Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เจ้ากระต่ายขี้เซา
•
ติดตาม
27 มี.ค. 2022 เวลา 05:22 • ความคิดเห็น
5 เหตุผลที่ต้องขนส่งสินค้ามาทางรถ
[ นำเข้าเราต้องรู้ ]
ขอบคุณภาพจาก canva
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีหลากหลายช่องทางให้เราได้เลือกใช้ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางเรือ ขนส่งทางรถ หรือการขนส่งทางอากาศ
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ในตอนซื้อขาย ในบทความนี้จะขอพูดถึงการขนส่งสินค้ามาทางรถ
ประเทศที่สามารถขนส่งสินค้าเข้ามาทางรถได้ในตอนนี้เท่าที่ทราบก็มี ประเทศจีน เวียดนาม ลาว พม่า สิงคโปร์ และมาเลเซีย สินค้าหลัก ๆ ที่เราดูแลอยู่คลังสินค้าของ supplier จะอยู่ที่เมืองจีน และมาเลเซีย
หลักเกณฑ์และเหตุผลที่เราใช้พิจารณาก่อนตัดสินใจขนส่งสินค้าเข้ามาทางรถมี 5 เหตุผล ดังนี้
1. เงื่อนไขในการซื้อขายอยู่ภายใต้ INCOTERMS : EX-WORKS นั่นหมายความว่าเราต้องไปรับสินค้าจากมือของผู้ขายที่หน้าโรงงานหรือหน้าโกดังเอง และเราเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดจนกว่าสินค้าจะถึงจุดหมายปลายทาง
หากเป็นเทอม EX-WORKS แล้วต้องการขนส่งมาทางเรือ ค่า EW-WORKS Charge บวกกับค่าดำเนินการต่าง ๆ ของการขนส่งทางเรือจะสูงเมื่อเทียบกับ การขนส่งทางรถ
เพราะการขนส่งทางรถผู้ให้บริการจะเข้าไปรับสินค้าที่หน้าโรงงานหรือหน้าโกดังให้เลย แล้วคิดค่าขนส่ง คำนวนตามน้ำหนักของสินค้าบวกค่าน้ำมัน ราว ๆ 25% ของค่าขนส่ง และตั้งแต่มี Covid-19 ทางผู้ให้บริการขอคิดค่า Covid charge อีก 33 บาท /กิโลกรัม…….ฮื่ออออ แต่ก็ยังถูกกว่า
2. คลังสินค้าของ supplier อยู่ในพื้นที่ของจีนตอนใต้ ได้แก่ Shenzhen , Dongguan , Foshan, GuangZhou …. นั่นเพราะเป็นพื้นที่ ของผู้ให้บริการที่เราเลือกใช้
ซึ่งในตอนนี้ยังครอบคลุมเพียงแค่จีนตอนใต้ ที่ผู้ให้บริการสามารถไปรับสินค้าแล้วขนส่งออกมาทางรถได้ หากเจ้าไหนอยู่ไกลออกไปเล็กน้อยและต้องการขนส่งสินค้ามาทางรถจริง ๆ ก็อาจจะต้องยอมจ่ายค่าจ้างรถนอกไปรับเข้าของมาที่ Hub ของผู้ให้บริการ
ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถหลายรายมาก และเงื่อนไขในด้านราคาและด้านการสนันสนุนเรื่องเอกสารก็แตกต่างกัน
ก่อนเลือกใช้ต้องสอบถามรายละเอียดให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันปัญหาตอนเดินพิธีการขาเข้าที่ด่านมุกดาหารสำหรับสินค้าจากเมืองจีน และด่านสะเดา สำหรับสินค้าจากมาเลเซีย
อย่าเพิ่งเชื่อเพียงเพราะเห็นค่าขนส่งต่อกิโลกรัม ราคาเพียงหลักสิบบาท
เจ้ากระต่ายขี้เซา
3. สินค้ามีน้ำหนัก อยู่ที่ 85 กิโลกรัม – 450 กิโลกรัม สำหรับเราการขนส่งสินค้าทางรถค่าใช้จ่ายจะอยู่ตรงกลางระหว่างการขนส่งทางเรือและการขนส่งทางอากาศ หากเทียบกันด้วยเทอม EX-WORKS
4. สินค้ามีน้ำหนักเบา แต่บรรจุอยู่ในกล่องขนาดใหญ่ต้องใช้พื้นที่ในการวางสินค้า เมื่อคำนวนน้ำหนักโดยรวมแล้วอยู่ที่ 85 กิโลกรัม – 450 กิโลกรัม ก็จะพิจารณาขนส่งมาทางรถ
5. มีระยะเวลาในการรอสินค้าได้ 5-7 วัน การขนส่งสินค้ามาทางรถจะใช้เวลาน้อยกว่าการขนส่งทางเรือเกือบเท่าตัว ถ้ายังพอมีเวลาและสินค้ามีน้ำหนักมาก ก็จะพิจารณาขนส่งมาทางรถ
ต้องยอมรับว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการขนส่งทางรถนั้นจะสูงกว่าการขนส่งทางเรือเมื่อเทียบกับเทอม FOB แต่การขนส่งทางรถจะถูกกว่าการขนส่งทางเรือเมื่อต้องเทียบกับเทอม EX-WORKS ด้วยกัน
ดังนั้นทุก ๆ shipment ที่เข้ามาเราขอเวลา 5 นาทีในการทำข้อมูลเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นจึงจะตัดสินใจเลือกใช้วิธีการขนส่งที่เหมาะสมที่สุด ณ ช่วงเวลานั้น
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับใครที่สนใจในเรื่องการนำเข้าสินค้าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปค่ะ
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นได้ที่นี่ค่ะ
Website :
https://everywaystory.blogspot.com
Twitter:
https://twitter.com/EverywayStory
Facebook :
https://www.facebook.com/somjit.immareong
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกเขียนนิยาย
นำเข้าส่งออก
นำเข้าเราต้องรู้
การค้าระหว่างประเทศ
1 บันทึก
12
21
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นำเข้าเราต้องรู้
1
12
21
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย