23 มี.ค. 2022 เวลา 12:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ISO27002 Control ใหม่ ที่น่าจับตามองในปี 2022
ระบบบริหารจัดการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management System : ISO/IEC27000) ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถประยุกต์ใช้ตัวควบคุมต่างๆ ของมาตรฐาน
4
จัดการกับข้อมูลที่สำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทบทวนตัวควบคุมในมาตรฐาน ISO 27002 ได้เปลี่ยนผ่านจากเวอร์ชันปี 2013 สู่เวอร์ชันปี 2022
ซึ่งแน่นอนว่าเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ว่าจะมีตัวควบคุมอะไรใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแทนที่ตัวควบคุมเดิม จะเหมาะสมหรือจะกระทบกับองค์กรในด้านใดบ้าง
เราจะมาทำความเข้าใจกันในคอลัมน์นี้ครับ แต่ก่อนอื่นเราอาจต้องมาทบทวนกันสักนิดว่า ISO27001 กับ ISO 27002 ต่างกันอย่างไร จะได้คลายข้อสงสัยให้กับผู้อ่านกันครับ
  • ISO/IEC27001 คืออะไร
ISO/IEC27001 คือ มาตรฐานที่องค์กรสามารถขอการรับรองว่าองค์กรมีระบบบริหารจัดการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล จากผู้ให้การรับรองที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีผู้ให้การรับรองมาตรฐานนี้อยู่หลายราย (Certification Body)
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่ามหาศาล ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะมีวิธีการจัดการข้อมูลเหล่านั้นตามความเหมาะสม แต่ท้ายที่สุดแล้วเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจและสามารถเข้าถึงความน่าเชื่อถือได้ง่ายขึ้นคือ Certification
การเลือกใช้ตัว Control ใดๆที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูลต่างจะถูกกำหนดโดยองค์กรที่จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและถูกต้องตามข้อกำหนด
ซึ่งจะสามารถเลือกใช้จาก ISO27002 ซึ่งเป็นGuidance ให้กับองค์กรสามารถเลือกใช้ตัวควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1
  • ISO/IEC27002 คืออะไร
ISO/IEC27002 คือ เอกสารแนวทางการนำตัวควบคุมการบริหารจัดการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กร (Code of practice for information security controls)
ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันเราจะคุ้นเคยกับการจัดแบ่งข้อกำหนดในเอกสารแบบ 14 Security Control Clause (Domains) แต่ในเวอร์ชันใหม่นี้ จะถูกแทนที่ด้วย 4 Clause โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ด้านของมาตรการควบคุมดังนี้
  • ด้านบุคลากร (People)
  • ด้านกายภาพ (Physical)
  • ด้านเทคนิค (Technical)
  • ด้านการบริหารจัดการองค์กร
การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของ ISO/IEC27002 ในครั้งนี้ในภาพรวมถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบการกำหนดมาตรการจากเดิมที่มีอยู่ 114 มาตรการควบคุม คงเหลือเพียง 93 มาตรการควบคุม
1
แต่ถ้าหากลงไปดูในรายละเอียดมาตรการควบคุมแล้ว เป็นเพียงการรวมมาตรการเข้าด้วยกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดแบ่งมาตรการตามหมวหมู่ทั้ง 4 ด้าน ในเนื้อหาสาระ ไม่ได้มีการลดหย่อนตัวมาตรการลงแต่อย่างใด
หากแต่ยังมีตัวมาตรการใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 11 มาตรการควบคุม ใน 3 หมวหมู่คือ กายภาพ เทคนิด และการบริหารจัดการองค์กร
ในภาพรวมแล้วการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่างๆของ ISO/IEC27002 ในเวอร์ชันปี 2022 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด ที่มีทั้งการเพิ่ม ลด และควบรวมมาตรการควบคุมต่างๆ
โดยมุ่งเน้นเนื้อหาสาระไปที่การจัดหมวดหมู่ที่มีความเข้าใจมากขึ้น และการให้ความสำคัญกับมาตรการควบคุมที่เกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกของข้อมูลในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แต่ก็ยังมีตัวช่วยต่างๆ ที่สามารถให้องค์กรเลือกใช้มาตรการให้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาตรฐาน ISO/IEC27002
โฆษณา