27 มี.ค. 2022 เวลา 03:00 • สุขภาพ
มะเร็งเต้านมพบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก
13
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมาก พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก ในปี 2021 พบอุบัติการณ์การเกิดในผู้ป่วยใหม่ ประมาณ 12% พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ชายมีโอกาสพบได้ 1% หากตรวจพบในระยะเริ่มต้น มีโอกาสรักษาหายและอัตราการรอดชีวิตสูง
19
อาการ
  • 1.
    คลำพบก้อนได้ที่เต้านมหรือรักแร้
  • 2.
    ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะหนาคล้ายผิวส้ม
  • 3.
    เต้านมมีผื่น แดง ร้อน
  • 4.
    มีอาการปวดบริเวณเต้านม
  • 5.
    หัวนมผิดรูป หัวนมบอดบุ๋ม
  • 6.
    มีการดึงรั้งของผิวหนังบริเวณเต้านม
  • 7.
    มีน้ำหรือเลือดออกจากเต้านม
  • 8.
    บางรายอาจไม่มีอาการ
2
ปัจจัยเสี่ยง
  • 1.
    พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • 2.
    อายุ ที่มากกว่า 40 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • 3.
    มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่
  • 4.
    ผู้ป่วยมีประวัติรับรังสีรักษาบริเวณหน้าอก
  • 5.
    การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 (BRCA ย่อมาจาก BReast CAncer gene) เพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านม
  • 6.
    การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นเวลานาน เช่น การกินยาคุมกำเนิด
  • 7.
    ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • 8.
    มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย ( < 11 ปี)
  • 9.
    หมดประจำเดือนช้า (> 54 ปี)
  • 10.
    มีบุตรคนแรกเมื่ออายุ > 35 ปี
  • 11.
    ประวัติเคยได้รับรังสีรักษาบริเวณหน้าอกมาก่อน
1
ตรวจเต้านมง่ายๆ ด้วยตนเอง
ตรวจเต้านมด้วยตนเองเพียงเดือนละ 1 ครั้ง ช่วยให้พบความผิดปกติได้เร็ว
การตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถทำได้ดังนี้
  • 1.
    ตรวจหน้ากระจก
  • 2.
    ตรวจตอนอาบน้ำ
  • 3.
    ตรวจในท่านอน
มีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา
  • 1.
    คลำได้ก้อน
  • 2.
    ปวดเต้านมมากกว่าปกติ
  • 3.
    มีเลือดหรือมีของเหลวออกจากหัวนม
  • 4.
    มีแผลที่หายยากของเต้านม หัวนม
  • 5.
    ผิวหนังบริเวณเต้านมแตก บวม แดง หรือ ร้อน
  • 6.
    รูขุมขนที่ผิวหนังบริเวณเต้านมใหญ่ขึ้นเหมือนผิวเปลือกส้ม
  • 7.
    ผิวหนังบุ๋ม หรือมีการหดรั้ง
  • 8.
    มีกานูนของผิวหนัง
  • 9.
    คัน มีผื่นโดยเฉพาะบริเวณหัวนมและลานหัวนม
เรื่องจริงของมะเร็งเต้านมที่เข้าใจผิด
Q: มะเร็งเต้านมพบได้เฉพาะเพศหญิง
A: จริงๆ แล้วนั้น มะเร็งเต้านมพบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยมีโอกาสพบในเพศชาย 1%
Q: ผู้หญิงที่มีขนาดหน้าอกใหญ่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงหน้าอกเล็ก
A: ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเท่ากัน ขนาดที่ใหญ่อาจขึ้นอยู่กับไขมันไม่ใช่ส่วนเนื้อของหน้าอก
Q: การทำแมมโมแกรมเสี่ยงมะเร็ง?
A: ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นจึงใช้ปริมาณรังสีที่น้อย เพราะฉะนั้นการที่รังสีจากแมมโมแกรมจะเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้น้อยมาก
Q: น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เพื่อโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านม
A: ไม่จริง แม้ว่าน้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว จะมีส่วนประกอบบางอย่างที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิง
ตรวจก่อน ชัวร์กว่า! ซื้อแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
10
โฆษณา