28 มี.ค. 2022 เวลา 08:40 • ไลฟ์สไตล์
บ้านอีหลู่
ชื่อแบบเป็นทางการก็คือ ศูนย์ศึกษาพัฒนาชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.) บ้านอีหลู่ ภายใต้การปฏิบัติงานของ  “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปี 2523 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในสมัยนั้น ได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) ขึ้น
โดยส่งครูอาสาสมัคร กศน. หรือ ครูดอย จำนวน 1-2 คน ไปทำงานอยู่กับชาวเขาในชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างพลเมืองที่ดีของชาติ
ครูอาสาสมัคร กศน.จะทำหน้าที่ให้บริการการศึกษาและพัฒนาชุมชนแก่ผู้ใหญ่ในเวลากลางคืน และสอนเด็กตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 ในตอนกลางวัน
ปรากฏว่า โครงการ ศศช. ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่ประทับใจของคนไทยและต่างชาติ ทำให้โครงการดังกล่าวได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโก เมื่อปี 2537 ในฐานะแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษา โดยใช้ชุมชนเป็นพื้นฐาน
กศน.จึงขยายโครงการ ศศช.ไปยังชุมชนทุรกันดารทั่วประเทศ ประมาณ  773 แห่ง
ขอบคุณข้อมูลวิชาการจาก ...https://www.technologychaoban.com
ปัจจุบัน สำนักงาน กศน. มีศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) รวมทั้งสิ้น 808 แห่ง ในพื้นที่ 14 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา ลำพูน ลำปาง กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และพังงา
สำหรับบ้านอีหลู่คือชื่อหมู่บ้านของชนเผ่ากะเหรี่ยง ที่มีถิ่นอาศัยมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ว่ากันว่า อีหลู่ คือชื่อผู้ที่เป็นบรรพบุรุษของคนที่นี่
สำหรับการเดินทางมาครั้งนี้ของพวกเราก็เหมือนทุกๆ ครั้ง โดยมีครูสนั่น เป็นผู้ประสานงานให้ได้เข้าพื้นที่
สิ่งของที่หลายคนตั้งใจส่งมาเพื่อร่วมโครงการจะทะยอยนำส่งมาที่แม่สะเรียงและคุณครูก็
ลำเลียงเข้าไปพักรอไว้ที่โรงเรียนเรียบร้อย รอแค่วันที่คณะจะเข้ามาถึงหมู่บ้าน
นี่คือส่วนเล็กน้อยที่ติดมาเพิ่มพร้อมพวกเรา
พวกเราถึงแม่สะเรียงแต่เช้าตรู่ ทำธุระส่วนตัวเรียบร้อยไปเดินตลาดเช้าแม่สะเรียงเพื่อหาซื้อของสด ของแห้งตามรายการอาหารที่จะนำขึ้นไปปรุงเลี้ยงเด็กๆและคนในหมู่บ้านกัน
เมื่อทุกอย่างครบถ้วน ก็เริ่มออกเดินทางกันสายมากแล้ว ด้วยความอนุเคราะห์ของครูอีกสองท่านจะเป็นสารถีไปส่งพวกเราพร้อมข้าวของเหล่านี้
พอเริ่มเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน ความตื่นเต้นก็เริ่มมาละ วิ่งลดเลี้ยวสวยงามได้สักระยะ เริ่มหิวเพราะทางสะบัดหลายโค้งอยู่ จึงหยุดพักเพื่องัดข้าวเหนียวไก่ปิ้งมากินรองท้องชาวคณะ
ราว 3 ชั่วโมง ก็มาถึงสถานีปลายทาง คือจุดสละซึ่งสิ่งไม่ควรหาม เพราะเราต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 40 นาที รถยนต์ไม่ได้เว้นแต่รถเครื่องเท่านั้น ซึ่งมีอยู่น้อยคัน พวกเราต้องสละให้เป็นรถขนสัมภาระดีกว่า
เริ่มเดินเท้าพร้อมของติดมือไปดัวย
เราเดินสวนทางกับชาวบ้านที่สะพายอุปกรณ์มาช่วยกันขนของเข้าหมู่บ้าน
แล้วเราก็ถึงหน้าอาคารเรียน หลังพูดคุยกับคุณครูเจ้าของสถานที่แล้วก็แยกย้าย ขนอาหารแห้ง เป็นเสบียงและน้ำใจไปฝากเจ้าของบ้านที่เราต้องมาฝากท้องและพักอยู่เรือนนี้สัก 3 วัน
พวกเรากระจายกันไปพักบ้าน 3 หลัง โดยเจ้าบ้านจัดที่หลับที่นอนให้เรียบร้อย บ้างนอนในเรือน บ้างนอนระเบียงได้ดูดาว บ้างนอนใกล้เตาฟืน
แต่ทุกบ้านจะต้องมีกิจกรรมเหมือนๆกันทุกเช้า คือก่อฟืนทำอาหาร สร้างความอบอุ่นให้บ้าน
กิจกรรมของพวกเรา มีปรุงอาหารเลี้ยงสลับกับเกมส์ เพื่อค้นหาผู้ชนะ รองชนะและรองไปเรื่อยๆ จริงๆ แค่กุศโลบายเพื่อปล่อยของบริจาคแลกรอยยิ้มกับเสียงหัวเราะเท่านั้น
โดยแต่ละกิจกรรมต้องอาศัยล่ามประจำบ้านมาเป็นผู้บรรยายเพื่อเรียกร้องแขกเข้าร่วมสนุก
ชายเสื้อส้มนี่ครูเบิร์ด เป็นทุกอย่าง งานสอน งานปฏิคม งานประชาสัมพันธ์ งานบ้าน งานครัว งานช่าง ต้องครบด้าน คุณสมบัติ....ครูดอย
มีกิจกรรมเสริม ตัดผม แต่งทรง เลี้ยงอาหารคาว หวาน
เมนูแต่ละวัน ง่ายๆ แต่ไม่ธรรมดา
ไก่ทอดเกาหลี เพราะเรามีงา มีซอส เป็นเกาหลีทันที และมีข้าวเหนียวก่ำ
บัวลอยฟักทอง มะพร้าวอ่อน เพราะต้นมะพร้าวในหมู่บ้านเยอะ
ลูกชิ้นยืนกิน หรือจะนั่งกินก็ได้
สิ่งน่ารักของที่นี่ ความกลมเกลียว สามัคคี มีส่วนร่วม แป้ปเดียวสะพานไม้แบบง่ายๆ กับเวทีชาวบ้าน เสร็จราวอัตโนมัติ
ยามค่ำคืน ชาวบ้าน คุณครูและเด็กๆ จัดการแสดงพื้นบ้านเพื่อขอบคุณทีมงานและเรียกรอยยิ้มกับเสียงหัวเราะทุกคนได้ก่อนนอน
อีกหนึ่งวันที่พวกเราซนไปกับเด็กๆเพื่อไปหาวัตถุดิบเย็นนี้กัน
และนี่คือหน้าตาของอาหารค่ำที่บ้าน ต้องกินร่วมวงกับเจ้าบ้านเท่านั้น มันจะได้ออกรสชาดมาก
อยู่กับชาวอีหลู่ไม่กี่วัน กลับได้เรียนรู้หลายอย่าง พวกเราเป็นสื่อกลางสำหรับผู้ให้
หวังใจว่าการมาทำกิจกรรมของพวกเราจะสร้างสีสันและวันสนุกๆในชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายที่นี่ได้บ้าง
การเดินทางครั้งนี้สอนให้รู้ว่า พวกเราก็เป็นผู้รับเท่าๆกับการให้ นั่นละ
แล้วเราจะได้มีโอกาส Bring Smiles Back ไปหมู่บ้านไหนอีกน๊าาาา...ติดตามกันนะค่ะ
ได้เวลาต้องกลับเข้าเมืองแล้วนะค่ะ Before & After
โฆษณา