25 มี.ค. 2022 เวลา 16:19 • ประวัติศาสตร์
เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงาน Triangle Shirtwaist !!
Triangle Shirtwaist Factory Fire น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่หลาย ๆ คนไม่เคยได้ยินสักเท่าไรนัก.. อาจด้วยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนานนมจนใครหลาย ๆ คนที่ผ่านมาอ่านบทความนี้น่าจะยังไม่เกิด..
นั่นก็เป็นเพราะ "เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงาน Triangle Shirtwaist" เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1911 หรือ พ.ศ.2454 ณ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ..
เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงาน Triangle Shirtwaist ได้คร่าชีวิตคนงานในโรงงานนั้นไปมากถึง 146 ราย ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่รุนแรงและสร้างความหวาดผวาให้กับคนงานในอเมริกาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังสั่นสะเทือนถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัยในการทำงานด้วยเช่นกัน
เพราะว่า.. เหตุการณ์เพลิงมรณะครั้งนั้น แท้จริงแล้วสามารถป้องกันได้ แต่ทว่าเหยื่อส่วนใหญ่เสียชีวิตเนื่องจากการละเลยระบบด้านการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ทำงานหรือโรงงาน อีกทั้งผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งยังตายเพราะว่าประตูทางออกบานหนึ่งของโรงงานถูกปิดล็อคไว้ ทำให้ไม่สามารถหนีได้ทันเวลา
โดยสภาพแวดล้อมการทำงานภายในโรงงาน Triangle Shirtwaist ย่ำแย่มาก.. จนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานนรก (Sweatshop) ไม่ใช่เพียงโรงงานนี้เท่านั้น ในช่วงเวลานั้นหลายโรงงานในอเมริกามีสภาพเป็นเหมือนโรงงานนรกเยอะมาก
Max Blanck (left) and Isaac Harris (right), owners of the Triangle Waist Company by Kheel Center, Cornell University Library at https://flickr.com/photos/38445726@N04/5279933972
โรงงาน Triangle Shirtwaist มีเจ้าของ 2 คน คือ Max Blanck และ Isaac Harris
ซึ่งทั้งสองคนโด่งดังมากในธุรกิจเสื้อแบบ Shirtwaist จนได้ชื่อว่าเป็น "Shirtwaist Kings" โดยโรงงาน Triangle Shirtwaist ตั้งอยู่ที่อาคาร Asch กินพื้นที่ 3 ชั้นบนสุดของอาคาร ..
สาเหตุที่โรงงาน Triangle Shirtwaist ได้ชื่อว่าเป็นโรงงานนรก นั่นก็เพราะว่า โรงงานได้จ้างคนงานที่เป็นหญิงสาววัยรุ่นที่อพยกเข้ามาอาศัยในอเมริกา และต้องทำงานในสถานที่คับแคบและเต็มไปด้วยเครื่องจักรเย็บผ้าเรียงกันเป็นแถวจนแทบหายใจไม่ออก อีกทั้งคนงานเกือบทั้งหมดไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ และยังต้องทำงานติดต่อกันยาวนานถึง 12 ชั่วโมงทุกวัน
Women operate sewing machines in a workroom similar to the Triangle Shirtwaist Factory. BY ZUMA PRESS INC, ALAMY
นอกจากนี้โรงงานยังมีลิฟต์ทั้งหมด 4 ตัว แต่กลับใช้งานได้จริงเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งหากคนงานต้องการจะใช้ลิฟต์ตัวนั้นก็ยังต้องเดินผ่านทางเดินที่แคบมากเป็นทางตรงไปถึงลิฟต์ ซึ่งพอเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็ไม่สามารถระบายคนได้ทัน ไม่เพียงเท่านั้น โรงงานมีบันไดทางลงที่ตรงไปยังถนนเพียง 2 ทาง และที่สุดจะย่ำแย่ไปกว่านั้นคือ ใช้ได้ทางเดียว เพราะอีกทางถูกล็อคไว้จากด้านนอกเพื่อป้องกันการขโมย ซึ่งหากถามถึงทางหนีไฟ โรงงานก็มีพร้อม แต่กลับเป็นทางหนีไฟที่แคบเกินไป จนเมื่อเกิดเหตุก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการหนีไฟ
Interior view of the tenth-floor work area in the Asch Building after the Triangle fire by Kheel Center, Cornell University Library at https://flickr.com/photos/38445726@N04/5279682800
แล้วทำไมไฟไหม้ได้ ? ..
วันเสาร์ตอนบ่าย ๆ ของวันที่ 25 มีนาคม ปีค.ศ. 1911 โรงงาน Triangle Shirtwaist ในขณะนั้นมีคนงานราว 600 คนได้ โดยต้นเหตุของเพลิงมาจากไฟที่ลุกไหม้อยู่ในถังขยะ .. ไม่ใช่ว่าไม่มีใครพบเห็น หากแต่ผู้จัดการได้เห็นว่ามีไฟลุกผิดปกติ จึงรีบนำเอาอุปกรณ์ดับเพลิงมาดับไฟที่กำลังลุกโชน แต่ว่า.. มันกลับไม่เป็นผล สาเหตุที่มันไม่สำเร็จก็เพราะอุปกรณ์ดับเพลิงมันเก่าเกินไปจนขึ้นสนิม ..
เมื่อไฟเริ่มไม่สามารถควบคุมได้ ก็ส่งผลทำให้คนงานในโรงงานที่เบียดเสียดกันเป็นทุนเดิมเริ่มตื่นตระหนก ..คนงานบางคนที่ตั้งตัวได้ก่อนก็หันไปใช้ลิฟต์ ซึ่งมันรองรับได้เพียง 12 คนเท่านั้นเอง แหล่งข้อมูลบางที่ระบุว่า ลิฟต์ทำการลำเลียงคนได้เพียง 4 รอบก่อนมันจะพังด้วยความร้อนและโครงสร้างของอาคาร ..
ในขณะที่บางคนรู้ตัวช้า ไฟก็ลามอย่างรุนแรงแล้ว ก็พยายามที่จะเอาตัวรอดให้ได้ไม่ว่าจนหนทางใดก็ตาม บางคนก็เลือกที่จะกระโจนลงไปในปล่องลิฟต์ที่พังไปแล้ว บางคนจะใช้ประตูก็ดันล็อค จนเมื่อเหตุการณ์มันทวีความรุนแรง คนงานบางคนก็ต้องจำใจกระโดนลงมาจากหน้าต่าง
Photograph shows police or fire officials placing Triangle Shirtwaist Company fire victims in coffins. This work is from the George Grantham Bain collection at the Library of Congress.
โดยเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ โรงงาน Triangle Shirtwaist ใช้เวลาเพียง 18 นาทีเท่านั้น ก่อนที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะสามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้ แต่ทว่าจำนวนผู้เสียชีวิตกลับสูงถึง 146 คน ซึ่งเราจะพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนงานตายเยอะขนาดนี้คือ การวางระบบความปลอดภัยและการป้องกันเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ได้มาตรฐาน
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงาน Triangle Shirtwaist ได้กระตุ้นให้คนอเมริกันในช่วงนี้ตระหนักถึงความปลอดภัยในสถานที่ทำงานมากขึ้น และยังได้จุดประกายให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ตลอดจนออกกฎหมายใหม่เพื่อเข้ามาควบคุมการออกแบบอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ..
Demonstration of Protest and Mourning for Triangle Shirtwaist Factory Fire of March 25, 1911 -  https://flickr.com/photos/35740357@N03/11192161883
.
.
หากชอบบทความของไม้ขีดไฟ อย่าลืมกดติดตามด้วยนะค้าบ .. ไว้ถ้าสายลมพัดพาให้ผู้เขียนสนใจเรื่องใด ผู้เขียนก็จะนำสายลมนั้นพาแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกท่านด้วยเช่นกัน
.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา