Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เปิดโลกเพิ่มปัญญา
•
ติดตาม
28 มี.ค. 2022 เวลา 12:20 • สุขภาพ
นั่งนาน เสี่ยงอะไร?
ภาพโดย Lukas Bieri จาก Pixabay
พนักงานสำนักงาน พนักงานออฟฟิศ หรือผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับที่ คงประสบปัญหา ปวดหลัง ปวดตา หลังจากทำงานเสร็จ
หลายๆคนรู้ว่าการนั่งนานไม่ใช่เรื่องดี แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร มาฟังกันครับ
#ออฟฟิศซินโดรม
1
2
ภาพโดย StartupStockPhotos จาก Pixabay
อาการ ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการทำอะไรซ้ำๆเป็นเวลานาน
และอาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อมด้วยเช่นตำแหน่งอุปกรณ์ทำงานที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป
และยังสามารถเกิดจากร่างกายเราได้ด้วย เช่น การนอนหลับไม่เพียงพอ ความเครียด ทานอาหารไม่ตรงเวลา
เรื่องนี้ควรรีบแก้ก่อนจะเป็นปัญหาครับ คือให้ปรับตำแหน่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำงาน ให้เหมาะสม พอดีกับร่างกายเรา
และยืดกล้ามเนื้อ ลุกมายืดเส้นยืดสาย มองไกลๆ ทุก1ชั่วโมง
ทำให้กล้ามเนื้อหยืดหยุ่นด้วยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ5หมู่ แค่นี้ ออฟฟิศซินโดรมก็เกิดยากขึ้นแล้ว
#ปวดหลัง ปวดตัว
ภาพโดย StartupStockPhotos จาก Pixabay
อันนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆอาจจะมาจากท่านั่ง
การนั่งเราควร ปรับเก้าอี้ให้พอดี เวลานั่งสองเท้าต้องติดกับพื้น ไม่ลอยขึ้น
1
สำหรับคนที่ขาไม่ถึงพื้นต้องใช้ที่วางเท้า ส่วนบนของร่างกายให้อยู่แนวเดียวกันกับอุปกรณ์ที่ใช้
1
ให้นั่งบ้าง ลุกบ้าง เดินไปเดินมา เพื่อให้เลือดได้ไหลเวียน กล้ามเนื้อคลายตัว และสูดหายใจลึกๆเวลา ลุกไปพัก
ขณะนั่ง สะโพกต้องอยู่สูงกว่าเข่าและเท้าทั้งสองข้างต้องวางบนพื้น
นั่งลงให้น้ำหนักสะโพกเท่ากันบนเบาะ นั่งตัวตรงให้หลังและไหล่แนบกับพนักพิง ผ่อนคลายไหล่
#เสี่ยงโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
2
4
ภาพโดย StockSnap จาก Pixabay
การนั่งนานๆทำให้หัวใจเต้นช้าลง การไหลเวียนโลหิตได้ไม่สะดวก และเสี่ยงอาการจำพวก สมองขาดเลือด จนเป็นอันตรายได้
เส้นเลือดดำอุดตัน การนั่งนาน จะทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการบวมที่ข้อเท้า เส้นเลือดขอดและเกิดลิ่มเลือดที่เรียกว่าเส้นเลือดดำอุดตัน
กระดูกไม่แข็งแรง การเดินหรือวิ่งจะเป็นการทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น เมื่อนั่งนานๆแล้วขาดการออกกำลังกาย จะนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้
และยังเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย เพราะการนั่งอยู่กับที่นานๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี การเผาผลาญไขมันลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกตะกอนของเลือดและไขมันอุดตัน
ภาพโดย StartupStockPhotos จาก Pixabay
อ้างอิง
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/849
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/office-syndrome
https://www.scimath.org/article-science/item/10106-2019-04-19-02-30-25
สุขภาพ
ดูแลสุขภาพ
บทความสุขภาพ
1 บันทึก
17
24
9
1
17
24
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย