Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
22 มี.ค. 2022 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
ทำไม ธุรกิจหลักทรัพย์ เติบโตดี ช่วงที่ผ่านมา
แม้ว่าปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทย จะเริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 ไปบ้าง
แต่หลายธุรกิจก็ยังไม่ฟื้นกลับไปจุดเดิม
อย่างเช่น โรงแรม สนามบิน ร้านนวด-สปา
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในธุรกิจที่เรียกว่าไม่เจ็บ แล้วยังเติบโตในวิกฤติครั้งนี้คือ ธุรกิจหลักทรัพย์
ทำไมธุรกิจหลักทรัพย์ถึงยังเติบโต สวนทางกับอีกหลายธุรกิจ
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลองมาดูตัวอย่าง ผลประกอบการของบริษัทหลักทรัพย์ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในไทย
ผลประกอบการของ บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 1,881 ล้านบาท กำไร 416 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 3,033 ล้านบาท กำไร 978 ล้านบาท
รายได้เติบโต 61% กำไรเติบโต 135%
ผลประกอบการของ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 3,668 ล้านบาท กำไร 568 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 5,356 ล้านบาท กำไร 1,858 ล้านบาท
รายได้เติบโต 46% กำไรเติบโต 227%
1
ผลประกอบการของ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 2,818 ล้านบาท กำไร 484 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 3,593 ล้านบาท กำไร 761 ล้านบาท
รายได้เติบโต 28% กำไรเติบโต 57%
เรียกได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว เติบโตอย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา
แล้วธุรกิจหลักทรัพย์เหล่านี้ มีรายได้มาจากไหน ?
รายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจหลักทรัพย์ มาจาก
- รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ
- รายได้ค่าดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
- รายได้ค่านายหน้า จากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์
- ค่าธรรมเนียมที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ผลประกอบการของธุรกิจหลักทรัพย์เติบโตในช่วงที่ผ่านมา
โดยบริษัทหลักทรัพย์บางแห่ง มีรายได้ที่มาจากค่าธรรมเนียมที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ สูงกว่า 50% ของรายได้รวมเลยทีเดียว
หรืออธิบายง่าย ๆ คือ รูปแบบการทำรายได้ของธุรกิจหลักทรัพย์
คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจับคู่ซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุน โดยค่าตอบแทนก็คือ ค่าธรรมเนียมจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เหล่านั้น
ซึ่งไม่ว่าคนซื้อหรือขายจะมีกำไรหรือขาดทุน
บริษัทหลักทรัพย์จะได้ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ทุกครั้ง
ทีนี้เรามาดู มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงที่ผ่านมา
ปี 2563 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 68,607 ล้านบาทต่อวัน
ปี 2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 93,846 ล้านบาทต่อวัน
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ 37%
1
คำถามคือ แล้วทำไมมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ถึงเพิ่มขึ้นมาก ?
ต้องบอกว่าเรื่องนี้มีปัจจัยที่สนับสนุนหลายอย่าง เช่น
- จำนวนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้น (สถิติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
ณ สิ้นปี 2563 มีประมาณ 3.5 ล้านบัญชี
ณ สิ้นปี 2564 มีประมาณ 5.2 ล้านบัญชี
- ความสะดวกในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่สะดวก รวดเร็ว ทำให้นักลงทุนสามารถเปิดบัญชีได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต
- นโยบายการกระจายการจัดสรรหุ้นเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ให้แก่รายย่อยมากขึ้น ของหลายบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้น ช่วยสนับสนุนให้คนทั่วไปเข้ามาในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น
1
- ภาวะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้นักลงทุนต้องมองหาสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร ซึ่งการลงทุนในหุ้นก็คือหนึ่งในทางเลือกนั้น
จะเห็นว่าหลายปัจจัยที่ว่ามานี้ เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยนั้นเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา
ซึ่งหนึ่งในคนที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้มากที่สุดคนหนึ่ง ก็คือ บริษัทหลักทรัพย์ นั่นเอง..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
References:
- แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2563, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2564, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2564, บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2564, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
-
https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
-
https://www.bangkokbiznews.com/business/993438?fbclid=IwAR2ZIzvud6UQlPik18054M7hm5DJdFRKmRcaFA6S1yYm9vQlMeXpZ9mdcrA
2
ธุรกิจหลักทรัพย์
ธุรกิจ
19 บันทึก
33
13
19
33
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย