Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Motive
•
ติดตาม
24 มี.ค. 2022 เวลา 09:08 • การเมือง
การเจรจาสันติภาพเป็นพื้นฐานของแนวทางแก้ไขทางการเมืองสำหรับชาติมลายูปาตานีและรัฐบาลทหารของไทย
RUNDINGAN DAMAI ASAS PENYELESAIAN KONFLIK POLITIK BANGSA PATANI DAN JUNTA TENTERA THAI
********************
วารสาร Surat ฉบับที่ 84 มีนาคม 2022 หน้าที่ 8
แปลโดย : Shintaro Hara
.
การเจรจาสันติภาพ (เพื่อแก้ไข) ความขัดแย้งที่ปาตานีระหว่างแนวร่วมปฎิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani, BRN) กับรัฐบาลไทย (Royal Thai Government, RTG) ได้ให้เกิดผลเชิงบวกสำหรับทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม และถือว่าเป็นแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด ความสำคัญของกระบวนการเจรจาสันติภาพดังกล่าวเป็นผลที่เกิดจากความเข้าใจร่วมกันระหว่างรัฐบาลมาเลเซียกับไทย โดยมีการลงนามของนายกรัฐมนตรี (ทั้งสองประเทศในขณะนั้น) ดาโต๊ะ ซือรี นาญิบ ตุน ราซัก (Dato’ Seri Najib Tun Razak) กับ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งบันทึกความเข้าใจร่วมฉบับนี้เป็นวาระของรัฐบาลในสมัยนั้นในการแสวงหาแนวทางแก้ไขสำหรับความขัดแย้งระหว่างชาติมลายูปาตานีกับรัฐบาลไทย
.
องค์กรระดับโลกต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนสันติภาพมองว่า ความขัดแย้งที่ปาตานีมีความซับซ้อนเช่นเดียวกันกับพื้นที่ความขัดแย้ง ณ ภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก เช่นที่อาเจ๊ะห์ (Aceh) ระหว่าง นังกรู อาเจ๊ะห์ ดารุสสลาม (Nanggroe Aceh Darussalam) กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่ อาลันด์ (Aland) ระหว่างเขตปกครองตนเองอาลันด์กับสาธารณรัฐฟินแลนด์ บาสก์ (Basqeu) ระหว่างแคว้นประเทศบาสก์กับรัฐบาลสเปน, กาตาลุญญา (Catalonia) ระหว่างแคว้นกาตาลุญญากับรัฐบาลสเปน (สำหรับการแก้ปัญหาของความขัดแย้งที่ปาตานี) ได้มีข้อมูลที่จะดำเนินกระบวนการเจรจาสันติภาพเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขอันเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานของความเป็นจริงและมีเอกภาพ
ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ในการเจรจาสันติภาพเป็นเรื่องการเมือง และจำเป็นต้องมีการถ่ายทอดตามช่องทางที่เป็นทางการและถูกต้อง และ (คู่กรณีทั้งสองฝ่าย) ควรมีส่วนร่วมอย่างจริงจังภายใต้การประสานงานและการไกลเกลี่ยของประเทศที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ไกลเกลี่ย (ในการนี้) ต้องหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางการเมืองเท่าที่จะทำได้ เพราะการแทรกแซงลักษณะนี้จะเป็นภัยคุกคามหรือตัวป่วน (spoiler) สำหรับกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่และอยู่ในขั้นตอนแรก ด้วยเหตุนี้ ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาสันติภาพควรมีความเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่มคนและระดับองค์กร ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศที่มีส่วนร่วมไม่ควรจะทำตัวเป็น “ผู้มีส่วนได้เสีย (stake holder)” แต่ต้องทำหน้าที่เป็นคนกลางบนเวทีนานาชาติที่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลก
.
การเจรจาสันติภาพเป็นผลที่เกิดจากความเข้าใจและข้อตกลงทางการเมืองเพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุด ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยมองความขัดแย้งดังกล่าวเป็นปัญหาภายใน แต่ความจริงแล้วนั่นคือรากเหง้าของปัญหาสำหรับประชาชนชาติมลายูปาตานี เพราะประชาชนชาติมลายูปาตานีลุกขึ้นต่อต้านความโหดร้ายทางการเมืองและการบุกรุกของสยามเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และสมัยราชกาลที่ 1 ของราชวงศ์จักรีจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเป็นการต่อสู้ปลดปล่อยที่ยาวนานของชาติมลายูปาตานีที่ต้องใช้ชีวิตภายใต้การกดขี่และปฏิบัติการทางการทหาร ส่วนอิทธิพลของอังกฤษและภาคีของประเทศนั้นทำให้ราชอาณาจักรปาตานีตกเป็นเหยื่อของการบริหารแบบสมัยใหม่ (ตามสนธิสัญญากรุงเทพฯ ) หรือระบอบการปกครองแบบอาณานิคม
โดยถูกปฏิเสธสิทธิและสูญเสียเขตปกครองทางภูมิศาสตร์และการปกครองตนเอง ในสุดท้าย ราชอาณาจักรปาตานีดารุสสลามก็สาบสูญและหายจากแผ่นที่โลกและสูญเสียอำนาจปกครองที่ได้รับการยอมรับจากสังคมนานาชาติ ด้วยเหตุนี้ ไม่น่าแปลกใจที่การต่อสู้ของชาติมลายูปาตานีประสบข้อท้าทายอันยิ่งใหญ่ต่าง ๆ หรืออุปสรรคทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ
.
การต่อสู้ดำเนินไปทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาและวัฒนธรรม แต่การต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นการตอบโจทย์สุดท้ายสำหรับการปกครองแบบอาณานิคม การกดขี่ ความโหดร้ายและการใช้อำนาจผิด ถึงแม้ว่า (ฝ่ายสยามพยายามจะควบคุมสถานการณ์โดยใช้) การบังคับใช้กำหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเมื่อเผชิญหน้ากับการลุกขึ้นของประชาชนเพื่อการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาติปาตานี เพราะ (ชาวมลายูปาตานี) ไม่เคยหยุดส่งเสียงไปยังสังคมโลกเกี่ยวกับเป้าหมายของการต่อสู้และความใฝ่ฝันของประชาชน
.
การประชุมในกระบวนการเจรจาอย่างเป็นทางเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11-12 ก.พ. 2022 ซึ่งเป็นความคืบหน้าเชิงบวกระหว่างขบวนการบีอาร์เอ็นกับรัฐบาลไทยเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขอันแท้จริงและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีกรอบข้อตกลง (ToR) ซึ่งเป็นผลการตกลงตาม Berlin Initiative (ข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับกรอบการพูดคุยที่ตกลงกันในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในปลายปี 2019 ก่อนที่ริเริ่มการพูดคุยอย่างเป็นทางการ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อต้นปี 2020 – ผู้แปล)
กระบวนการสันติภาพครั้งนี้มีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติของมาเลเซียเป็นกองเลขานุการ และนำโดย ตัน สรี อับดุล ราฮิม บิน โมฮัมหมัด นูร์ ส่วนสันติบาลมาเลเซียติดตามความคืบหน้าของกระบวนการเจรจาและรายงานต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนคณะพูดคุยของบีอาร์เอ็นนำโดยนายอานัส อับดุล ระห์หม่าน (Anas Abdul Rahman) และฝ่ายทำนำโดย พล.อ. วัลลภ รักเสนาะ
.
คณะพูดคุย (ของฝ่ายบีอาร์เอ็น) เป็นตัวแทนของขบวนการชาติมลายูปาตานี ส่วนฝ่ายไทยเป็นตัวแทนของหน่วยงานราชการสำคัญต่าง ๆ การเจรจาครั้งนี้ได้บรรลุข้อตกลงบางเรื่องเกี่ยวกับประเด็นสารัตถะและทางเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งที่ปาตานี แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังจำเป็นต้องปรึกษาหารือกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม กระบวนการเจรจายังเป็นข้อสงสัยของหลาย ๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในพื้นที่ องค์กรที่ติดตามการสร้างสันติภาพในพื้นที่ องค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรนอกภาครัฐ (NGO)
ยิ่งกว่านั้น ฝ่ายรัฐบาลทหารของไทยเองยังไม่พอใจกับความคืบหน้าของการเจรจา เพราะมองว่าเป็นการที่ทำให้ผู้นำกองทัพที่ปฏิบัติการในพื้นที่จะเสียหน้า ฝ่ายกองทัพไทยมองว่าการเจรจาเป็นการเล่นการเมืองเท่านั้น และจะไม่ให้เกิดผลใด ๆ แม้ว่ากองทัพไทยมียุทโธปกรณ์ทันสมัยต่าง ๆ แต่ก็สูญเสียความชอบธรรมภายใต้กรอบการเจรจา จึงพยายามจะค้นหาจุดอ่อนของการต่อสู้ประชาชนชาติมลายูปาตานีและการเมืองของการเจรจาสันติภาพ
.
#TheMotive
#กระบวนการสันติภาพ
#Surat
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
Website :
https://www.the-motive.co
Twitter :
https://twitter.com/themotive2020
Instragram :
https://www.instagram.com/themotive_ig
Youtube :
https://www.youtube.com/c/themotive2020
Telegram :
https://t.me/themotive2020
กระบวนการสร้างสันติภาพ
ชายแดนใต้
สันติภาพ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย