Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
26 มี.ค. 2022 เวลา 05:00 • สุขภาพ
💊กินยาอย่างไร ไตไม่พัง?
ไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการขจัดของเสียและสารต่างๆที่ร่างกายไม่ต้องการรวมถึงยาหรือสารต่างๆออกไปในรูปปัสสาวะ ดังนั้น ไตจึงมีความเสี่ยงสูงในการได้รับอันตรายจากพิษของยาและสารเคมีบางอย่างได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่องแต่เดิมอยู่แล้วจึงจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น
⚠️ยาที่ควรระวัง
1. ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
ยาในกลุ่มนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดหลัง ปวดกระดูก เช่น
ไดโคลฟีแนก ไอบูโปรเฟน เมฟีนามิก ไพร็อกซีแคม ซีลีค็อกซิบ อีโธริค็อกซิบ เป็นต้น
โดยยาจะยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน(Prostaglandin) ซึ่งสารนี้มีหน้าที่ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือดในไตให้เป็นปกติ หากใช้ยากลุ่มนี้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลเสียต่อการไหลเวียนเลือดในไตและส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
2. ยาลูกกลอน สารโลหะหนัก และสเตียรอยด์
ยาแผนโบราณ ยาหม้อ ยาสมุนไพร ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของยาในลักษณะยาลูกกลอน ยาผง ยาอัดเม็ด บรรจุแคปซูล หรือเป็นยาน้ำบรรจุขวด พบว่านอกจากพืชสมุนไพรแล้ว ผลิตภัณฑ์บางชนิดพบการเจือปนของสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ทองแดง ปรอท และสารจำพวกสเตียรอยด์เจือปน เมื่อกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเกิดการสะสมในร่างกายและมีพิษโดยตรงในการทำลายเนื้อเยื่อไตและก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้
3. ยาปฏิชีวนะบางชนิดหรือยาฆ่าเชื้อ
ยาบางชนิดจะต้องดื่มน้ำตามมากๆหลังกินยา เพื่อป้องกันการตกตะกอนและเป็นผลึกในท่อปัสสาวะได้ เช่น กลุ่มซัลฟา
👨🔬การใช้ยาจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้
มีปัญหาเรื่องการใช้ยา เชิญปรึกษาเภสัชกรประจำร้านยา
.
.
💢
เนื้อหาจาก
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/medication-safety-for-kidneys-2
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27501
.
ภาพจาก
611119_Infographic_เลี่ยงไตวาย_ด้วยการใช้ยาอย่างสมเหตุผล_1662.pdf
👨🏫“สเตียรอยด์” เป็นฮอร์โมนธรรมชาติของมนุษย์ สั่งงานจากสมองส่วนกลางลงมายังต่อมใต้สมอง ควบคุมต่อมหมวกไตให้ผลิตในปริมาณพอเหมาะ ควบคุมความสมดุลของร่างกาย เมื่อมีภาวะเครียดทางกาย ใจ
จากการที่สเตียรอยด์สามารถลดอาการอักเสบ ปวด ลดไข้ได้ ทำให้มีการนำมาใช้กันผิดๆ อย่างแพร่หลายเพื่อให้หายเร็วทันใจไม่ว่าปวดเข่า ปวดข้อ ปวดเมื่อย ทั้งที่ใช้เดี่ยวๆ หรือไปผสมกับยาแก้ปวดอื่นๆ เป็นยาชุด เช่น NSAID (เอนเสด ยกตัวอย่าง ยาไดโคลฟีแนก ไอบูโพรเฟน) เป็นต้น ทำให้มีผลข้างเคียงมหาศาล เช่น กระเพาะตกเลือด กระเพาะทะลุ เป็นโรคไตวาย
🧙♂️ผู้ที่ใช้ยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ แนะนำวิธีในการสังเกตเบื้องต้นว่าเป็นยาผสมเสียรอยด์หรือไม่ ดังนี้
1. หลังจากกินยาหรืออาหารเสริมบำรุงสุขภาพ ชนิดนี้แล้ว อาการปวดเมื่อยหายไปอย่างรวดเร็ว
2. เจริญอาหาร หิวบ่อย กินอาหารได้เยอะขึ้น
3. ใบหน้าบวมแดงจนเห็นเส้นเลือดฝอย
4. ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมักจะมีการโฆษณาอวดอ้างเกินจริง เช่น อ้างว่าสามารถรักษาโรคได้สารพัดโรค แบบครอบจักรวาล รวมถึงสามารถรักษาโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคเบาหวาน อัมพาต มะเร็ง
5. การขายมักเป็นการบอกต่อๆ กัน ส่วนสถานที่ขายก็มักจะไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน เช่น ขายทางรถเร่ ส่งทางไปรษณีย์ หากมีผู้รับมาขายต่อในชุมชน ก็มักไม่สามารถระบุแหล่งผลิตหรือผู้ขายได้อย่างชัดเจนแน่นอน และ
6. มักใช้เลขทะเบียนตำรับยาปลอม
🛑สเตียรอยด์เป็นสารที่มีอันตรายถึงชีวิต จึงถูกจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังจึงจะเกิดความปลอดภัย ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ร้านขายยาไม่สามารถจำหน่ายได้หากไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ เพราะฉะนั้น ถ้ามีการลักลอบใส่สเตียรอยด์ในผลิตภัณฑ์โดยไม่แจ้ง ใส่ในปริมาณมากเกินความจำเป็น และไปโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย
.
.
💢
เนื้อหาจาก
https://www.thairath.co.th/content/531358
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27501
.
ภาพจาก
https://www.facebook.com/155901997837917/posts/5046953915399343/
สรุป #ยาพึงระวังในคนไข้โรคไต ใน 1 หน้ากระดาษ
เหมาะกับ ชาว รพช. หรือ รพท.
ที่นึกอะไรไม่ค่อยได้
หมายเหตุ : #เอะใจ ยังไม่ได้หมายความว่า #ห้ามใช้ แค่ให้บุคลากรที่ร่วมดูแลคนไข้ เฝ้าระวังเพิ่มขึ้น
GFR 59 ลงมา : เริ่มเอะใจ กวาดตามองยา หาข้อมูลว่า #ปรับไม่ปรับ
GFR 45 ลงมา : เบรคตัวเอง ให้เริ่มทวนยาเพิ่มขึ้น ละเอียดขึ้น
GFR 30 ลงมา : เพิ่มความ เอะใจ อีก #สองสามเท่า สกรีนยาอย่างละเอียด ปรับยาอย่างเหมาะสม
ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ โปรดแชร์ได้ตามอัธยาศัย ครับ
ขอบคุณครับ
https://www.facebook.com/183702845003922/posts/pfbid02aqQovwLNqP9QEVWD27pACmizXYcKqNktnWFErB1Bcsibz73TkUXKdJp2T73qwWxgl/
POSTED 2022.03.26
UPDATED 2022.09.16
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย