Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right SaRa by Bom+
•
ติดตาม
27 มี.ค. 2022 เวลา 08:41 • ประวัติศาสตร์
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 7
ยาชูกำลังสมัยอยุธยา
2
ชาวบ้านกำลังช่วยกันปรุงยา จิตรกรรมไทยในสมุดข่อย เครดิต: Henry Ginsburg, Thai Art and Culture Historic Manuscripts from Western Collections (Ching Mai: Silkworm Books, 2000), p.64
...
✓
มีปรากฏในบันทึกของบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ระบุไว้ว่าในระหว่างเดินทางกลับฝรั่งเศส โดยมีคณะราชทูตชุดของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ร่วมเดินทางไปด้วยกัน เพื่อเข้าเฝ้าถวายราชสาส์นแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
2
ภาพวาดคณะราชทูตชุดของโกษาปาน โดยศิลปิน Jacques Vigouroux Duplessis เครดิต: Wikipedia Commons
...
■
ราชทูตได้แนะนำบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ว่าโสมมีสรรพคุณฟอกโลหิตและเป็นยาชูกำลังที่เสียไป วิธีปรุงให้ต้มแล้วดื่ม
6
■
และอาหารสุขภาพอีกชนิดหนึ่งคือ ให้เอาแม่ไก่ดำควักเครื่องในออก แล้วนำรังนกนางแอ่นแช่น้ำฉีกฝอยพร้อมโสมหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ยัดเข้าไปในท้องไก่ เย็บให้เรียบร้อย แล้วนึ่งจนเปื่อย จากนั้นนำไก่ รังนก และโสมมากินโดยไม่ต้องเติมเกลือหรือน้ำส้ม
7
...
อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานว่าบาทหลวงท่านนี้ได้นำสูตรยาและอาหารสุขภาพแบบอยุธยาดังกล่าวไปปรุงทานหรือไม่ จึงไม่รู้ว่าสรรพคุณเป็นอย่างที่โกษาปานกล่าวไว้หรือไม่ด้วย แต่จากบันทึกดังกล่าวทำให้เรารู้ว่าสมัยอยุธยามีกลุ่มอาหารพิเศษที่ใช้เพื่อรักษาสุขภาพด้วย เช่น “โสม” และ “รังนก”
1
2
★
โสม เป็นเครื่องยามีปรากฏในตำราพระโอสถพระนารายณ์
4
ภาพวาด โสม เครดิต: https://www.freepik.com/vectors/hand
...
✓
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่จัดเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นแรก ที่บันทึกภูมิปัญญาไทยในการใช้ยาสมุนไพรไว้อย่างเป็นระบบคือ “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งตำรานี้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้อย่างเกือบสมบูรณ์ จะมีคลาดเคลื่อนไปบ้างก็ในการคัดลอกชื่อสมุนไพร ชื่อโรคหรืออาการของโรค หรือศัพท์บางคำผิดเพี้ยนไปบ้าง
4
...
■
ในตำรายาดังกล่าว มีการกล่าวถึงเครื่องยาตัวหนึ่งที่ชื่อว่า “ยิงสม” เข้าใจว่าน่าจะเป็นเครื่องยาจีนที่ปัจจุบันเรียกว่า “โสม” ซึ่งภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก “หยิ่นเซียม” หรือ ภาษาจีนกลางเรียกว่า “”เหรินเซิน”
3
จากจำนวนตำรับยาทั้งสิ้น 81 ขนาน มีอย่างน้อย 1 ตำรับยาที่มี ยิงสม หรือ โสม เป็นส่วนประกอบ นั่นคือ ยาขนานที่ 11 อัคคินีคณะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
...
ลำดับที่ ๑๑ ชื่อ “อัคคินีคณะ” ให้เอา กันชา ยิงสม สิ่งละส่วน เปลือกอบเชย ใบกระวาน กานพลู สค้าน สิ่งละ ๒ ส่วน กระทำเปนจุณน้ำผึ้งรวงเป็นกระสาย ดีปลี สิ่งละ ๔ ส่วน น้ำตาลกรวด ๖ ส่วน กระทำเปนจุณน้ำผึ้งรวงเป็นกระสาย บดเสวยหนักสลึง ๑ แก้อาเจียน ๔ ประการ ด้วยติกกะขาคินีกำเริบ แลวิสมามันทาคินีอันทุพล จึงคลื่นเหียนอาเจียน มิให้เสวยพระกระยาหาร เสวยมีรศชูกำลังยิ่งนัก
1
ข้าพระพุทธเจ้า ขุนประสิทธิโอสถจีน ประกอบทูลเกล้าฯถวาย ครั้งสมเด็จพระนารายณ์เปนเจ้าเมืองลพบุรี เสวยเพลาเข้าอัตรา ดีนักแลฯ
...
