อความปลอดภัย
เราได้จอดรถลงในบางจุดเพื่อเก็บภาพความคืบหน้าของการก่อสร้างมาฝาก ต้องบอกเลยคนงานทุกคนกำลังทำงานกันอย่างเต็มที่เลยทีเดียว ระยะทางในอุโมงค์นี้มีความยาวโดยรวมแล้วประมาณ 5 กิโลเมตร ในอุโมงค์จะมีทางเดินหนีภัยด้านข้างยาวไปตลอดเส้นทาง มีทางออกฉุกเฉินและเป็นห้องควบคุมถูกสร้างเอาไว้เป็นระยะ เพื่อความปลอดภัยหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาก็จะสามารถใช้ทางเดินนี้ไปสู่ทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุดได้
เราเข้ามาถึงกลางทางก็ไม่สามารถไปต่อยังปลายอุโมงค์ได้ เนื่องจากข้างหน้ามีการทำงานของเจ้าหน้าที่อยู่ เพื่อไม่เป็นภาระของการทำงานของเจ้าหน้าที่ เราจึงต้องหักพวงมาลัยรถเลี้ยวออกไปทางเส้นทางที่ถูกทำขึ้นเพื่อการก่อสร้างโผล่มาที่สถานีผาเสด็จ หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จวิวตรงนี้พวกเราจะไม่ได้เห็นแล้ว เพราะรถไฟจะลอดผ่านอุโมงค์ที่สร้างขึ้นแทน แต่ตัวสถานีผาเสด็จและรางรถไฟเส้นเก่ายังคงอยู่แต่จะถูกใช้เพื่อการขนส่งสินค้าเป็นหลัก
1
หลังจากนั้นเราเดินทางกันต่อไปที่ทางรถไฟยกระดับจุดที่ 1 ตรงนี้เราจะเห็นอำเภอมวกเหล็กอยู่ในหุบเขาไกล ๆ มีทางรถไฟยกระดับสูงขึ้นมา 50 เมตรโดยประมาณ ทางยกระดับนี้จะถูกเชื่อมต่อมาจากอุโมงค์ ทำให้รางรถไฟอยู่ในระนาบเดียวกัน ทำให้รถไฟไม่ต้องชะลอตัวในบริเวณที่เป็นเส้นทางขึ้นเขา ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้มากขึ้นและใช้เวลาน้อยลงในการเดินทาง
2
ความปลอดภัยสำคัญมากในการทำงาน
บริเวณนี้เป็นอุโมงค์ที่ถูกขุดแยกออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้าง หลังจากสร้างเสร็จก็จะถูกปิดไว้เหลือเพียงแค่ทางที่รถไฟจะผ่านเพียงอุโมงค์เดียว
บริเวณสถานีผาเสด็จหลังจากที่ก่อสร้างเสร็จ วิวตรงนี้พวกเราจะไม่ได้เห็นแล้ว เพราะรถไฟจะลอดผ่านอุโมงค์ที่สร้างขึ้นแทน แต่ตัวสถานีผาเสด็จและรางรถไฟเส้นเก่ายังคงอยู่แต่จะถูกใช้เพื่อการขนส่งสินค้าเป็นหลัก
สถานีผาเสด็จยังคงสวยและคลาสสิกมาก
อุโมงค์เทียมที่กำลังถูกสร้างขึ้นไว้เพื่อจำกัด การรับน้ำในบริเวณสถานีหินลับ
สถานีมวกเหล็กใหม่ ที่เป็นทางรถไฟยกระดับ
ที่เห็นด้านหลังไกล ๆ นั่นคือ เมืองมวกเหล็ก มีทางรถไฟยกระดับสูงขึ้นมา 50 เมตรโดยประมาณ ทางยกระดับนี้จะถูกเชื่อมต่อมาจากอุโมงค์ ทำให้มีเส้นทางทางอยู่ในระนาบเดียวกันทำให้รถไฟไม่ต้องชะลอตัวในบริเวณที่เป็นเส้นทางขึ้นเขา ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้มากขึ้นทีเดียว
ทางยกระดับของรถไฟนั้นจะเป็นการปรับจุดตัดเพื่อช่วยรถการเกิดอุบัติเหตุในการสัญจรผ่านจุดตัดทางรถไฟ
รางรถไฟเส้นเก่ายังคงอยู่แต่จะถูกใช้เพื่อการขนส่งสินค้าเป็นหลัก
ข้อดีของรถไฟระบบทางคู่นี้ก็คือ รางรถไฟถูกแยกเป็นสองเส้นทางระหว่างเที่ยวขาขึ้น และขาล่องทำให้รถไฟทั้งสองเที่ยวไม่ต้องหยุดรอเพื่อใช้รางร่วมกันอีกต่อไป ทำให้ประหยัดเวลาและประหยัดพลังงานแล้ว การสร้างอุโมงค์และทางยกระดับของรถไฟนั้นจะเป็นการปรับจุดตัดเพื่อช่วยรถการเกิดอุบัติเหตุในการสัญจรผ่านจุดตัดทางรถไฟ และช่วยกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคในอนาคตและแน่นอนว่าในเรื่องของการท่องเที่ยวนั้นเราก็จะสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างสะดวกอีกด้วย ไว้คราวหน้าถ้าเสร็จสมบูรณ์เมื่อไหร่ พวกเราจะขอมาลองใช้เดินทางและเก็บมาเล่าให้ฟังกันอีกแน่นอน
ขอบคุณการรถไฟแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้พวกเราเข้ามาสำรวจเส้นทางอุโมงค์รถไฟทางคู่นี้
EXPLORERS : บาส, เฟี้ยต
PHOTOGRAPHER : ฤทธิรงค์ จันทองสุข
จุดประกายความเป็นนักท่องโลกในตัวคุณ เข้าไปชมไลฟ์สไตล์เอ๊าต์ดอร์สนุกๆได้ที่ www.facebook.com/ExplorersClub
โฆษณา