26 มี.ค. 2022 เวลา 13:58 • หนังสือ
ถึงคราวรีวิวหนังสือแปลของตัวเอง ก็จะเขินๆ หน่อย
ขอบคุณนางแบบ-นายแบบ ที่ช่วยให้หนังสือเล่มนี้น่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนตาลุงเสื้อแดงๆ นั่นไม่ต้องสนใจก็ได้ครับ แหะๆ
ขนาดมีคนยุให้ผม Live ถึงหนังสือเล่มนี้ หรือแม้แต่ให้ผมสัมภาษณ์ตัวเอง(จะทำได้ยังไง) 555
1
สังเกตไหมว่า ทุกวันเราเป็นทั้งคนโน้มน้าว และ คนถูกโน้มน้าวไปพร้อมกัน
เราและใครๆ ต่างก็ต้องการให้คนอื่นคล้อยตามสิ่งที่เราและเขาเชื่อ (ว่าจริง ถูกต้อง ดีงาม ชอบธรรม เหมาะสม ฯลฯ)
บ่อยครั้งที่คนเห็นว่าเอาเข้าจริงๆ ความเชื่อนั้นจะจริงหรือดีงามหรือไม่ ก็ไม่ใช่ปัญหา ถ้าจูงใจคนอื่นให้เชื่อได้ก็ถือว่าสำเร็จ!!!
โฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ต่างๆ คำคมของเซเลบหรืออินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง(และไม่ค่อยจะดัง) แม้แต่รีวิวอย่างที่ผมทำอยู่ตอนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการโน้มน้าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไหนจะการอภิปรายของท่านผู้ทรงเกียรติในสภาที่หากฟังไม่ดีก็จะคล้อยตามไปได้ง่ายๆ (กลับกัน ถ้าฟังดีๆ ก็จะเจอความไม่สมเหตุสมผลที่ชวนไม่คล้อยตามมากทีเดียว)
1
ไหนจะคำกล่าวอ้างของ “คนในข่าว” ที่มีให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ที่บ่อยครั้งใช้ความไม่เป็นเหตุเป็นผลมาอ้างให้ดูเหมือนเป็นเหตุเป็นผล
บ่อยครั้งที่เราวัดเหตุผลด้วยคำว่า “มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ” อะไรคือมีน้ำหนัก อะไรคือน่าเชื่อถือ คิดแค่นี้ก็ปวดหัวแล้ว
บางคนถึงกับบอกว่า ถ้าจะถามหาความสมเหตุสมผลในชีวิตจริง หรือในสิ่งรอบตัวล่ะก็ ให้ไปหาความไม่สมเหตุสมผลหรือเหตุผลวิบัติง่ายกว่ากันเยอะ
เราต้องเจอคนที่พูดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คนที่คิดว่าสิ่งที่ตัวเองพบเห็นมาเท่านั้นเป็นความถูกต้อง ไม่มีสิ่งอื่นถูกต้องไปกว่านั้น หรือแม้แต่ไม่มีสิ่งอื่นนอกประสบการณ์ตัวเองอยู่ในโลกด้วยซ้ำ
เราต้องเจอคนที่พอเห็นท่าว่าจะ(ถก)เถียงสู้ไม่ได้ ก็เริ่มยกความเป็นผู้อาวุโส อายุมากกว่า เริ่มหาอะไรมาข่ม เพื่อให้เราดูด้อยลงไป น้ำหนักน่าเชื่อถือลดลงไป อะไรไม่ได้ก็เอาเสียงดังข่มไว้ก่อน ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ
1
เราต้องเจอการเล่นกลกับตัวเลขหรือสถิติที่พักหนึ่งมีให้เห็นบ่อยๆ แต่พักหลังดูจะไม่ค่อยอยากให้ใครเห็น เหมือนกันจะพยายามทำให้ลืมๆ ไปก็ได้
1
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ตำรา แต่เป็นแนวทางให้คนที่สนใจวิธีการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสิ่งที่พูดออกมา และอาจก้าวไปสู่การหักล้างเพื่อลดความน่าเชื่อถือของสิ่งที่คนอื่นพูด
อย่างน้อยก็เป็นตัวอย่างให้เราเห็นว่ากว่าสองพันปีก่อนท่ามกลางความเลวร้ายต่างๆ ยังมีคนคนหนึ่งใช้การอ้างเหตุผลแก้ไขสถานการณ์ให้คนอื่นและตัวเองอยู่เหมือนกัน
ที่สำคัญ ผมดีใจที่ได้แปลเล่มนี้ครับ
ข้อมูล:
ถกเถียงอย่างไรให้ชนะ เคล็ดลับโบราณว่าด้วยศิลปะการจูงใจ (แปลจาก How to Win an Argument)
ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาละติน โดย มาร์คุส ตูลลิอุส ซิเซโร
คัดสรรและเรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ โดย เจมส์ เอ็ม เมย์
แปลเป็นภาษาไทย โดย ชัยจักร ทวยุทธานนท์
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ยิปซี พ.ศ. 2565 ปกอ่อน จำนวน 272 หน้า
1
โฆษณา