จากรายละเอียดในตำราพระโอสถฯ ขุนประสิทธิโอสถจีน แพทย์หลวงผู้ปรุงยาตำรับนี้ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองลพบุรี ผู้นี้น่าจะเป็นหมอจีน จึงรู้จักใช้ “โสม” ซึ่งชาวจีนรู้จักกันดีว่าเป็นยาร้อน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร
1
ทำให้เรารู้ว่าอย่างน้อยจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรายังไม่มีชื่อ “โสม” ใช้ มีแต่ชื่อที่เรียกทับศัพท์ภาษาจีนแบบไทยๆ ว่า “ยิงสม” ซึ่งในสมัยนั้นคนไทยรู้จักกันน้อย เนื่องจากเป็นของนอก หายาก และมีราคาแพง ต่อมาเมื่อคนไทยรู้จักกันมากขึ้น อาจเรียกชื่อสั้นลงให้สะดวกเรียกตามแบบคนไทยเป็น “โสม” เช่นที่เรียกต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน
1
★
รังนก สินค้ามีค่าในสมัยอยุธยา
5
รังนกนางแอ่นแห้ง เครดิต: https://www.bonback.com
...
■
กรุงศรีอยุธยาตอนต้น รายได้ของรังนกที่สำคัญมาจาก “ส่วยอากร” แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทของรังนกในสมัยนี้
...
มีบันทึกหลักฐานในช่วงสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) โดยจดหมายเหตุของจีนเรียกพระองค์ว่า “เจียวหลกความอิน” เป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จไปประเทศจีน ตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง
2
โดยมีขันทีเจิ้งเหอ นำกองทัพเรือสำรวจทะเล 7 ครั้ง เป็นผู้ได้รู้จักกับรังนกนางแอ่นขณะเดินทางผ่านคาบสมุทรมลายู ได้นำสินค้าชนิดนี้ไปถวายจักรพรรดิ
2
โดยการนำเรือสำรวจทะเลครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 1950 เจิ้งเหอได้แวะอยุธยาและได้เข้าเผ้าเจ้านครอินทร์เป็นการส่วนตัวเรื่องเกี่ยวกับการค้ารังนก ซึ่งในช่วงนั้นนครศรีธรรมราชได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา และเป็นศูนย์กลางการค้าในคาบสมุทรตอนใต้ของอยุธยา ซึ่งจีนเป็นประเทศหนึ่งที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับนครศรีธรรมราชด้วย
4
■
กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีรายได้ที่เก็บในรูปแบบของ “ส่วยรังนก” เนื่องจากรังนกนางแอ่นเป็นสินค้ามีค่าและต้องห้าม ไม่สามารถซื้อขายกันได้แบบอิสระ โดยรัฐเป็นผู้ผูกขาดการจัดเก็บโดยใช้ไพร่ เป็นผู้เก็บรวบรวมรังนกให้กับนายอากร ผู้เป็นตัวแทนที่รับอำนาจมาจากกษัตริย์ แต่จากการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์บางท่านโดยอ้างถึงจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ กลับระบุว่า รังนกนางแอ่นเป็นสินค้าอนุญาตให้มีการซื้อขายแบบเสรี
5
4
...
ดังนั้นข้อสรุปที่ได้คือ ผู้ปกครองไม่ได้จัดเก็บรายได้หรือส่วยรังนกในพื้นที่ภาคใต้ แต่ให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีรังนกนางแอ่นสามารถเก็บมาค้าขายได้อย่างเสรี เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้และหัวเมืองมลายูเท่านั้น ไม่ได้ส่งไปกรุงศรีอยุธยา แหล่งเก็บก็มีทั้งฝั่งอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน โดยเฉพาะในเมืองชุมพร ไชยา สงขลา สตูล ปลิศ ไทรบุรี
4
จบแล้ว ตอนที่ 7
ติดตามได้ในตอนต่อไป
...
ติดตามตอนที่ 6 จากด้านล่างนี้
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[Right SaRa by Bom+] การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 6
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 6
■
แหล่งที่มาอ้างอิง:
เดอ ชัวซีย์, จดหมายเหตุรายวันการเดินทางไปสู่ประเทศสยาม, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร (กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า, 2516), หน้า 605
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ สมเด็จพระบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน ในงานศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร 2460
ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร, คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต และ ดร.วิเชียร จีรวงส์, คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ:อมรินทร์ และมูลนิธิภูมิปัญญา 2548, 777 หน้า ISBN 974-272-347-8
วิทยานิพนธ์: ปัญหาการกำกับดูแลการเก็บรังนกอีแอ่นจากสิ่งปลูกสร้างของเอกชน. ภัทรทร วันวงษ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์, 2558) -
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49963
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ไทย
สมัยอยุธยา
5 บันทึก
42
62
25
5
42
62
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย