26 มี.ค. 2022 เวลา 07:37 • ประวัติศาสตร์
ไม่มีอะไรที่ทำให้ ร.5 สุขใจยิ่งกว่าขยายทางรถไฟ!🚂
1
26 มีนาคม 2439 รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในพระราชอาณาจักรคือสายนครราชสีมา ซึ่งขณะนั้นสร้างเสร็จตอนหนึ่งระหว่างสถานีกรุงเทพฯ ถึงอยุธยา ถือได้ว่ากิจการรถไฟหลวงของไทยได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้น การรถไฟได้ถือเอาวันที่ 26 มีนาคมเป็น วันสถาปนาการรถไฟของไทย
1
แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก 100 ปี รถไฟไทย เป็นรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดการเดินรถไฟเส้นทางรถไฟสายแรกของสยาม คือสายกรุงเทพ-นครราชสีมา วันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2439
🚂 รถไฟ ไม่ได้เป็นแค่การคมนาคม แต่ในสมัยที่การล่าอาณานิคมล้อมเข้ามารอบบ้าน และพยายามหว่านล้อมให้คนที่อยู่ชายขอบเห็นดีเห็นชอบกับการตกเป็นอาณานิคม รถไฟจึงเป็นสายใยที่โยงคนที่อยู่ห่างไกลเข้ามาใกล้ชิดเมืองหลวง
1
การสร้างทางรถไฟไปถึงจึงเป็นการแสดงว่ารัฐบาลไม่ทอดทิ้งคนที่อยู่ห่างไกล ด้วยเหตุนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงทรงเริ่มการสร้างทางรถไฟขึ้น และถือเป็นพระบรมราโชบายหลักอย่างหนึ่ง นอกจะสร้างสร้างเศรษฐกิจ สร้างความเจริญ และความสุขของประชาชนแล้ว ยังเป็นความมั่นคงของประเทศ
1
ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเปิดทางรถไฟช่วงปากน้ำโพถึงพิษณุโลก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2450 ทรงมีพราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
...ไม่มีสิ่งไรที่จะถูกใจฉันยิ่งขึ้นไปกว่าที่ได้เห็นความเจริญที่ได้มีขึ้นในการขยายทางรถไฟของเมืองเรา ทางรถไฟย่อมเป็นพยานแห่งความรุ่งเรืองของบ้านเมือง กับทั้งยังเป็นหนทางที่จะช่วยให้เกิดความเจริญเช่นนี้ได้อย่างยิ่ง รถไฟทำให้เกิดยานพาหนะอย่างสะดวกแลรวดเร็วด้วย แลชักนำให้ตำบลต่างๆที่อยู่ห่างไกลเข้าใกล้ชิดติดถึงกัน เหตุฉะนั้น จึงทำให้เกิดความสุขแลความเจริญของประชาชนพลเมืองยิ่งขึ้น รถไฟสามารถทำให้รัฐบาลสามารถที่จะจัดการและเอาใจใส่ดูแลให้ยิ่งขึ้นได้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการจำเป็นของการรักษาบ้านเมืองที่จะเป็นผลดีได้...
ในหลวง รัชกาลที่ 5
3
แสตมป์รถไฟ
โฆษณา