Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
kaopoon Talk
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2022 เวลา 07:22 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรอยคดีดัง : เลาด้าแอร์ คดีเครื่องบินตกในจังหวัดสุพรรณบุรี
คดีที่สร้างความอัปยศและอับอายให้คนไทยทั้งชาติ
1
ก่อนที่จะเล่าเรื่องเหตุการณ์เครื่องบินตก เราไปทำความรู้จักผู้ก่อตั้งสายการบินเลาด้าแอร์กันก่อนครับ เพราะชายคนนี้เป็นคนที่มีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดมาตรฐานการบินของโลก ณ ปัจจุบัน
ผู้ก่อตั้งสายการบินเลาด้าแอร์มีชื่อว่า นิกกี้ เลาด้า ก่อนที่เขาจะมาเปิดสายการบินเขาเป็นนักแข่งรถ F1 แชมป์โลกหลายสมัยชาวออสเตรีย และหลังจากนั้นเขาเริ่มเข้ามาสนใจธุรกิจการบิน
และเริ่มเปิดกิจการเครื่องบินเช่าเหมาลำเล็กๆก่อนจะขยับขยายให้ใหญ่โตจนเขาได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจการบินจากกระทรวงการขนส่งของ ออสเตรีย เขาจึงเริ่มเปิดเส้นทางการบินแบบเช่าเหมาลำโดยใช้เครื่องบินแบบ BOEING 767 โดยมีต้นทางจากกรุงเวียนนา ไปยังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป
นอกจากที่จะเป็นเจ้าของกิจการแล้วเขายังเป็นกัปตันคอยขับเครื่องบินด้วยตัวเองอีกด้วย และนี่คือจุดเริ่มต้นของสายการบินเลาด้าแอร์
วันที่เกิดเหตุคือวันที่ 26 พฤษภาคม 2534 สายการบินเลาด้าแอร์เดินทางมาจากฮ่องกงด้วยเครื่องบินโบอิ้ง767-300ER มาจอดรับส่งผู้โดยสารที่สนามบินดอนเมือง ประเทศไทย ก่อนที่จะทำการตรวจสภาพเครื่องอย่าละเอียดและขึ้นบินต่อในช่วงเวลา 23.02 น. จุดหมายคือกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
คนที่อยู่บนเครื่องบินมีทั้งหมด 223 คนประกอบด้วยลูกเรือ 10 คนและผู้โดยสาร 213 คนในจำนวนนี้มีชาวไทยอยู่ 39 คน
แต่หลังจากขึ้นบินได้เพียง 15 นาทีสัญญาณของเครื่องบินลำนี้ก็ขาดหายไป ทางศูนย์ควบคุมการบินก็พยายามติดต่อหาสัญญาณของเครื่องลำนี้แต่ก็ไม่เป็นผล และหลังจากนั้นไม่นานทางศูนย์ค้นหาและช่วยชีวิตก็ได้รับรายงานจากวิทยุของตำรวจว่า
มีชาวบ้านได้ยินเสียงระเบิดและเห็นลูกไฟขนาดยักษ์ตกลงมาจากท้องฟ้า บริเวณที่เกิดเหตุคืออุทยานแห่งชาติเขาพุเตย อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี และนั้นคือเที่ยวบินของเลาด้าแอร์นั่นเอง
หลังจากที่ทางการรับรู้ถึงอุบัติเหตุทั้งหมดพวกเขาได้ประสานงานไปยังบริษัทเลาด้าแอร์และบริษัทโบอิ้งทันที และได้ตั้งทีมสืบสวนสอบสวนอากาศยานเฉพาะกิจขึ้นมา โดยทีมนี้ได้ร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ไทย เจ้าหน้าที่ออสเตรียและเจ้าหน้าที่อเมริกา
1
และหลังจากนั้นสิ่งที่ทำให้เป็นเหมือนการนำความอัปยศและอับอายมาสู่ประเทศไทยก็คือ
1. เจ้าหน้าที่ทีมเฉพาะกิจ อาสากู้ภัย แพทย์ และนักข่าวไม่สามารถไปถึงจุดเกิดเหตุได้ทันที เพราะมีชาวบ้าน (ไทยมุง) ที่ได้ยินข่าวและอยากรู้เรื่องได้เดินทางมาดูที่เกิดเหตุทั้งขับรถส่วนตัวมา ทั้งจ้างเหมารถกระบะมา คือมาจนรถติดยาวไปถึงล่างตีนเขา
2
2. ชาวบ้าน/คนที่ไม่เกี่ยวข้องไปถึงก่อนและเข้าไปวุ่นวายกับสถานที่เกิดเหตุ อ้างอิงจากคำพูของคุณ สุวิช สุทธิประภา ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์ ณ ขณะนั้นเขาได้บอกว่า ผู้คน(ไทยมุง)มากมายเข้าไปหยิบและขโมยของจากเครื่องบิน ทั้งลากกระเป๋าใบใหญ่ๆหนีไปในป่า ทั้งขโมยของมีค่าจากศพ ทั้งขโมยอะไหล่ที่ดูมีประโยชน์จากซากเครื่องบิน
3
2
3. ที่แย่กว่าคือมีพวกนายทุนมาตั้งเต้นท์รับซื้อของและแลกแบงค์ดอลลาร์อยู่บริเวณตีนเขา คือใครที่ขโมยแบงค์ดอลลาร์หรือของมีค่าได้ก็เอามาขายที่ตีนเขาได้เลยแบบประเจิดประเจ้อ
4
6
สิ่งที่รัฐบาลไทยทำในตอนนั้นคือ กำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตก (แต่มีคนเอาทรัพย์สินมาคืนน้อยมาก)
และหลังจากที่ค้นหาร่างนานหลายวันก็สรุปได้ว่าเหตุการณ์เครื่องบินตกนี้ไม่พบผู้รอดชีวิตแม้แต่คนเดียว
มาที่เรื่องสาเหตุของเครื่องบินตก
ในช่วงแรกมีการสันนิษฐานว่าเกิดจากการวางระเบิด เพราะเครื่องบินโบอิ้ง ณ ตอนนั้นยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่หลักจากตรวจซากโลหะก็พบว่า การฉีกขาดของโลหะไม่ได้เกิดจากแรงระเบิด นั่นหมายความว่าทุกอย่างคือ "อุบัติเหตุ"
และหลังจากนั้นก็ตรวจพบว่าเจ้าตัว Thrust Reverser มันกางออกเองขณะเครื่องอยู่ในอากาศ
//Thrust Reverser คือตัวชะลอความเร็วของเครื่องบินขณะแลนดิ้ง จะเปิดใช้งานแค่ตอนที่ต้องการชะลอความเร็วเครื่องบินเท่านั้น
1
ณ ตอนนั้นเป็นที่ถกเถียงอย่างมากว่าการที่ Thrust Reverser กางออกเองในอากาศจะเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุหรือไม่ แต่ที่แน่ๆคือนาย นิกกี้ เลาด้า รู้ทันทีว่านี่ไม่ใช่ความผิดของบริษัทเขาเพราะนักบินได้ทำทุกอย่างตามคู่มือการบินของบริษัทโบอิ้ง
2
จากนั้นบริษัทโบอิ้งก็ได้ทำการพิสูจน์ว่าการที่ Thrust Reverser กางออกเองในอากาศมันไม่ได้ส่งผลให้เครื่องบินตก โดยการเอาเครื่องบินของบริษัทขึ้นบินและทำการกาง Thrust Reverser โชว์ ผลที่ออกมาคือเครื่องบินเสียการควบคุมเล็กน้อยก่อนจะพยุงตัวและทำการบินได้ตามปกติอีกครั้ง
1
แต่นายนิกกี้ เลาด้า ที่มีประสบการณ์ในการเป็นนักบินยังไม่หายคาใจ เขาได้นำข้อมูลการทดลองของบริษัทโบอิ้งมาตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนจะพบว่า การทดลองของโบอิ้งเชื่อถือไม่ได้ เพราะ
1
1.โบอิ้งใช้เครื่องบินคนละรุ่นกับที่เกิดอุบัติเหตุ
2.โบอิ้งทดลองในระดับความสูงที่ 10,000 ft แต่เครื่องที่เกิดอุบัติเหตุบินอยู่ที่ความสูง 27,000 ft
นาย นิกกี้ เลาด้า จึงยื่นเรื่องให้โบอิ้งทดสอบใหม่อีกครั้งโดยให้ใช้เครื่องและระดับความสูงรวมถึงความเร็วที่เท่ากับเครื่องที่เกิดอุบัติเหตุ
และทางบริษัทโบอิ้งก็ยึกๆยักๆ บอกปัดไปเรื่อยๆไม่ยอมทำตามที่นาย นิกกี้ ร้องขอ
1
นาย นิกกี้ พูดในใจ "ได้ ! จะเอาอย่างนี้ใช่ไหม" เขาจึงติดต่อไปยัง FAA และทาง FAA ก็ยื่นเรื่องต่อไปยังกลุ่มนักบินที่มีหน้าที่บินทดสอบเครื่องบินต้นแบบของ NASA ให้มาช่วยทดลอง และผลของการทดลองคือ เมื่อ Thrust Reverser กางออกในอากาศจะทำให้เครื่องลำดังกล่าวสูญเสียแรงยกไปถึง 1 ใน 4 และหากไม่ทำการแก้ไขภายใน 6 วินาทีเครื่องก็จะสูญเสียการควบคุมและโหม่งโลกในที่สุด
4
2
เท่ากับว่าความผิดทั้งหมดคือความผิดของ โบอิ้ง ทำให้ทาง FAA ออกคำสั่งด่วนไปยังโบอิ้งให้ทำการแก้ไขปัญหา Thrust Reverser กางออกมาในอากาศ เครื่องบินทุกลำจะต้องถูกส่งคืนเพื่อทำการแก้ไขปัญหานี้
และนักบินทุกคนทั่วโลกจะต้องเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อ Thrust Reverser กางออกเองโดยไม่ตั้งใจ นอกจากนั้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินทั่วโลกยังต้องไปสร้างกล่องดำขึ้นมาใหม่ให้ทนทานต่อความร้อนและเพิ่มความแข็งแรง
ฉะนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นาย นิกกี้ เลาด้า คือผู้ที่ทำให้ทั่วโลกต้องยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องบินและทำให้การบินในปัจจุบันมีมาตรฐานที่ดีขึ้นนั่นเอง
1
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.thairath.co.th/news/auto/1919788
https://isecosmetic.com/wiki/Lauda_Air_Flight_004
https://www.youtube.com/watch?v=4SEfShyFCRU
เครื่องบินตก
เลาด้าแอร์
11 บันทึก
43
28
19
11
43
28
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย