23 มี.ค. 2022 เวลา 00:39 • ความคิดเห็น
เรา Burnout แบบไหน (คำใบ้: มี 3 แบบ)
ช่วงสองปีที่ผ่านมาหลายคนคงเคยเจออาการ burnout กันมาบ้างไม่มากก็น้อย
1
หากอยากจะรักษาอาการ burnout เราควรต้องรู้ก่อนว่าสาเหตุเกิดจากอะไร จะได้เกาให้ถูกที่คัน
อาการ burnout นั้นเกิดได้จากสามปัจจัย
หนึ่งคือความเหนื่อยล้า (exhaustion) ทั้งทางกายและทางสมอง
สองคือความชังโลก (cynicism) มองคนอื่นในแง่ร้าย ไม่อยากสุงสิงกับใคร
และสามคือความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า (helplessness/incompetence)
ซึ่งอาการ bunrout อาจจะเกิดจากปัจจัยหนึ่งในสามข้อนี้ หรือมากกว่าหนึ่งข้อก็ได้
เราสามารถวัดได้ว่าตัวเอง burnout แบบไหนด้วยการทำเทสต์อย่าง Maslach Burnout Inventory เพื่อให้เห็นว่าปัจจัยไหนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด
วิธีรักษาตัวจากอาการ burnout มีดังนี้
1. ถ้าเหนื่อยก็พัก - ถ้าปัจจัยหลักคือ exhaustion ก็อาจจะลางาน ให้คนอื่นช่วยแบ่งเบาภาระที่บ้าน เพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อนให้มากที่สุด
2. ถ้าชังโลก ให้เชื่อมสัมพันธ์ - ถ้าปัจจัยหลักคือ cynicism มองบริษัทและคนรอบกายด้วยสายตาที่ไม่ไว้วางใจหรือดูหมิ่นเหยียดหยาม การหยุดไปพักผ่อนอาจไม่ได้ช่วยมากนัก วิธีที่จะช่วยได้มากกว่า คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (connect with people in a meaningful way) เช่นทำงานอาสา โทรไปหาเพื่อนเก่า หรือทำเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เพื่อช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น
3. ถ้ารู้สึกว่าไร้ค่า ให้มองหา "งานใหม่" - ความรู้สึกว่าไร้ค่า อาจเกิดขึ้นได้เพราะว่างานที่ทำปัจจุบันไม่ได้เปิดโอกาสให้ได้ใช้ความสามารถหรือใช้สมองเท่าที่ควร หรือในอีกฝั่งหนึ่งก็คือ งานที่ได้รับมันไม่ได้ fit กับตัวเรา ทำให้เรารู้สึกว่าทำเท่าไหร่ก็ทำได้ไม่ดีเสียที
1
ซึ่งหากกำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ให้ลองอาสารับโปรเจ็คใหม่ๆ ที่เราสนใจ หรือให้เวลามากขึ้นกับการออกกำลังกายหรืองานอดิเรกที่เราทำได้ดี และถ้างานหลักที่เราทำอยู่มันเหลือจะทนจริงๆ พยายามปรับแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ก็ลองหาทางที่จะ rotate ตำแหน่งงานภายในบริษัท หรือไม่ก็มองหางานใหม่
คำแนะนำข้อ 2 และ 3 อาจจจะขัดกับ common sense อยู่บ้าง เพราะเวลาเรา burnout ปฏิกิริยาแรกของเราคืออยากอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย
แต่ในบางครั้ง เราสามารถรักษาอาการ burnout ได้ด้วยการทำสิ่งที่ใช่ให้มากขึ้น (recovery is about doing more of the right things)
และก็เหมือนกับโรคอื่นๆ ถ้าเรารักษาแต่เนิ่นๆ ได้ก็จะดี เพราะในระยะแรกเริ่มเรายังพอมีความคิดสร้างสรรค์ (creativity) ที่จะหาทางออก แต่ถ้าปล่อยให้อาการ burnout มันเรื้อรังไปเรื่อยๆ ความคิดสร้างสรรค์ของเราก็จะหดหายไปเช่นกัน
ขอให้ทุกคนพ้นภัยจาก burnout นะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก Lifehacker What Kind of Burnt Out Are You? (And Why It Matters) by Rachel Fairbank
โฆษณา