26 มี.ค. 2022 เวลา 07:16 • ปรัชญา
1) ที่บ้านของคุณได้ก่อกำแพงติดตั้งรั้วและลูกกรงเหล็กดัดไว้บ้างมั้ย?, ตอนคุณลงจากรถ คุณกดล็อกรถก่อนเดินจากรถหรือไม่?, โทรศัพท์ของคุณ ติดตั้ง passcode ด้วยรหัสประเภทใด?
ครับ ทุกอย่างคือสิ่งสมมุติ แต่มันก็มีเงื่อนไขของ “เวลา” อยู่ เพราะถ้ายังมี “เรา” อยู่ ก็ต้องมี “ของของเรา” อยู่ด้วยเช่นกัน!
2) ผมเคยได้ยินว่า สิ่งที่มนุษย์เสพติดมากที่สุดคือ “อำนาจ” และเมื่อผมศึกษาข้อมูลทางพระพุทธศาสนาที่นอกเหนือจาก “ดอกบัวสี่เหล่า” ที่ใช้จำแนกประเภทของมนุษย์แล้ว ก็ยังมี การจำแนกได้เป็น
2.1) มนุสสเนรยิโก มนุษย์สัตว์นรก คือ มนุษย์ผู้ดุร้าย หยาบคาย ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจี้ปล้นเอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน เบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นทรมานผู้อื่นสัตว์อื่นให้เดือดร้อน เป็นคนไร้ศีลธรรม ไม่มีศีล 5 ประจำตัวเป็นมนุษย์แต่ชื่อ ส่วนความประพฤติทางกาย วาจา ใจนั้นเลวทราม ดุร้ายหยาบคายเหมือนสัตว์นรก ฉะนั้น
2.2) มนุสสเปโต มนุษย์เปรต คือ มนุษย์ผู้มากไปด้วยความโลภ มากไปด้วยตัณหา ชอบลักเล็กขโมยน้อยโลภเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน แย่งชิงวิ่งราวเป็นต้น
2.3) มนุสสติรัจฉาโน มนุษย์สัตว์เดรัจฉาน คือ มนุษย์ที่ขวางศีลขวางธรรม มีโมหะคือความหลงมาก ไม่รู้จักบาป ไม่รู้จักบุญ ไม่รู้จักคุณ ไม่รู้จักโทษ ไม่รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เป็นต้น
2.4) มนุสสภูโต มนุษย์แท้ๆ คือ เป็นมนุษย์เต็มตัว ได้แก่ มนุษย์รักษาศีล 5 เป็นนิตย์ไม่ขาด ไม่ประมาทต่อศีลเพราะศีลเป็นมนุษยธรรม คือเป็นธรรมประจำมนุษย์ ธรรมที่ทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ มนุสสภูโต แปลว่า มนุษย์แท้ๆ เพราะมีคุณธรรมของมนุษย์คือศีล
2.5) มนุสสเทโว มนุษย์เทวดา คือ มนุษย์ผู้รักษาศีล 5 เป็นนิตย์ แล้วยังได้พยายามบำเพ็ญกุศลเพิ่มพูนบารมีอยู่เรื่อยๆ เช่น ให้ทาน ฟังธรรม เรียนธรรม ปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์ มีหิริคือความละอายต่อบาป มีโอตตัปปะ คือความสดุ้งกลัวต่อผลแห่งบาปอยู่เสมอ เรียกว่า เป็นผู้มีจิตใจสูงดุจเทวดา
3) คือเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลาง “มนุษย์หลากหลายประเภท” โดยที่ “กายเหล่านั้น” เป็นมนุษย์ก็จริง แต่ “จิตใจ” แสดงออกถึง “ที่มาที่ไป” ของมนุษย์เหล่านั้น โดยจิตที่มุ่งเน้นการแสวงหา “อำนาจ” ก็คงเป็นของจิต “ฝ่ายตำ่” อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะจิตที่เบิกบานแจ่มใสมักเป็นจิตของ “ผู้ให้” ไม่ใช่จิตของ “ผู้แย่งชิง” ซึ่งถึงแม้การแย่งชิงจะทำให้ “ได้มา” สุดท้ายก็จะถูก “ปลาตัวที่ใหญ่กว่า” คว้าเอาไปกินอีกที!
4) ไม่ต้องถึงขั้นทำสงครามหรอกครับ แค่คุณสังเกตพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน คุณก็พอมองออกแล้วว่า คนที่นั่งในรถนั้นๆเป็น “มนุษย์ประเภทไหน”
1
5) อีกมุมมองหนึ่ง
คนเรา “วัดกันที่ใจ” ครับ
โลกนี้มีคนอยู่แค่สองแบบ คือ “คนกล้าหาญ” กับ “คนขี้ขลาด”
“คนขี้ขลาด” มักชอบแสวงหา “อำนาจ” เพราะอำนาจทำให้คนขี้ขลาด “รู้สึกดีกับตัวเองและเพื่อนพ้องที่ขี้ขลาดเหมือนๆกัน” เหมือนฝูงแกะที่ร้อง “แบะๆ” แล้วหลอกตัวเองว่า กำลังคำรามเหมือนสิงโต
“สิงโต” ตัวจริงเห็นเข้า ก็ได้แต่แสยะยิ้มด้วยความเวทนา!
“คนกล้าหาญ” ไม่ยึดติดกับ “อำนาจ” เพราะคนกล้าย่อมรู้ดีว่า อำนาจเป็นสิ่ง “ไม่เที่ยง” และคนขี้ขลาดชอบแย่งชิงกัน คนกล้าให้ความสำคัญกับความเสียสละเพื่อส่วนรวมและช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
ในขณะที่ “คนขี้ขลาด” ชอบรังแกคนที่มีชีวิตยากลำบาก เพราะมันทำให้คนพวกนี้รู้สึกว่าตัวเองเข้มแข็ง?! พอเจอ “คนจริง” เข้า ก็ใจฝ่อ! ขี้คร้านจะหันหลังหนี ไปหลบใน “กระดอง” ที่เลือกเป็นที่ตาย
วิธีง่ายๆในการแยกแยะคือ
1) คนกล้า: “หน้าเล็ก” แต่ “ใจใหญ่”
หน้า - อัตตา หรือ ego
ใจ - ความกล้าหาญ
2) คนขี้ขลาด: “หน้าใหญ่” แต่ “ใจเล็ก”
6) กรณีศึกษา
มีเรื่องมีราวสะเทือนใจที่ “ผู้ที่เรียกร้องสิทธิสตรี” ทั่วโลก ควรศึกษาครับ
ผมเคยได้ยินเรื่องราวของ Malala ซึ่งเธอและเพื่อนๆไม่ยอมทำตาม “คำสั่ง” ของ “กลุ่มคน” ที่ห้าม “ผู้หญิง” เรียนหนังสือ!!
เธอ “ถูกลอบสังหาร” โดย “กลุ่มคน” กลุ่มนั้น แต่เธอรอดชีวิตมาได้ ด้วย “ความกล้าหาญ” และ “จิตใจที่เด็ดเดี่ยว” ต่างจากพวก “female faces” ที่ลอบยิงเธอ! เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะคนขี้ขลาดชอบแสวงหาอำนาจนะซิครับ!
เรื่องราวของเธอถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และเธอได้รับเชิญไปพูดในเวทีสำคัญๆของโลกมาแล้วครับ
โฆษณา