25 มี.ค. 2022 เวลา 12:55 • ไลฟ์สไตล์
‘ความโสด’ ที่ไม่ธรรมดา และไม่ได้มาเล่นๆ (ตอน 2)
รูปแบบความผูกพันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อสถานภาพ จากรูปแบบความผูกพัน 4 รูปแบบ (รูปแบบมั่นคง, รูปแบบวิตกกังวล-หมกมุ่น, รูปแบบหมางเมิน-หลีกเลี่ยง, รูปแบบหวาดกลัว-หลีกเลี่ยง) จะมีผลต่อสถานภาพโสดได้อย่างไร แนวคิด 3 หนทางไปสู่ความโสด จากการวิจัยมีดังนี้
1. วิตกกังวลและไม่หยุดนิ่ง
หากคนกลุ่มวิตกกังวลต้องการจะมีความสัมพันธ์กับใคร พวกเขาจะทุ่มสุดตัว
เพื่อคนที่จะมาเป็น "คู่" เขาจะรู้สึกสนิทสนมแนบแน่นกับคนอื่นโดยง่าย
เต็มไปด้วยความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่ดูออกจะเกินไปซักหน่อย
เมื่ออยู่ในความสัมพันธ์ คนกลุ่มนี้ก็จะยิ่งกระวนกระวายมากขึ้นไปอีก
เป็นกังวล ขาดความไว้ใจ แต่จะหมกมุ่นอยู่กับการกระทำที่แสดงให้เห็นว่าเชื่อใจ
คนกลุ่มนี้เคยผ่านประสบการณ์และกลัวที่จะถูกปฏิเสธ นำไปสู่ความหึงหวง
เนื่องจากไม่อยากถูกทิ้ง
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มวิตกกังวลนี้
จะยังคงติดต่อกับคนเก่าๆ อย่างมากเกินพอดี ซึ่งอาจทำให้ไม่มีเวลาพอให้กับแฟนปัจจุบันอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขามักจะเร่งร้อนเข้าสู่ความสัมพันธ์ใหม่โดยการผูกมัดทางกาย
ก่อนจะมีความผูกพันทางใจเสียอีก และมักจะเป็นคนที่ดูไม่เหมาะสมกับตน ปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้
จึงทำให้กลุ่มผู้ที่มีรูปแบบความผูกพันแบบหมกมุ่นนี้ ยากที่จะมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นได้
และมีความเสี่ยงสูงที่จะยังคง หรือ กลายเป็นคนโสดได้ในที่สุด
2. หลีกเลี่ยงและพร้อมจะจากไป
คนกลุ่มรูปแบบความผูกพันหมางเมิน หลีกเลี่ยง จะไม่เชื่อใจในความใกล้ชิดระหว่างบุคคล
พวกเขาจึงมีระยะห่างทั้งทางความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรม ที่จะยิ่งส่งผลให้กระบวนการ
ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันลดลง (เลยไม่รู้สึกว่าต้องจริงจังกับใครเลย) ซึ่งการแสดงออกจะ
มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับของความหลีกเลี่ยง และความหวากลัวของคนกลุ่มนี้ นอกจากนี้
ยังพบว่า พวกเขามักจะปฏิเสธหรือลดความต้องการในการแสดงความใกล้ชิด
(พวกเขาคงไม่อินกับความ 'ใกล้จนอยากจะหยุดหายใจ' ซักเท่าไร) และมักจะบอกกับตัวเองว่า
ยังไงทุกความสัมพันธ์ก็จะต้องจบลงด้วยความเจ็บปวดและผิดหวังอยู่ดี
จากการมองความสัมพันธ์ในแง่ร้ายเช่นนี้ จึงทำให้พวกเขาไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้อง
ทำสิ่งใดเพื่อความสัมพันธ์นั้น จึงส่งผลให้แสดงออกอย่างเฉยชา ไม่ร่ำร้องหาความ
ใกล้ชิดผูกพัน และไม่ค่อยจะเปิดเผยตัวตนนัก จึงส่งผลให้ความสัมพันธ์ที่ดีนั้นเกิดได้ยาก
และเมื่อความสัมพันธ์จบลง พวกเขาก็ไม่สนใจที่จะหาใหม่ ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้ทำให้
กลุ่มหลีกเลี่ยงมักมีความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัด และเพิ่มโอกาสที่จะ “คงความโสด” ต่อไป
แต่ถึงแม้ถ้าได้มีรักครั้งใหม่ ก็เป็นไปได้ยากที่รักนั้นจะคงอยู่ดีได้นาน
การเติมเต็มตัวเองคือพฤติกรรมที่ชนกลุ่มนี้จะทำเพื่อป้องกันตัวเองจากความเจ็บปวด
และการสูญเสีย ซึ่งมีที่มาจากประสบการณ์ในอดีต และยังคงย้ำเตือนตัวเองเช่นนั้น
โดยไม่สนใจต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
3. โสด มั่นคง และพอใจ
กลุ่มคนโสดกลุ่มที่ 3 นี้ ถึงแม้จะอยู่เป็นโสดมานานก็ไม่มีผลกับความรักครั้งใหม่
แต่กลับเป็นคนที่มีความมั่นคงในตัวเอง ซึ่งเป็นคนที่ใครๆ ก็ต้องการไม่ว่าจะเป็น
ความสัมพันธ์รูปแบบใด มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า บุคคลกลุ่มนี้พึงพอใจต่อความโสด
ของตน และมีหลากหลายเหตุผลที่จะคงความโสดนั้นไว้ แน่นอนว่าเต็มใจและเลือกที่จะโสด
เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะพิจารณาว่าทำไมเราจึงยังโสด
ความโสดนั้นเราเลือกหรือมาจากผลของสิ่งที่เราทำไปโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งหากความโสดนั้น เราไม่ได้เลือก ก็ควรที่จะค้นหาว่ามีต้นตอมาจากปัจจัยใด
(เพื่อที่เราจะได้เป็น 'ผู้เลือก' บ้าง) แต่หากใครพอใจกับชีวิตโสดของตนแล้ว ถือเป็นเรื่องน่ายินดีและโชคดีอย่างยิ่ง
ส่วนใครที่อยากจะเริ่มขุดคุ้ยต้นตอความโสด หรือไม่อยากทำพลาดอีกในเกมต่อไป
มาลองที่แบบทดสอบนี้กันได้เลย
ที่มาและอ้างอิง
1. The Art and Psychology of Being Single by Grant Hilary Brenner MD
2. What is Your Relationship Attachment Style? by Preston Ni M.S.B.A.
3. Pepping CA, MacDonald G & Davis PJ. Toward a Psychology of Singlehood: An Attachment-Theory Perspective on Long-Term Singlehood. Current Directions in Psychological Science, 1-8, August 23, 2018.
4. Schachner, D. A., Shaver, P. R., & Gillath, O. (2008). Attachment
style and long-term singlehood. Personal Relationships,
15, 479–491.
โฆษณา