27 มี.ค. 2022 เวลา 02:00 • บ้าน & สวน
จากบ้านล้านนาริมน้ำหลังงามที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย จึงมีการปรับปรุงใหม่ให้สวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น พร้อมต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่ม โดยประยุกต์สไตล์ล้านนาให้ดูไม่ล้าสมัย และยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน
ชื่อเสียงของ อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2547 เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงการออกแบบของภาคเหนือ เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนาได้ดีแล้ว อาจารย์ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการประยุกต์สไตล์ล้านนาให้ดูไม่ล้าสมัย และยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ หลังนี้นั่นเอง
แม้จะปลูกสร้างมานานถึง 15 ปีแล้ว แต่อาจารย์จุลทัศน์ได้ปรับปรุงบ้านให้สวยงามน่าอยู่เสมอมา โดยได้แปลงโฉมบ้านและต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่ม
“บ้านจะน่าอยู่ได้ก็ต้องมีการดูแลปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ บ้านของผมเองก็ต้องปรับปรุงเป็นพิเศษ เนื่องจากทุกปีจะมีน้ำท่วม ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย ที่โดนหนักสุดเห็นจะเป็นเมื่อปี 2548 จึงได้โอกาสปรับปรุงครั้งใหญ่ ใช้เวลาทำานาน 3 ปี ที่ช้าเพราะเปลี่ยนโครงสร้างส่วนล่าง จากเดิมที่เป็นไม้ก็ทำเป็นคันเขื่อนตรงส่วนที่เป็นใต้ถุน เพื่อป้องกันเรื่องน้ำโดยเฉพาะ หากไม่ซ่อมเกรงว่าจะเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ และการซ่อมแซมก็จะยากกว่าเดิมด้วยครับ”
1
นอกจากการปรับปรุงส่วนโครงสร้างแล้ว อาจารย์จุลทัศน์ยังได้เปลี่ยนผังการใช้งานด้วย จากแปลนเดิมที่มีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) มีทางเข้าอยู่ตรงกลาง โดยปีกทางด้านตะวันตกเคยเป็นห้องรับแขกก็เปลี่ยนเป็นห้องรับประทานอาหารขนาดใหญ่แบบเป็นทางการแทน ส่วนปีกด้านทิศตะวันออกเคยเป็นห้องนอนก็เปลี่ยนเป็นห้องรับแขก พร้อมมุมรับประทานอาหารเล็ก ๆ กลางชานบ้านเคยมีศาลาตั้งอยู่ริมบ่อน้ำก็รื้อออกไปเพื่อเปิดพื้นที่ให้โล่งยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มบ่อน้ำรูปยาวขนานกับแนวแม่น้ำปิง นอกจากนี้ยังได้สร้างเรือนสองชั้นด้านหลังบ้านเดิม โดยจัดเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนเล็กการแปลงโฉมครั้งใหญ่นี้ทำให้รูปลักษณ์ความเป็นล้านนาของบ้านดูทันสมัยมากขึ้น ซึ่งอาจารย์จุลทัศน์ได้ให้แง่คิดไว้ว่า
“เรามักคิดกันเพียงว่า ถ้าทำาบ้านแบบล้านนาก็ต้องเป็นล้านนาแท้ ๆ แต่อย่าลืมว่า ในแวดวงออกแบบมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้จะจับบุคลิกแบบดั้งเดิมมาแต่พื้นที่ใช้งานต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปตามแนวโน้มใหม่ ๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย งานสถาปัตยกรรมในโลกนี้ก็เป็นเช่นนี้ทั้งนั้น และด้วยวิธีแบบนี้แหละที่จะช่วยให้สไตล์เดิมไม่ตาย ในเมื่อเรามีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น มีวัสดุที่ดีขึ้นมีแรงบันดาลใจใหม่ ๆเราก็สามารถหยิบยกสิ่งเหล่านั้นมาใช้กับบ้านได้ บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่แบบล้านนาดั้งเดิม แต่เป็นการทรานส์ฟอร์มหรือแปลงโฉมบ้านด้วยการใช้สิ่งใหม่ๆ นั่นเองครับ”
นี่คงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำางานของสถาปนิกรุ่นใหญ่ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดที่มาจากรากเหง้าเดิมกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยต่อยอดให้งานสถาปัตยกรรมล้านนาได้เจริญงอกงามไม่หยุดนิ่ง
เจ้าของ - ออกแบบ : อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3i54i8E
เรื่อง : อาทิตย์
ภาพ : ฤทธิรงค์  จันทองสุข
คลังสาระความรู้เรื่องบ้านและพรรณไม้ยังมีอีกมากมาย อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ www.baanlaesuan.com
โฆษณา